Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45338
Title: แบบแผน ED threshold แบบปรับค่าได้สำหรับเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย IEEE 802.15.4 เพื่อรองรับการทำงานร่วมกับเครือข่าย IEEE 802.11B/G
Other Titles: Adaptive ED threshold scheme for IEEE 802.15.4 wireless sensor networks to support coexistence with IEEE 802.11B/G
Authors: วันทวัฒน์ วงศ์มาโนชญ์
Advisors: วาทิต เบญจพลกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Watit.B@chula.ac.th
Subjects: เครือข่ายเฉพาะที่ไร้สาย -- มาตรฐาน
ไออีอีอี 802.11 (มาตรฐาน)
ไออีอีอี 802.15.4 (มาตรฐาน)
Wireless LANs -- Standards
IEEE 802.11 (Standard)
IEEE 802.15.4 (Standard)
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายบนมาตรฐาน IEEE 802.15.4 เริ่มเป็นที่สนใจทั้งในการประยุกต์ใช้งานและการค้นคว้าวิจัย เนื่องจากมีความเรียบง่าย, มีราคาถูก, ใช้พลังงานต่ำ และมีความเชื่อถือได้สูง อย่างไรก็ตาม การที่เครือข่าย IEEE 802.15.4 ทำงานบนแถบความถี่ 2.4 GHz ซึ่งเป็นแถบความถี่สาธารณะ จึงมีเทคโนโลยีอื่นๆที่ทำงานบนแถบความถี่นี้เช่นกัน โดยเฉพาะเครือข่าย IEEE 802.11b/g ซึ่งมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายถือเป็นเทคโนโลยีที่มีโอกาสส่งผลกระทบต่อเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายบนมาตรฐาน IEEE 802.15.4 มากที่สุด ซึ่งด้วยลักษณะเฉพาะต่างๆของเครือข่าย IEEE 802.11b/g มีโอกาสทำให้สมรรถนะของเครือข่าย IEEE 802.15.4 ลดลงอย่างมาก และทำให้การประยุกต์ใช้งานที่ใช้เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายมีโอกาสทำงานผิดพลาดได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการเสนอวิธีปรับปรุงสมรรถนะของเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายบนมาตรฐาน IEEE 802.15.4 ในกรณีที่ใช้งานแถบความถี่ร่วมกับเครือข่าย IEEE 802.11b/g เพื่อบรรเทาปัญหาที่เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายอาจมีสมรรถนะลดลงหรือทำงานผิดพลาดอันเนื่องมาจากการแทรกสอดระหว่าง 2 มาตรฐานข้างต้น โดยการปรับปรุงรูปแบบการตรวจสอบเพื่อเข้าถึงช่องสัญญาณของโนดส่งในมาตรฐาน IEEE 802.15.4 เพื่อที่โนดส่งในมาตรฐาน IEEE 802.15.4 สามารถส่งแพ็กเกตข้อมูลได้หากระดับพลังงานของสัญญาณแทรกสอดไม่ส่งผลกระทบให้การส่งแพ็กเกตข้อมูลล้มเหลว แต่หากระดับพลังงานของสัญญาณแทรกสอดอาจส่งผลให้การส่งแพ็กเกตข้อมูลล้มเหลว โนดส่งก็จะยังไม่ส่งแพ็กเกตข้อมูลในขณะนั้น และจะรอเวลาเพื่อตรวจสอบสถานะของช่องสัญญาณอีกครั้งต่อไป ด้วยการทำงานในรูปแบบนี้จะทำให้เซ็นเซอร์โนดทุกตัวสามารถใช้งานช่องสัญญาณได้อย่างคุ้มค่าที่สุดในสภาวะที่เกิดการแทรกสอดขึ้น
Other Abstract: IEEE 802.15.4 is becoming an attractive technology for Wireless Sensor Networks (WSNs) applications because of its simplicity, low cost, low power, and high reliability. However, IEEE 802.15.4 operates on unlicensed 2.4 GHz band, which shares among many wireless technologies. Especially, the widely-used IEEE 802.11b/g can be considered as the highest risk to IEEE 802.15.4 due to its characteristics that have more advantage than IEEE 802.15.4. Therefore, IEEE 802.15.4 networks may suffer from performance degradation in the presence of heavy IEEE 802.11b/g interference, which may impact Wireless Sensor Networks applications. In this thesis, we propose an approach to improve IEEE 802.15.4 Wireless Sensor Networks performance in the coexistence with IEEE 802.11b/g in order to mitigate the performance degradation introduced by interference between these two standards by improving IEEE 802.15.4 channel access mechanism. In the proposed scheme, transmitter can transmit packet while there are interference from IEEE 802.11b/g if energy of the interference does not cause transmission failure but if energy of the interference may cause transmission failure, the transmitter will not transmit packet and will wait for next attempt. With this scheme, the sensor nodes can effectively utilize the channel in the presence of heavy interference.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45338
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1340
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1340
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wantawat_wo.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.