Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45457
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสรันยา เฮงพระพรหมen_US
dc.contributor.advisorปิยะ หาญวรวงศ์ชัยen_US
dc.contributor.authorวรรณศิริ นิลเนตรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:02:09Z
dc.date.available2015-09-17T04:02:09Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45457
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้เครื่องมือวัดระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยที่พัฒนาขึ้นในการศึกษานี้ด้วยเทคนิคเดลฟาย และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีนบุรี ทับเจริญ และห้วยขวาง จำนวน 440 คน ซึ่งถูกสุ่มเลือกมาด้วยเทคนิคการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์หาค่าน้ำหนักองค์ประกอบเพื่อคำนวณหาระดับความฉลาดทางสุขภาพโดยใช้โปรแกรมลิสเรล และใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความฉลาดทางสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่า 1) ความฉลาดทางสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุอยู่ในระดับพื้นฐาน (ร้อยละ 99.5) และระดับปฏิสัมพันธ์ (ร้อยละ 0.5) 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความฉลาดทางสุขภาพ ได้แก่ อายุ (p-value=0.001) เพศ (p-value=0.013) ระดับการศึกษา (p-value<0.001) ความสามารถในการมองเห็น (p-value=0.003) ความสามารถในการเขียน (p-value<0.001) ผู้ดูแล (p-value=0.005) สิทธิในการรักษาพยาบาล (p-value=0.041) ความถี่การเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม (p-value<0.001) และการเดินทางมาชมรม (p-value=0.007) และ 3) เครื่องมือที่ได้พัฒนาขึ้นมีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้ในการใช้วัดระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทย เนื่องจากมีค่าดัชนีความยากเฉลี่ย ระดับง่ายถึงค่อนข้างยาก ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ย ระดับพอใช้ถึงดีมาก และค่าความเที่ยง ระดับพอใช้ถึงสูง ดังนั้น การจัดประเภทบริการและกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพของผู้สูงอายุไทยควรพิจารณาถึงระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุในแต่ละกลุ่มและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องสามารถนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นในการศึกษานี้ไปใช้วัดระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุได้en_US
dc.description.abstractalternativeThis research was designed as a mixed method study which aimed to 1) study health literacy in Thai elders in senior citizens club of Bangkok and 2) determine factors associated with health literacy among Thai elders. A health literacy tool developed in this study by using Delphi technique was used to collect the data. The 440-Thai elders from 3 senior citizens club of Bangkok; Min Buri, Thap Charoen and Huai Khwang were selected using multi-stage sampling technique. Descriptive statistic was used to describe the subject’s characteristics. The weight-factors for adjusting the level of health literacy were analyzed using LISREL. The factors associated with health literacy among Thai elders were determined using a multiple linear regression model. The results showed that the health literacies of the subject were in the level of functional (99.5%) and interactive (0.5%). The factors statistically significant associated with the health literacy among Thai elders were age (p-value=0.001), sex (p-value=0.013), education (p-value<0.001), vision ability (p-value=0.003), writing ability (p-value<0.001), caretaker (p-value=0.005), right to medical treatment (p-value=0.041), frequency of participating the senior citizens club activities (p-value <0.001), and travelling to senior citizens club (p-value=0.007). In addition, the tool developed in this study was reliable and feasible for assessing the health literacy among Thai elders because 1) the mean item difficulty was in the range of ease to nearly difficulty, 2) the mean item discrimination was in the range of fair to excellence and 3) the reliability was in the range of fair to high. Therefore, the factors associated and the level of elders-health literacy should be taken into account for health services and health promoting activity management. The health literacy tool developed in this study is adequately effective for the aging heath sectors to use as an evaluation tool.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.929-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความรอบรู้ทางสุขภาพ
dc.subjectผู้สูงอายุ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectHealth literacy
dc.subjectOlder people -- Thailand -- Bangkok
dc.titleความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeHEALTH LITERACY IN THAI ELDERS IN SENIOR CITIZENS CLUB OF BANGKOKen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSarunya.H@Chula.ac.th,hengprs@gmail.comen_US
dc.email.advisorPiya.H@Chula.ac.th,piya@post.harvard.eduen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.929-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5474918130.pdf6.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.