Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45412
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย | en_US |
dc.contributor.advisor | อัจฉรา จันทร์ฉาย | en_US |
dc.contributor.author | ชาติรส การะเวก | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:01:43Z | |
dc.date.available | 2015-09-17T04:01:43Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45412 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยแบบผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาและประเมินงานวิจัยและพัฒนา สร้างตัวชี้วัดความสามารถเชิงพาณิชยกรรมของงานวิจัยและพัฒนา พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเมินความสามารถเชิงพาณิชยกรรมของงานวิจัยและพัฒนา และศึกษาการยอมรับและความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชยกรรมของโปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารโครงการ 14 คนซึ่งมาจากการสุ่มแบบเจาะจง การสร้างตัวชี้วัดเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักวิจัยและผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการนำงานวิจัยไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ 272 คนในทุกภาคอุตสาหกรรม การทดสอบประสิทธิภาพของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเก็บข้อมูลจากงานวิจัยและพัฒนาในองค์กรนวัตกรรม สถาบันวิจัยของรัฐ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทดสอบการยอมรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารโครงการและผู้ประกอบการที่สนใจทดลองใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 20 คนเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำนวัตกรรมระบบประเมินความสามารถเชิงพาณิชยกรรมของงานวิจัยและพัมนาไปสู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน และ โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า การนำงานวิจัยและพัฒนาไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ค้นหา คัดเลือก พัฒนา และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองพบว่าโมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยแบ่งเป็น 2 โมเดล คือ โมเดลการวัดความสามารถเชิงพาณิชยกรรมก่อนดำเนินการวิจัย มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ เทคโนโลยี การตลาด ทรัพยากร และผลกระทบ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานเท่ากับ 0.95, 0.85, 0.79, และ 0.46 ตามลำดับ โมเดลการวัดความสามารถเชิงพาณิชยกรรมหลังดำเนินการวิจัยวัดมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การตลาด เทคโนโลยี การเงิน ผลกระทบ ทรัพย์สินทางปัญญา และ ทรัพยากร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานเท่ากับ 0.96, 0.72, 0.68, 0.54, 0.42 และ 0.34 ตามลำดับ การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการประเมินความสามารถเชิงพาณิชยกรรมของงานวิจัยและพัฒนา โดยรวมการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง Structural Equation Modeling (SEM) กับการตัดสินใจพหุเกณฑ์ คือ Analytic Hierarchy Process (AHP) และ Technique for Order preference by Similarity to ideal solution (TOPSIS) พบว่าระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีความถูกต้องสูง (ร้อยละ 96.88) การศึกษาการยอมรับด้วยทฤษฏีการยอมรับเทคโนโลยี (TAM) พบว่าโปรแกรมมีความง่ายเหมาะสมกับการใช้งาน และมีความเป็นไปได้ในการใช้งาน การศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ของโปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเมินงานวิจัยและพัฒนาแสดงให้เห็นว่ามีความน่าสนใจในการลงทุน (IRR = ร้อยละ 59.34, NPV= 381,531 บาท, PBP = 1.59 ปี) | en_US |
dc.description.abstractalternative | This mixed-method research aimed to explore research and development (R&D) and evaluation process, develop R&D commercialization capacity indicator, develop and test the effectiveness of the decision support system (DSS), and study the acceptance and feasibility to commercialize the developed DSS. The qualitative study on commercialization development and evaluation process through in-depth interviews with 14 purposely chosen experts, while the indicator development among 272 successful entrepreneurs and researchers in all industrial sectors. The data was collected with a structured questionnaire from innovative firms, research instituted and Chulalongkorn University to test the effectiveness. The samples of acceptance testing and feasibility study are 20 voluntary project managers and entrepreneurs. Data were analyzed by descriptive statistics and structural equation modeling (SEM). The research results revealed that the R&D commercialization process consists of 4 stages : Search, Select, Development, and Commercialization. The second order confirmatory factor analysis revealed that the model developed fitted with the empirical data and divided into 2 models. First, the measurement model of commercialization capability of pre R&D development composed of four components: technology, marketing, resource, and beneficial impact. The standardized solution is 0.95, 0.85, 0.79, and 0.46 respectively. Second the measurement model of commercialization capability of post R&D development composed of six components: technology, marketing, finance, intellectual property, resource, and beneficial impact. The standardized solution is 0.96, 0.72, 0.68, 0.54, 0.42 and 0.34 respectively. Based on the R&D commercialization indicators, we used Structural Equation Modeling (SEM) and multi-criteria decision making (Analytic Hierarchy Process: AHP and Technique for Order preference by Similarity to ideal solution: TOPSIS) algorithms to develop the Decision Support System (DSS) in impressively high at 96.88% accuracy. The result of feasibility study indicating that the R&D Evaluation DSS licensing will be interesting on investments (IRR 59.34%, NPV= 381,531 Baths, PBP = 1.59). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.906 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นวัตกรรมทางเทคโนโลยี | |
dc.subject | การแพร่กระจายนวัตกรรม | |
dc.subject | โครงการวิจัยและพัฒนา | |
dc.subject | การสร้างสรรค์ทางเทคโนโลยี | |
dc.subject | การประเมิน | |
dc.subject | อุตสาหกรรม -- ไทย | |
dc.subject | การตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์ | |
dc.subject | Technological innovations | |
dc.subject | Diffusion of innovations | |
dc.subject | Creative ability in technology | |
dc.subject | Evaluation | |
dc.subject | Research and development projects | |
dc.subject | Industries -- Thailand | |
dc.subject | Multiple criteria decision making | |
dc.title | นวัตกรรมระบบการประเมินความสามารถเชิงพาณิชยกรรมของงานวิจัยและพัฒนา | en_US |
dc.title.alternative | Innovative evaluation system of commercialization capability of research and development | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Natcha.Th@Chula.ac.th,natcha.t@chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | achandrachai@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.906 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5387766120.pdf | 11.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.