Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45469
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ | en_US |
dc.contributor.advisor | ศิลปชัย สุวรรณธาดา | en_US |
dc.contributor.author | ชัยสิทธิ์ ภาวิลาส | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:02:17Z | - |
dc.date.available | 2015-09-17T04:02:17Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45469 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลที่ใช้ทำนายตำแหน่งจุดกระทบบนเอ็นหน้าไม้เทนนิส (predictive impact model) ที่ทำให้เกิดความเร็วสูงสุดในการเสิร์ฟลูกแรกด้วยการวิเคราะห์ภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ จากการเสิร์ฟลูกแฟล็ทของนักกีฬาเยาวชนชายทีมชาติ แบ่งออกเป็นสองขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาถึงอัตราเร่งและความเร็วของลูกเทนนิสที่เกิดจากการเสิร์ฟลูกแฟล็ทในแต่ละตำแหน่งจุดกระทบบนเอ็นหน้าไม้ด้วยเครื่องทดสอบแบบ 3 มิติ ในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำข้อมูลตัวแปรอิสระที่ได้มาตรฐาน (Smash ratio) มาประกอบร่วมในการสร้างโมเดลสมการถดถอยในขั้นตอนที่ 2 เนื่องจากเป็นข้อจำกัดในการวิจัย ซึ่งเป็นการศึกษาโมเดลที่ได้จากประสบการณ์ในสภาวะที่เกิดขึ้นจริง (Empirical model) จึงสามารถนำมาใช้อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้โดยตรง ผลการวิจัยขั้นตอนแรก ในสามรูปแบบโครงสร้าง พบว่า ค่าอัตราส่วนระหว่างความเร็วของลูกเทนนิสต่อความเร็วของไม้แร็กเกต (Ballpost/Racketpre) ณ จุดกระทบที่ 2 เหนือจุดกลางหน้าไม้ 30 มม. มีค่าสูงที่สุด โดยค่าอัตราส่วนนี้ (ฺSmash ratio) มีค่ามากกว่าตำแหน่งจุดกระทบที่ 3 จุดกลางหน้าไม้แร็กเกต (GSC) ร้อยละ 1.811 ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าอัตราส่วนในสามรูปแบบโครงสร้าง (RR สี่เหลี่ยม, RT สามเหลี่ยม และ RO วงรี) พบว่าค่าอัตราส่วนของสามโครงสร้าง ณ จุดกระทบที่ 1, 2 และ 3 มีความแตกต่างจากตำแหน่งจุดกระทบที่เหลือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่าอัตราส่วนนี้ระหว่างโครงสร้างไม้แร็กเกตทั้งสามรูปแบบ ผลการวิเคราะห์ภาพการเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ จากกล้องวีดีโอความเร็วสูง ในการเสิร์ฟลูกแรกจากนักกีฬาเยาวชนทีมชาติ จำนวน 167 ผลการทดสอบ นำมาวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์เชิงซ้อน (Multiple Regression; Stepwise) พบว่า ความเร็วไม้แร็กเกตก่อนกระทบ (Racket Velocity pre) เป็นตัวแปรอิสระแรกที่ทำนายทางบวก ต่อค่าความเร็วสูงสุดของลูกเทนนิสหลังกระทบ (Ball Velocity post) มีอิทธิพลมากที่สุด ร้อยละ 76.2 (β = .762) รองลงมาคือ ค่าอัตราส่วน (Smash ratio) ทำให้มีผลเพิ่มขึ้น (β = .671) ซึ่งเป็นปัจจัยด้านทักษะเทคนิคเฉพาะบุคคล ทั้งนี้ค่าความแข็งแกร่งของไม้แร็กเกต (Racket stiffness) ทำให้ค่าเพิ่มขึ้น (β = .564) เช่นกัน แต่ความตึงเอ็นบนหน้าไม้แร็กเกต (String tension) มีผลในทางตรงกันข้ามที่ทำให้ค่าลดลง (β = -.329) ยังพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การทำนายที่ปรับเทียบ (Adjusted R2) แสดงถึงตัวแปรอิสระทั้งสี่ตัวแปรที่ใช้ทำนายความเร็วลูกเทนนิสในการเสิร์ฟลูกแรก ร้อยละ 89.8 [สมการ predictive impact model; Ball Velocitypost = -25.978 + .970 (Racket Velocitypre) + 86.223 (Smash ratio) + .270 (Racketstiffness) - .840 (String tension)] จากผลงานวิจัยนี้ สรุปได้ว่า โมเดลสมการถดถอยที่ใช้ทำนายตำแหน่งจุดกระทบบนเอ็นหน้าไม้ ที่ทำให้เกิดความเร็วสูงสุดในการเสิร์ฟลูกแรก จากรูปแบบโครงสร้างรวม น่าจะใช้ทำนายความเร็วของลูกเทนนิส ระดับที่ดี (ร้อยละ 89) โดยจุดกระทบบนเอ็นหน้าไม้เทนนิส ณ ตำแหน่ง 2 