Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4528
Title: นโยบายที่อยู่อาศัยสำหรับข้าราชการ สาย ค. และ ลูกจ้าง ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: A housing policy for staff and employees of Chulalongkorn University
Authors: สมชัย ธีระงามไพศาล
Advisors: บัณฑิต จุลาสัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: cbundit@yahoo.com, Bundit.C@Chula.ac.th
Subjects: ที่อยู่อาศัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- ข้าราชการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- ลูกจ้าง
ความต้องการที่อยู่อาศัย
นโยบายที่อยู่อาศัย
สวัสดิการข้าราชการ
สวัสดิการลูกจ้าง
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการกำหนดนโยบายที่อยู่อาศัยสำหรับข้าราชการสาย ค. และลูกจ้างของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต อันจะนำไปสู่ประสิทธิภาพในการทำงาน การศึกษาใช้วิธีรวบรวมข้อมูลสถิติ และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ วิเคราะห์ประเด็นสำคัญโดยวิธี Crosstabulation ผลจากการวิจัยพบว่า ข้าราชการสาย ค. และ ลูกจ้าง เป็นผู้ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยร้อยละ 53.6 เป็นผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย และยังมีปัญหาที่อยู่อาศัยอยู่ถึง ร้อยละ 45.9 พบว่ามีผู้ที่ต้องการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยและเลือกวิธีการเช่า ร้อยละ 10.3 ผู้ที่ไม่ต้องการเปลี่ยนที่อยู่อาศัย มักมีปัญหาด้านการเดินทาง สภาพที่อยู่อาศัยทรุดโทรม หรือค่าผ่อนชำระเช่าซื้อสูง สำหรับผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย และมีปัญหาที่อยู่อาศัยร้อยละ 96.5 ต้องการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยใหม่ ร้อยละ 69.7 ต้องการเช่าซื้อ ร้อยละ 22.4 ต้องการเช่า และที่เหลือต้องการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยเอง นอกจากนี้ ยังพบว่า ข้าราชการสาย ค. และลูกจ้างส่วนใหญ่ ทั้งที่มีอยู่หรือไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย และมีความต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ โดยการเช่าซื้อ เช่า หรือปลูกสร้างเอง รวมถึงผู้ที่ต้องการกู้ยืมเงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเดิมนั้น ไม่มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับอายุ และรายได้ ได้แก่ มีความต้องการที่อยู่อาศัยราคาสูงกว่าความสามารถในการผ่อนชำระ เป็นต้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรพิจารณาแนวทางช่วยเหลือ ข้าราชการสาย ค. และลูกจ้าง ในด้านที่อยู่อาศัยที่ต้องการเช่าซื้อ เช่าปลูกสร้างเอง หรือเงินกู้ซ่อมแซม โดยพิจารณาจากอายุ อายุราชการที่เหลือ ระดับรายได้ และรายได้ครอบครัว และจากการวิจัยครั้งนี้ยังพบว่า ข้าราชการสาย ค. และลูกจ้างส่วนใหญ่ มีปัญหาในการเดินทางมาทำงาน ดังนั้น ในการช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย มหาวิทยาลัยจึงควรพิจารณาทำเลที่ตั้งของที่อยู่อาศัยเพื่อประกอบการพิจารณา วิธีให้ความช่วยเหลือ โดยอาจกำหนดเป็นลักษณะของเขตพื้นที่ (Zoning) เป็นต้น
Other Abstract: The objective of this research is to suggest guidelines for setting up a housing policy for Chulalongkorn University's staff and employees. The policy is aimed at supporting their morale and improving their quality of life, which should lead to greater working efficiency. In the study, questionnaire were completed by a sample group randomly selected but reflecting in its composition the actual proportions of the categories of employees proportion. The information was then analyzed by the use of percentage and cross tabulation methods. The findings show that the sample group can be divided into two subgroups. The first one does not own houses and accounts for 53.6% 96.5% of this group would like to move to a new house, 69.7% of them prefer leasing while 22.4% prefer renting and the rest would like to build houses themselves. The second subgroup, accounting for 45.9% of the sample, owns houses but has housing problems, 10.3% of this group would like to move and prefer renting. The rest, who do not want to move, often have problems to do which commuting, deteriorating housing conditions, and high installments. The needs of those who would like to get a house by means of leasing, renting or building or would like to get a loan for renovation, do not correspond to their age and income. For example, the price of a house may exceed their installment payment ability. Therefore, to provide housing welfare, the university should consider their age, working period remaining until retirement, salary, and family income. Since most of them have problems in commuting, the university should also consider the location of their houses. The zoning method, for instance, may be used in selecting the proper kind of aid
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4528
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.193
ISBN: 9743345329
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.193
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somchai.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.