Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45362
Title: การเกิด รูปแบบ และผลกระทบด้านเศรษฐกิจของพื้นที่ตาบอด ในเขตบางเขน และเขตสายไหม ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: CAUSES, TYPES AND ECONOMIC EFFECTS OF INACCESSIBLE PLOTS IN BANGKHEN AND SAIMAI DISTRICTS OF BANGKOK
Authors: ณ ฤดี เคียงศิริ
Advisors: พนิต ภู่จินดา
อภิวัฒน์ รัตนวราหะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Panit.P@Chula.ac.th,pujinda@gmail.com
Apiwat.R@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาการเกิด รูปแบบ และผลกระทบด้านเศรษฐกิจของพื้นที่ตาบอด ใน เขตบางเขน และเขตสายไหม โดยศึกษาแผนที่ต่างๆ ภาพถ่ายทางอากาศจากอดีตถึงปัจจุบัน มาตรฐานของต่างประเทศเทียบกับไทย ทำให้ทราบจุดอ่อนของการบริหารจัดการ และพัฒนาการของเมือง โดยเฉพาะ โครงข่ายคมนาคมที่ไม่สมดุลเพียงพอ จึงเกิดมีที่ดินตาบอดขึ้นจำนวนมากค้นหาพื้นที่ตาบอดในพื้นที่ศึกษา พบว่ามี 33 แปลง โดยวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดิน และโครงข่ายคมนาคม หาพื้นที่ซึ่งคาดว่าเป็นที่ดินตาบอด นำพิกัดพื้นที่เป้าหมายมาค้นระวางโฉนดสอบยืนยันว่าเป็นพื้นที่ตาบอดแท้โดยกรรมสิทธิ์ และได้ลงสำรวจในพื้นที่จริง สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ทำการทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยต่างๆ ทั้งจากในประเทศ และจากต่างประเทศด้วย พบว่า รูปแบบที่ดินตาบอดมี 3 กลุ่มคือ ที่ดินตาบอดริมน้ำ (รวมถึงที่ดินตาบอดบนที่งอกริมน้ำ) ที่ดินตาบอดใน Super Block (รวมถึงที่ดินตาบอดหลังหมู่บ้าน) ที่ดินตาบอดติดทางพิเศษที่มีกำแพงกั้น (รวมถึงที่ดินตาบอดติดทางรถไฟ) และได้ค้นพบ 2 สาเหตุของการเกิดที่ดินตาบอด คือ 1)การบริหาร และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่มีประสิทธิภาพ (เปลี่ยนกรรมสิทธิ์โดยไม่เหมาะสม เปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินเกษตรกรรมมาสู่การใช้แบบเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดการบูรณาการ) 2)โครงข่ายคมนาคมที่ไม่เหมาะสม (การคมนาคมหลักเปลี่ยนจากทางน้ำเป็นทางบก การพัฒนาเมืองไม่สมดุลและได้มาตรฐาน) และวิเคราะห์ผลสำรวจกรณีศึกษา ผ่านมิติของ กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการบริหารจัดการ พบว่า 3 ตัวแปรหลักของการเกิด คือ โครงข่ายคมนาคมและการเข้าถึงพื้นที่ (Infrastructure Network Standard: Accessibility) การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน (Ownership) การประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Co-ordination) งานวิจัยนี้สรุปผลกระทบด้านเศรษฐกิจของพื้นที่ตาบอดได้ว่า มีการสูญเสียโอกาสในอดีต และจะมีการสูญเสียโอกาสในอนาคต หากไม่มีการแก้ไข ได้ศึกษาพื้นที่ตาบอดในพื้นที่ศึกษาทุกแปลง นำผลมาวิเคราะห์ในเชิงซ้อน (Matrix) เพื่อหาข้อมูล และความสัมพันธ์เชิงลึก ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีความแตกต่างกัน เช่น พื้นที่ตาบอดริมน้ำ รวมทั้งพื้นที่ตาบอดบนที่งอกริมน้ำ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงคมนาคมหลัก พื้นที่ตาบอดใน Super Block เกิดจากขาดมาตรฐานความสมดุลของลำดับศักดิ์ถนน พื้นที่ตาบอดหลังหมู่บ้านเกิดจากการพัฒนาแบบแยกส่วน ขาดการมองภาพรวม พื้นที่ตาบอดติดทางรถไฟและพื้นที่ตาบอดติดทางพิเศษที่มีกำแพงกั้น เกิดจากขาดการประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางการพิจารณาแก้ไขได้ โดยสรุปลำดับศักยภาพการพัฒนาพื้นที่ตาบอด 6 ปัจจัย คือ ระยะห่างจากถนน การเข้าถึง การใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อกำหนดการใช้ที่ดิน ขนาดของพื้นที่ และราคาที่ดิน ที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีจำนวนจำกัด ที่ดินตาบอดมีผลต่อเศรษฐกิจเพราะขาดการใช้ประโยชน์ที่คุ้มค่า เกิดจากโครงข่ายคมนาคมที่ไม่สมดุล และขาดการประสานงานแบบบูรณาการ งานวิจัยนี้จะทำให้ที่ดินตาบอดได้รับความสนใจ และควรได้รับการแก้ไขในที่สุด
Other Abstract: The objectives of this research are to study the Causes, Types and Economic Effects of Inaccessible Plots in Bangkhen and Saimai. The hypothesis of the research is Improper Street Network caused some pieces of land to be Inaccessible and to have effects on Economy. The research methodology consists of surveying 33 inaccessible plots of land in Bangkhen and Saimai Districts of Bangkok. Literature Reviews, Interviews, Land Use study, Infrastructure Network study and International Urban Planning Standards study were done to determine the Causes of Inaccessible Plots. Searching of Inaccessible Plots by GIS, Close Examinations and Grouping Inaccessible Plots by their physicals were done to determine their Different Types of Inaccessible Plots. Observation of Overlay Mapping of 50 years growth Aerial Photos in the 2 districts, Finding Data of Infrastructures Developing Costs and Matrix Analysis Development Model of Inaccessible Plots (as if they were accessible) were done to determine Economic Effects. This research divided Inaccessible Plots into 3 Types. Inaccessible Plots on River Banks (including Inaccessible Plots by Land Protrusion on River Banks), Inaccessible Plots within Super Blocks (including Inaccessible Plots Locked Behind Housing Projects), and Inaccessible Plots Adjacent to Special Roads with walls (including Inaccessible Plots Adjacent to Railways). The research concluded that there are 2 main Causes of Inaccessible Plots, 1)Improper Management & Land Use change (Improper Subdivision, Agricultural Land Use Change to Urban Land Use, Lack of Coordination) 2) Insufficient Infrastructure Network Development (Major Transportation Change, Insufficient Standard Infrastructure Network), This research discovered 3 important variables responsible for the rise of Inaccessible Plots which are Infrastructure Network Standards: Accessibility, Ownership, and Co-ordination. The research concluded Economic Effects of Inaccessible Plots as, Opportunity Loss (Rent Loss) and Loss of Opportunity Gain. The research found that in order to determine the Development Potential of Inaccessible Plots, there are 6 important factors to be considered: Distance from the main roads, Accessibility, Land Use, Land Use Regulations, Plot Sizes and Land Prices. Inaccessible Plots of Lands should be solved by Sufficient Infrastructure Network, turning them into full use and real high value. This research recommended that the government should demand the registration of Inaccessible Plots.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45362
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5174405225.pdf10.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.