Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45492
Title: กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรไทย
Other Titles: THEORETICAL FRAMEWORK OF INTERGENERATIONAL COMMUNICATION COMPETENCE IN THAI ORGANIZATIONS
Authors: ปภัสสรา ชัยวงศ์
Advisors: รุ้ง ศรีอัษฎาพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Roong.S@Chula.ac.th,Roong.S@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรไทย ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (630 คน) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (76 คน) จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ 3 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุสูงกว่า 45 ปี (Gen B), รุ่นอายุ 30-45 ปี (Gen X) และ รุ่นอายุน้อยกว่า 30 ปี (Gen Y) ที่ทำงานในองค์กรไทยภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชนจำนวน 18 องค์กร ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรไทย อธิบายพฤติกรรมการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมการทำงานในองค์กรไทย 4 ด้าน ดังนี้ 1) การจัดลำดับความสำคัญและสมดุลในชีวิตกับการทำงาน 2) การวัดความสำเร็จในการทำงานเชิงคุณค่าและเชิงวัตถุ 3) แบบแผนในการทำงานและมารยาทการสื่อสาร และ 4) การพึ่งพาเทคโนโลยีการสื่อสาร 2. กลุ่มตัวอย่างแต่ละรุ่นอายุรับรู้ตนเองว่ามีพฤติกรรมการสื่อสารที่ที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมในการทำงานแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น กลุ่มตัวอย่าง Gen B และ Gen X เน้นการสื่อสารในเรื่องงาน การรักษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบองค์กร ในขณะที่กลุ่มตัวอย่าง Gen Y พร้อมจะเปลี่ยนงานถ้าต้องการ 3. กลุ่มตัวอย่าง Gen B และ Gen X รับรู้ว่า บุคลากร Gen Y มีพฤติกรรมการสื่อสารที่เน้นการพึ่งพาเทคโนโลยีการสื่อสาร กล่าวคือ พอใจการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์มากกว่าแบบเผชิญหน้า ในขณะที่ กลุ่มตัวอย่าง Gen Y รับรู้ว่า บุคลากร Gen B และ Gen X มีพฤติกรรมการสื่อสารที่เน้นการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนขององค์กร ความเป็นทางการ การเคารพอาวุโสและมารยาทในการสื่อสาร 4. กลุ่มตัวอย่างทุกรุ่นอายุคาดหวังให้บุคลากรต่างรุ่นมีพฤติกรรมการสื่อสารแบบเปิดใจ รับฟัง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง Gen B และ Gen X คาดหวังให้บุคลากรรุ่นอายุน้อยกว่าสื่อสารแบบต่อหน้าและสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะกับกาลเทศะ ในขณะที่ กลุ่มตัวอย่าง Gen X และ Gen Y คาดหวังให้บุคลากรรุ่นอายุมากกว่าสื่อสารความคิดเห็นใหม่ๆ เข้าใจความแตกต่าง และใส่ใจบุคลากรต่างรุ่นมากขึ้น 5. กลุ่มตัวอย่างทุกรุ่นอายุรับรู้ถึงบรรยากาศการสื่อสารในองค์กรที่เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมการสื่อสารที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารภายในองค์กรเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น และมีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารของบุคลากรรุ่นอายุเดียวกันที่ให้ความสนใจเรื่องต่างๆ ร่วมกันในองค์กร
Other Abstract: This survey study was aimed to conceptualize a theoretical framework of the intergenerational communication competence in Thai organizations. The researcher employed quantitative and qualitative research methods to collect data in this study. Questionnaire data (N=630) and additional in-depth interview data (N=76) were gathered from executives and operational employees working in eighteen large public, state enterprise and private Thai organizations. Subjects were ranged into three generation aged group, i.e. above 45 years (Gen B), 30-45 (Gen X), and below 30 (Gen Y). Results of this study revealed that: 1. The theoretical framework of intergenerational communication competence in Thai organizations asserted that communicative behaviors revolved around four areas of work-related values, i.e. 1) prioritization and work-life balance, 2) heuristic and materialistic indicatives of success, 3) working patterns and communication etiquettes, and 4) dependency on communication technology. 2. Three generation sample groups differently perceived their own communicative behaviors associated with different work-related values. For example, Gen B and Gen X subjects perceived themselves as focusing on organizational works, regulations and traditions. Gen Y subjects perceived themselves as being ready for job change if desired. 3. Subjects also differently perceived other generation’s communicative behaviors associated with different work-related values. For example, Gen B and Gen X subjects perceived that Gen Y possessed high level of dependency on communication technology, whereas Gen Y subjects perceived that Gen B and Gen X preferred to follow organizational patterns and possessed high formality, seniority and courtesy in communication. 4. Each of the three generation sample groups expected all generations to communicate openly, listen attentively, and be supportive to one another. Moreover, Gen B and Gen X subjects expected younger employees to be able to communicate through face-to-face and mediated channels effectively and appropriately. Gen X and Gen Y subjects expected older employees to express new ideas, understand differences among three generations, and show caring behaviors towards younger generations. 5. With respect to the organizational communication outcomes, all three generation sample groups perceived that employees at all level showed respects to one another, promoted the use of communication technology to enhance work effectiveness, and developed communication networks of the same-generation employees who had mutual interests in their organization.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45492
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5485102128.pdf12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.