Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45487
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธีรวดี ถังคบุตร | en_US |
dc.contributor.advisor | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง | en_US |
dc.contributor.author | ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:02:28Z | - |
dc.date.available | 2015-09-17T04:02:28Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45487 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบทดสอบแบบปรับเหมาะคอมพิวเตอร์การศึกษาสำหรับนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2) เพื่อพัฒนาแบบสอบความสามารถทางคอมพิวเตอร์การศึกษาแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบความสามารถทางคอมพิวเตอร์การศึกษาแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น 4) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายของคะแนนความสามารถทางคอมพิวเตอร์การศึกษาแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์การศึกษา จำนวน 19 คน นิสิตนักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา จำนวน 42 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2,317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประเด็นในการจัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม (Focus Group) แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสม ระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ แบบสอบคอมพิวเตอร์การศึกษา แบบประเมินการใช้งานระบบทดสอบและระบบทดสอบแบบปรับเหมาะคอมพิวเตอร์การศึกษาฯ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระบบทดสอบแบบปรับเหมาะคอมพิวเตอร์การศึกษาฯ มีระยะในการพัฒนาระบบ 3 ระยะ ในแต่ละระยะประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนย่อยที่มีลักษณะคล้ายกัน คือ 1.ศึกษาความต้องการของผู้ใช้ 2.ออกแบบระบบ และ 3.ทดลองใช้โปรแกรม โครงสร้างหลักของการใช้งานโปรแกรมประกอบด้วย 6 ส่วนได้แก่ 1.สรุปรายการข้อมูลการสอบ 2.สร้างบัญชีผู้ใช้ 3.วิชา 4.แก้ไขข้อมูลข้อสอบ 5.การสอบ และ 6.ข้อมูลส่วนตัว และสิทธิ์ในการเข้าใช้งานระบบทดสอบฯ พบว่าสิทธิ์ในการเข้าใช้งานมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มผู้ดูแลระบบ (Administrator) 2.กลุ่มผู้สอน (Instructor) และ 3.กลุ่มนักเรียน (Student) โดยแต่ละกลุ่มมีสิทธิ์ในการเข้าใช้งานแต่ละส่วนต่างๆ กัน 2. แบบสอบความสามารถทางคอมพิวเตอร์การศึกษาแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมีจำนวนข้อสอบที่อยู่ในขอบเขต 5 เนื้อหา ได้แก่ 1.คอมพิวเตอร์ หลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายฯ จำนวน 173 ข้อ 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการติดต่อสื่อสารและระบบอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น จำนวน 139 ข้อ 3.การใช้ซอฟต์แวร์ในการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้โปรแกรมอรรถประโยชน์ ฯลฯ จำนวน 99 ข้อ 4. คณิตศาสตร์กับคอมพิวเตอร์ จำนวน 16 ข้อ และ 5. e-Learning จำนวน 18 ข้อ 3. คุณภาพของแบบสอบความสามารถทางคอมพิวเตอร์การศึกษาฯทั้งขอบเขต 5 เนื้อหา มีค่าอำนาจจำแนก (a) สูงสุด อยู่ระหว่าง 6.91 ถึง 6.48 ต่ำสุดอยู่ระหว่าง 0.03 ถึง 0.17 ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.27 ถึง 2.13 ค่าความยาก (b) สูงสุดอยู่ระหว่าง 2.61 ถึง 5.62 ต่ำสุดอยู่ระหว่าง -3.79 ถึง -0.97 ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง -0.08 ถึง 0.76 ค่าโอกาสในการเดา (c) สูงสุดอยู่ระหว่าง 0.28 ถึง 0.30 ต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 0.00 ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.09 ถึง 0.14 4. ค่าปกติวิสัยบอกความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนดิบ (raw score) เปอร์เซนไทล์ (percentile) และคะแนนมาตรฐานที (normalized T-score) ที่แปลงมาจากคะแนนดิบ โดยแสดงเป็นข้อสอบทั้ง 7 ชุดแต่ละชุดมีจำนวนข้อสอบทั้งหมด 100 ข้อ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This present study aims to 1) develop the computerized adaptive system in computer education for undergraduate students, 2) develop the computerized adaptive performance test in computer education 3) examine the quality of the adaptive performance test in computer education and 4) develop the normal criterion for interpreting testing scores of the adaptive performance test in computer education. The sample of this study were 19 experts in a computer education field, 42 undergraduate students majoring in computer education and 2,317 high school students. The instruments consisted of a focus group interview protocol, a questionnaire and an assessment form for evaluating the validity of the system, online learning management system, knowledge tests in computer education, an assessment form for the system and the computerized adaptive system in computer education. The results found that 1) The computerized adaptive system in computer education consisted of three phases. In each phase, there were three common steps; 1. examining the users’ needs, 2. designing the system, and 3 implementing the system. Furthermore, the main utility structure of the system were combined with 6 sections; 1. summarising the testing score data, 2. creating an user account, 3. subject, 4. editing testing data, 5. testing, and 6. personal information. In terms of the users’ permission in the system, it can be divided into 3 groups of user’s permission which were 1) Administrators, 2) Instructors, and 3) Students. However, as each group was set to be able to use different sections, the permission of each group were then assigned differently. 2) The computerized adaptive performance test in computer education was consisted of 5 main content areas which were 1. computer and basis principles of data communication and network (173 items), 2. Information technology and communication as well as a basic internet system (139 items), 3. the use of software in producing electronics media and the use of utility program etc. (99 items), 4. mathematics and computer (16 items) and 5. e-learning (18 items). 3) The quality of the computerized adaptive performance test in computer education with 5 main content areas was reported by several indexes. First is a discriminant index; (a) the maximum value ranging between 6.91 to 6.48, the minimum value ranging between 0.03 to 0.17 and a mean value ranging between 1.27 to 2.13. Second is the difficulty index; (b) the maximum value ranging between 2.16 to 5.62, the minimum value ranging between -3.79 to -0.97 and the mean value ranging between -0.08 to 0.76. Lastly, for a probabilities of correct guess index, (c) the maximum value ranges between 0.28 to 0.30, the minimum value is 0.00 and the mean value ranges between 0.09 to 0.14. 4) For norm score, it identified the relationship between raw score, percentile and normalised T-score which were calculated from the raw score. The norm scores from 7 sets of the test were reported. Each test was consisted of 100 items. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การพัฒนาระบบการทดสอบแบบปรับเหมาะที่ใช้คอมพิวเตอร์บนเว็บในคอมพิวเตอร์การศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF WEB-BASED COMPUTERIZED ADAPTIVE TESTING SYSTEM IN COMPUTER EDUCATION FOR UNDERGRADUATE STUDENTS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Theeravadee.T@Chula.ac.th,theeravadee@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | Nuttaporn.L@Chula.ac.th | en_US |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484206627.pdf | 9.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.