Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45296
Title: การบันทึกคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อโดยการติดขั้วบันทึกบนผิวหนังบริเวณกล้ามเนื้อลำตัว และกล้ามเนื้อรยางค์แขนในท่าตบทแยงคอร์ทระหว่างนักกีฬาแบดมินตันชาย ที่ระดับความสามารถต่างกัน
Other Titles: The surface emg activity of trunk and upper limb muscles of the cross court smash stroke between male badminton players of different performance levels
Authors: วิภาพร ชำนาญกิจ
Advisors: ภาสกร วัธนธาดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: spmed.chula@gmail.com
Subjects: กล้ามเนื้อ
นักกีฬาแบดมินตัน
Muscles
Badminton players
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์นี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการทำงานของกล้ามเนื้อลำตัวด้านขวา (Right External oblique) โดยใช้เครื่องบันทึกคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อแบบแปะผิวหนัง (Surface electromyography; Surface EMG) รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบการทำงานของกล้ามเนื้อลำตัวและกล้ามเนื้อรยางค์แขนมัดอื่นด้วย ในนักกีฬาแบดมินตันชายที่ระดับความสามารถต่างกัน อายุระหว่าง 18-30 ปี จำนวน 28 คนโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักกีฬาแบดมินตันที่มีทักษะสูง 14 คน และกลุ่มนักกีฬาแบดมินตันที่มีทักษะต่ำ 14 คน กำหนดให้นักกีฬาแบดมินตันทั้ง 2 กลุ่ม ตบลูกทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ การตบลูกหน้ามือ การตบลูกหลังมือ และการตบลูกหน้ามืออ้อมศีรษะ รูปแบบละ 30 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 90 ลูกต่อคน ในแนววิถีการตบแบบทแยงคอร์ท ผลการศึกษาพบว่าค่าคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG activity) ของกล้ามเนื้อลำตัว และกล้ามเนื้อรยางค์แขนมัดต่างๆ นักกีฬาแบดมินตันชายทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีการทำงานของกล้ามเนื้อลำตัว และกล้ามเนื้อรยางค์แขนมัดใดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบความเร็วลูกขนไก่ ณ จุดไม้แร็คเก็ตกระทบลูกขนไก่พบว่า กลุ่มนักกีฬาแบดมินตันที่มีทักษะสูงมีความเร็วลูกขนไก่สูงกว่ากลุ่มนักกีฬาแบดมินตันชายที่มีทักษะต่ำ ทั้งการตบลูกหน้ามือ ตบลูกหลังมือ และการตบลูกหน้ามืออ้อมศีรษะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบมุมการบิดตัวระหว่างแนวข้อไหล่กับแนวข้อสะโพกขณะตบ ณ จุดไม้แร็คเก็ตกระทบลูกขนไก่ (X-factor) ทั้ง 3 รูปแบบ พบว่า กลุ่มนักกีฬาแบดมินตันที่มีทักษะสูงมีค่า X-factor และ X-factor stretch ต่ำกว่ากลุ่มนักกีฬาแบดมินตันชายที่มีทักษะต่ำ แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
Other Abstract: The major objective of the study was to compare Right External oblique muscle activity by surface electromyography (EMG) include others trunk and upper limb muscle activities in male badminton players of different performance levels between aged 18-30 years old. Twenty-eight badminton players were classified into 2 groups as 14 high skilled badminton players and 14 low skilled badminton players. All badminton players must perform 3 characteristics of smash stroke; including forehand smash stroke, backhand smash stroke and overhead smash stroke. Thirty trials of each smash stroke characteristic were experimented. Therefore each player were required to perform 90 trials in the cross court smash stroke. The results demonstrated no statistically significant difference in EMG activity of trunk and upper limb muscles between male badminton players of different performance levels. (p < 0.05) It was found that the shuttlecock velocity at impact of forehand, backhand and overhead smash stroke of high skilled badminton players were significantly greater than low skilled badminton players. (p < 0.05). X-factor and X-factor stretch at the moment of impact were analyzed and found that high skilled badminton players had X-factor and X-factor stretch less than low skilled badminton players, but no statistically significant difference. (p < 0.05)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45296
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wipaporn_ch.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.