Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45306
Title: | การประมาณค่าและการประยุกต์ใช้ผลผลิตตามศักยภาพของประเทศไทยโดยวิธี Multivariate Hodrick-Prescott filter และ structural vector autoregression |
Other Titles: | Estimation and application of potential output of Thailand using multivariate Hodrick-Prescott filter and structural vector autoregression |
Authors: | ไชยรัตน์ คิ้วเจริญ |
Advisors: | สันต์ สัมปัตตะวนิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | San.S@Chula.ac.th |
Subjects: | นโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ย -- ผลกระทบจากเงินเฟ้อ เงินเฟ้อ ผลิตภาพ Monetary policy Interest rates -- Effect of inflation on Inflation (Finance) Productivity |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประมาณค่าผลผลิตตามศักยภาพและช่องว่างผลผลิตของไทย เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์แนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน โดยการประยุกต์ใช้วิธีการร่วมกันระหว่าง Multivariate Hodrick-Prescott filter และ Structural Vector Autoregression ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ที่พัฒนาจากวิธีการของ Rennison (2003) ผลการวิจัยพบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างช่องว่างผลผลิตกับอัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 0.55 และในระยะสั้นปัจจัยด้านอุปทานมีอิทธิพลต่ออัตราเงินเฟ้อมากกว่าช่องว่างผลผลิต เนื่องจากปัจจัยด้านอุปทานเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการโดยตรง นอกจากนี้การส่งผ่านของนโยบายการเงินผ่านการปรับอัตราดอกเบี้ยไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริงใช้ระยะเวลา 16 เดือน เนื่องจากการส่งผ่านของนโยบายการเงินขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของประชาชนที่ปรับเปลี่ยนตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากการจำลองสถานการณ์ซึ่งอัตราเงินเฟ้อสูงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน และเศรษฐกิจไทยอาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในอนาคตพบว่า หากธนาคารกลางปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น แม้ว่าภาวะอัตราเงินเฟ้อสูงจะหายไปอย่างรวดเร็ว แต่เศรษฐกิจไทยจะมีความสามารถในการรองรับวิกฤตเศรษฐกิจโลกลดลงในทางตรงกันข้าม หากธนาคารกลางปรับลดหรือคงอัตราดอกเบี้ย จะช่วยให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจซึ่งเป็นกันชนที่จะรองรับการหดตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต การศึกษานี้มีข้อแนะนำว่าขนาดของวิกฤตเศรษฐกิจสามารถแนะนำขอบเขตของการดำเนินนโยบายการเงินได้ หากวิกฤตเศรษฐกิจมีความรุนแรงมากพอที่จะทำลายอุปสงค์ของโลก อัตราเงินเฟ้อสามารถเป็นเป้าหมายที่ดีที่สุดรองจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของไทยในอนาคตมีแนวโน้มปรับตัวลงตามราคาน้ำมันและอุปสงค์ของโลก |
Other Abstract: | To estimate the potential output and output gap of Thailand for applying to analyze the process of monetary policy by applying intermediated approach between Multivariate Hodrick-Prescott filter and Structural Vector Autoregression which is the new method improved from the approach of Rennison (2003). Research result finds correlation between output gap and inflation is 0.55 and in the short run supply side factors have more influent to inflation than output gap because supply side factors implicate with directly changing commodity and service prices. Besides, transmission of monetary policy conducting through adjusting interest rate to real economic sector takes time for 16 months. Since, transmission of monetary policy relies on behaviors of people change to direction of policy rate. From simulation the situation that high inflation from oil price shock and Thai economy may be impacted from world economic crisis in the future finds that if central bank increases the policy rate although high inflation condition dies out rapidly, Thai economy will be depreciated the capability to support the world economic crisis. On the other hands, if central bank decreases or remains the policy rate, it will accommodate to generate the excess demand in economy which is buffer supports the contraction in the future. This study recommends that the size of economic crisis can recommend the border of policy conduct. If an economic crisis is severe enough to destroy the world demand, inflation can be the second-best target to stimulate the economy because Thai inflation in the future tends to reduce follow oil price and world demand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45306 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2008 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.2008 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chairat_ke.pdf | 4.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.