Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45464
Title: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดแบบสองวิธีของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคใต้ตอนบน
Other Titles: FACTORS PREDICTING DUAL CONTRACEPTIVE METHOD USE OF FEMALE VOCATIONAL STUDENTS, UPPER SOUTH REGION
Authors: เทพกัลยา เหมทานนท์
Advisors: รัตน์ศิริ ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Ratsiri.T@chula.ac.th,ratsiri99@gmail.com
Subjects: คุมกำเนิด
นักเรียนอาชีวศึกษา -- ไทย (ภาคใต้)
สตรี -- อาชีวศึกษา -- ไทย (ภาคใต้)
Contraception
Vocational school students -- Thailand, Southern
Women -- Vocational education -- Thailand, Southern
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลด้านปัจจัยส่วนบุคคลและบุคลิกภาพได้แก่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี อิทธิพลด้านสิ่งแวดล้อมเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ ทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบสองวิธี การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และอิทธิพลด้านบริบทสถานการณ์ทางสังคม ได้แก่ ค่านิยมของกลุ่มเพื่อนผู้หญิงในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี กับพฤติกรรมการคุมกำเนิดแบบสองวิธีของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคใต้ตอนบน และ เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดแบบสองวิธีของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคใต้ตอนบน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาหญิงอายุ 18-24 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐบาล และเอกชน ในเขตภาคใต้ตอนบน ที่ระบุว่ามีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 345 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี ทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบสองวิธี การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ค่านิยมของกลุ่มเพื่อนผู้หญิงในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี และ พฤติกรรมการคุมกำเนิดแบบสองวิธี การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 0.80, 0.80, 0.80, 1.0 และ1.0 มีความเที่ยงเท่ากับ 0.79, 0.70, 0.87, 0.51 และ 0.50 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์อำนาจการทำนายด้วยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบคัดเลือกเข้า ผลการวิจัยพบว่า 1.การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี มีความสัมพันธ์ทางบวก กับพฤติกรรมการคุมกำเนิดแบบสองวิธี ของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคใต้ตอนบน(r=.279 ,p< .05) ค่านิยมของกลุ่มเพื่อนผู้หญิงในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบสองวิธี ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (r =.006 , r= -.048, r=.026 ตามลำดับ, p > .05) 2.การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี ค่านิยมของกลุ่มเพื่อนผู้หญิงในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบสองวิธี สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดแบบสองวิธีของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคใต้ตอนบนได้ ร้อยละ7.9 โดยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (β= .282, p < .05) เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this correlational predictive research were to examine correlation between perceived dual contraceptive method use self efficacy, attitudes toward dual contraceptive method use, perceived risk of sexually transmitted disease, AIDS and unwanted pregnancy, normative friend belief of dual contraceptive method use and dual contraceptive method use. Three hundred and fourty-five vocational female students aged 18-24 years in the upper south of Thailand, were recruited using multistage random sampling. Data were collected using the perceived dual contraceptive method use self efficacy questionnaire, attitudes toward dual contraceptive method use questionnaire, perceived risk of sexually transmitted disease, AIDS and unwanted pregnancy questionnaire, normative friend belief of dual contraceptive method use questionnaire, and dual contraceptive method use questionnaire. The questionnaires were tested for their content validity by a panel of expert, their CVI were 0.8, 0.8, 0.8, 1.0 and 1.0, respectively. Their Cronbach’ s alpha coefficients were 0.79, 0.70, 0.87, 0.51, and 0.50 respectively. Data were analyzed using bivariate correlations and multiple regression. The results revealed that: 1. Perceived dual contraceptive method use self efficacy was positively and significantly related to dual contraceptive method use among vocational female students in the upper part of the South (r=.279 , p< .05). Normative friends belief of dual contraceptive method use (r= .006), perceived risk of sexually transmitted disease, AIDS and unwanted pregnancy (r= -.048) and attitudes toward dual contraceptive method use (r= .026) were not related to dual contraceptive method use (p > .05). 2. Perceived dual contraceptive method use self efficacy, normative friend belief of dual contraceptive method use, perceived risk of sexually transmitted disease, AIDS and unwanted pregnancy and attitudes toward dual contraceptive method use explained 7.9%. of the variance of dual contraceptive method use of vocational female students in the upper south. Perceived dual contraceptive method use self efficacy (β= .282, p < .05) was the only significant predictor of dual contraceptive method use.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45464
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.932
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.932
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477219736.pdf5.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.