Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45374
Title: | โอกาสและข้อจำกัดของยุทธศาสตร์วิเทศสัมพันธ์กับการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Opportunities and constraints on foreign relations strategy and the management of local administration : a case study of Bangkok metropolitan administration |
Authors: | รสสุคนธ์ ชาติประเสริฐ |
Advisors: | ไชยวัฒน์ ค้ำชู |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chaiwat.K@chula.ac.th |
Subjects: | การปกครองท้องถิ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ -- ไทย Local government -- Thailand -- Bangkok International relations -- Thailand |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพที่น่าจะได้รับประโยชน์อย่างสูงจากโลกาภิวัตน์และยุทธศาสตร์วิเทศสัมพันธ์ แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่มีอยู่ได้เต็มที่เนื่องจากกรุงเทพมหานครในฐานะที่เป็นส่วนราชการไม่มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินยุทธศาสตร์ดังกล่าว การดำเนินยุทธศาสตร์วิเทศสัมพันธ์จึงยึดโยงอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อมีการเปลี่ยนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป้าหมายของยุทธศาสตร์วิเทศสัมพันธ์ก็เปลี่ยนไป ทำให้กรุงเทพมหานครเสียโอกาสที่จะได้รับประโยชน์ที่สำคัญในการพัฒนาเมืองจากกระแสโลกาภิวัตน์ไป กรุงเทพมหานครมีโอกาสในการดำเนินยุทธศาสตร์วิเทศสัมพันธ์ คือ พื้นที่กรุงเทพฯ ได้รับผลจากกระแสโลกาภิวัตน์และมีโอกาสจากที่ตั้งที่อยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เป็นจุดเชื่อมโยงเมืองสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงถูกผนวกรวมเข้าไปอยู่ในเครือข่ายการเชื่อมโยงระดับโลก กรุงเทพมหานครในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสถานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีการแบ่งส่วนราชการออกเป็นสำนัก สำนักงาน และสำนักงานเขต รับผิดชอบภารกิจหลากหลายครอบคลุมกิจการทุกด้าน มีการจัดเก็บรายได้ของตนเอง รวมทั้งกฎหมายยังระบุให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจได้ในการพัฒนาพื้นที่กรุงเทพฯ ได้พอสมควร ข้อจำกัดที่สำคัญของยุทธศาสตร์วิเทศสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครคือ ความไม่ต่อเนื่องด้วยเงื่อนไขด้านวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ผลจากการดำเนินยุทธศาสตร์ดังกล่าว จึงเป็นเพียงการตอบสนองเป้าหมายที่กำหนดโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่อยู่ในตำแหน่ง โดยไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์วิเทศสัมพันธ์ของอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และภารกิจตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในมิติอื่นๆ เป็นเหตุให้ยุทธศาสตร์วิเทศสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครไม่มีรูปธรรมในการพัฒนาพื้นที่กรุงเทพฯ โดยภาพรวม |
Other Abstract: | The Bangkok Metropolitan Administration (BMA) is a local administration with potential to greatly benefit from globalization and foreign relations strategy. However, the BMA, as an organization, cannot take full benefit due to its lack of clear target in foreign relations strategy implementation. The implementation of the strategy is relied solely on the vision of the BMA's executives, particularly the elected Governor of Bangkok. This means that the target of foreign relations strategy changes when new governor assumes the office which result in the BMA losing an opportunity to take advantage of globalization in order to foster urban development. The BMA has opportunities to pursue foreign relations strategy as Bangkok is a highly globalized city because of its strategic location in the Southeast Asian region, where it is included in the global network in various aspects. Bangkok is a special administrative zone under administration of the BMA whose authority embraces wide range of city management with its huge revenue. Moreover, the law allows BMA, as an administrative body of the special administrative zone, sufficient power to promote development in Bangkok area. As foreign relations strategy has varied on the vision of each Governor of Bangkok, this factor has become an important constraint on the BMA to have a long-term foreign relations strategy. This lack of continuity in policy implementation of the BMA foreign relations strategy has resulted in no concrete plan for its overall urban development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | รัฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45374 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.888 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.888 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5281505524.pdf | 3.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.