Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4551
Title: เครื่องหมายพันธุกรรมของข้าวทนเค็มที่คัดเลือกจากการเลี้ยงเนื้อเยื่อ
Other Titles: Genetic marker of salt tolerant rice selected from tissue culture
Authors: วิจิตรา สมรรคนัฏ
Advisors: มนทกานติ วัชราภัย
ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
cpiyasak@infonews.co.th
Subjects: ข้าว
เครื่องหมายพันธุกรรม
พืชทนเค็ม
แคลลัส
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การชักนำแคลลัสของข้าว (Oryza sativa L.) พันธุ์กข 23 จากการเลี้ยงเอ็มบริโอที่เจริญเต็มที่บนอาหารที่ต่างกันห้าสูตร สูตรของสุดารัตน์ นิติวัฒนะ (2538) เป็นสูตรที่ถูกนำมาใช้เพื่อการศึกษาต่อไป โดยได้ embryogenic callus ทั้งหมดและแคลลัสที่ได้มีขนาดใหญ่กว่าสูตรอื่น การศึกษาเครื่องหมายพันธุกรรมของข้าวทนเค็มเลือกใช้สายพันธุ์ทนเค็ม (กข23TC7 และกข23TC28) ที่คัดเลือกมาจาก somaclone การศึกษานี้ใช้เทคนิค DAF และ RAPD โดยมีไพรเมอร์ UBC และ CU ตามลำดับ ผลคือ UBC457 (CGACGCCCTG) ให้แถบดีเอ็นเอหนึ่งแถบในข้าวกข23TC7 ที่ต่างจากสายพันธุ์หลัก ซึ่งเมื่อใช้ไพรเมอร์ CU2 (CCACAGCAGT) ได้หนึ่งแถบเช่นกัน ในทางตรงข้ามเมื่อใช้ไพรเมอร์ CU1 (GTTTCGCTCC) พบแถบดีเอ็นเอทั้งในข้าวกข23TC7 และ กข23TC28 แต่ไม่พบในสายพันธุ์หลัก และเมื่อใช้ไพรเมอร์ CU กับลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ทนเค็มและสายพันธุ์หลัก พบแถบดีเอ็นเอเป้าหมายบ้างบางต้น ดังนั้นแถบดีเอ็นเอเป้าหมายนี้น่าจะใช้เป็นเครื่องหมายพันธุกรรมบ่งบอกความสามารถในการทนเค็มของข้าวกข23 ได้
Other Abstract: Calli of rice (Oryza sativa L.) cv. RD23 were obtained from mature embryos by culturing mature embryos on five different media. Only Nitiwatana medium (1995) was selected for futher experiments. All calli obtained from this medium were of embryogenic type and bigger than other media. The studies on genetic markers for salt tolerant was carried out using selected salt tolerant lines (RD23TC7 and RD23TC28) obtained from somaclones. These were done by using DAF and RAPD techniques with UBC and CU primers respectively. The results obtained when using UBC 457 (CGACGCCCTG) showed one DNA band in RD23TC7 which differed from the original line, this also obtained when using CU2 (CCACAGCAGT) primer on the same line. On the contrary. when using CU1 (GTTTCGCTCC) primer the band appeared on both RD23TC7 and RD23TC28 but not original line. When using the CU primers, the target DNA band on some of the offspring between may be used as genetic marker for salt tolerant rice lines
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4551
ISBN: 9741313225
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
VijittraSam.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.