Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45321
Title: กำลังดัดขวางและความต้านทานการสึกของอะคริลิกเรซินชนิดดัดแปรสำหรับผลิตซี่ฟันเทียม
Other Titles: Flexural strength and wear resistance of modified acrylic resin tooth material
Authors: จินต์จุฑา ใจดำรงค์
Advisors: ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Piyawat.P@Chula.ac.th
Subjects: เรซินอะคริลิกทางทันตกรรม
ฟันปลอม
Dental acrylic resins
Dentures
Polymethyl Methacrylate
Acrylic resins
Dental Stress Analysis
Dental Restoration Wear
Tooth, Artificial
Materials Testing
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษากำลังดัดขวางของอะคริลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อนสำหรับผลิตซี่ฟันเทียม เมื่อปรับปรุงสมบัติด้วยวัสดุอัดแทรกแก้วซิลิกา 2 ชนิด คือ ไมโครซิลิกา (BBAS glass) ร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยน้ำหนัก และนาโนซิลิกา (Nanosilicate glass) ร้อยละ 1 และ 3 โดยน้ำหนัก กลุ่มควบคุมคือ อะคริลิกเรซินใสชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน (PMMA) และศึกษาความต้านทานการสึกของอะคริลิกเรซินข้างต้นโดยเปรียบเทียบกับซี่ฟันอะคริลิกทางการค้าจำนวน 4 ยี่ห้อ (Majordent, YamahashiFx, OrtholuxTop และ CosmoHXL) การทดสอบใช้ตัวอย่างกลุ่มละ 8 ชิ้น ในตอนที่หนึ่ง เป็นการทดสอบกำลังดัดขวางตามมาตรฐานด้วยวิธี Three-point transverse test โดยใช้เครื่องทดสอบแรงดึงอัด บันทึกค่ากำลังดัดขวาง ค่าความต้านทานการแตกหัก และค่าโมดุลัสยืดหยุ่น นำข้อมูลมาทดสอบทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบเชิงซ้อนที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ตอนที่สอง เป็นการทดสอบความต้านทานการสึกตามมาตรฐานด้วยเครื่องทดสอบการแปรงฟันด้วยแรง 2.0-2.5 นิวตัน จำนวน 20,000 รอบ นำข้อมูลมาทดสอบทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและเปรียบเทียบเชิงซ้อนที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการทดสอบตอนที่หนึ่ง พบว่า กลุ่มนาโนซิลิการ้อยละ 1 มีค่ากำลังดัดขวาง (88.28±5.23 MPa ) และค่าเฉลี่ยพลังงานแตกหัก (0.262±0.058 MPa) สูงสุด แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มควบคุม ส่วนค่าโมดุลัสยืดหยุ่นมีค่าต่ำสุด (2779.39±232.20 N/mm²) และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มควบคุม สำหรับผลการทดสอบตอนที่สอง พบว่า กลุ่มนาโนซิลิการ้อยละ 1 สูญเสียมวลจากการแปรงน้อยที่สุด (0.000525±0.000282 mg) และไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มควบคุม ส่วนการสูญเสียปริมาตร (0.146±0.079 mm³ ) นั้นไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มควบคุม รวมถึงฟันอะคริลิก OrtholuxTop และ CosmoHXL ดังนั้นการเติมวัสดุอัดแทรกซิลิกาชนิดนาโนในปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก มีความน่าสนใจที่จะเลือกมาใช้ปรับปรุงสมบัติด้านกำลังดัดขวาง และความต้านทานการสึกได้
Other Abstract: To evaluate the flexural strength of clear modified heat-cured acrylic resins which were added by two silica fillers (microbarium glass 5%,10% and 15 % by weight and nanosilicate glass 1% and 3% by weight) and to study the wear resistance of clear modified heat-cured acrylic resins and 4 commercial teeth (Majordent, YamahashiFx, OrtholuxTop and CosmoHXL). Eight samples were prepared for each groups. Part 1: Three-point transverse test was done in 3°C with constant loading rate 5±1 mm/min. Flexural strength, fracture toughness and Young’s modulus were calculated. Part 2: Wear test by tooth-brushing was test under loading 2.0-2.5N force for total 20,000 cycles. The wear resistance was evaluated by the volume loss of the surface and the mass loss. The data were submitted to One-way Analysis of Variance (ANOVA) and multiple comparisons. The results of part 1 showed that the highest flexural strength (88.28±5.23 MPa) and the highest fracture toughness (0.262±0.058 MPa) was found in 1%Nano with no statistically significant. In contrast with the flexural modulus (2.78±0.23 GPa) that showed statistically significant. For part 2 the wear results by tooth-brushing test showed that the minimum mass loss was found in 1%Nano (0.000525±0.000282 mg) with no statistically significant while the volume loss of 1%Nano (0.146±0.079 mm³) was not statistically significant with control group, OrtholuxTop and CosmoHXL. Result was suggested that added 1% by weight of nanosilicate glass was interesting to use to improve the flexural strength and wear resistance of clear acrylic resin.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45321
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2014
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2014
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jinjutha_ja.pdf7.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.