เหนือจุดกลางหน้าไม้ 30 มม. น่าจะสร้างอัตราเร็วของลูกเทนนิส (Ball speed) ได้ดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to determine predictive impact model of tennis flat first serve by Thai national junior players, including an independent variable as smash ratio using a real strike simulating machine in laboratory. The research study was divided into 2 studies. Study-1 focused on ball-racket interaction of flat serve at instance Pre-inbound and Post-outbound at afore-mentioned impact locations as well as smash ratios by 3R-racket typing. The results showed that smash ratio (ballpost/racketpre) at P2 was 1.811 % higher than that of Geometric stringbed center (GSC) referred, indicating the highest ratio occurred at location P2 (0, 30), impact location 30 mm distance above GSC of racket face (p < 0.05 level of significance) as power spot that was shown to produce maximum ball outbound velocity. Moreover, the smash ratio at P1, P2 and P3 were shown significance difference from the others (P4 and P5) in 3 structural racket frames, but no significance difference in each racket typing. The predictive impact model of tennis first serve was developed by 167 serving trails in 3D-motion analysis, high speed camera 2,000 Hz with also using in study 1, via Thai national junior players in study 2. Data was analyzed by Stepwise Multiple Regression analysis. The results showed that Post impact ball velocity (Ball Velocity post) was significantly different from four predictors (F= 668.019) at p < 0.05. Moreover, Pre impact ball velocity (Racket Velocity pre) was significantly high predict Ball Velocity post as expected 76.2 percent (β = .762), including the smash ratio about 67.1 (β = .671) indicated that tennis player’s performance could be the major effects of ball speed. While, stiffness of racket (Racket stiffness; β = .564) and string tension (β =-.329) were also significantly predict Ball Velocity post of tennis racket characteristics were the minor effects of ball speed, but swing weight of racket may be not. Conclusion, this predictive impact model of tennis first serve [Ball Velocitypost = -25.978 + .970 (Racket Velocitypre) + 86.223 (Smash ratio) + .270 (Racketstiffness) - .840 (String tension)] via Thai national junior players was predicted approximately 89.8 percent (Adjusted R2 = .898). This implies that concept of power spot (smash ratio) at location P2 (0, 30), impact location 30 mm distance above GSC, could be utilized to maximum effectively customizes a tennis player’s typical first serve style as previous studies. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การศึกษาโมเดลตำแหน่งจุดกระทบบนเอ็นหน้าไม้เทนนิสที่ทำให้เกิดความเร็วสูงสุดในการเสิร์ฟลูกแฟล็ทของนักกีฬาเยาวชนชายทีมชาติ | en_US |
dc.title.alternative | A STUDY ON IMPACT MODEL OF TENNIS FLAT SERVE AT RACKET’S MAXIMUM BALLSPEED SPOT IN NATIONAL YOUTH MALE PLAYERS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Chalerm.C@Chula.ac.th,lerm1951@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | Silpachai.Su@chula.ac.th | en_US |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5478603139.pdf | 7.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.