Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45514
Title: การสลายฮาโลแอซิโตไนไตรล์ในน้ำด้วยแสงอัลตราไวโอเลตร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
Other Titles: Degradation of Haloacetonitriles in water by Ultraviolet Irradiation combined with Hydrogenperoxide
Authors: เกียรติศักดิ์ นักบุญ
Advisors: อรอนงค์ ลาภปริสุทธิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Onanong.L@chula.ac.th,onny80@gmail.com
Subjects: น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- รังสีเหนือม่วง
อะซิโตไนไทรล์
โฟโตเคมี
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
Water -- Purification -- Ultraviolet treatment
Acetonitrile
Photochemistry
Hydrogen peroxide
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ฮาโลแอซิโตไนไตรล์ (HANs) เป็นสารผลิตภัณฑ์พลอยได้ (DBPs) ที่เกิดขึ้นจากปฎิกิริยาระหว่างคลอรีนหรือโบรมีนกับสารอินทรีย์ธรรมชาติในน้ำ มักเกิดขึ้นในกระบวนการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ โดย HANs เป็นสารที่เป็นพิษต่อมนุษย์และธรรมชาติ องค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่าเป็นสารก่อมะเร็งระดับซี ดังนั้นจึงควรมีการกำจัดออกจากน้ำดื่มและน้ำเสียก่อนปล่อยออกไปสู่สิ่งแวดล้อม ในงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาการสลายฮาโลแอซิโตไนไตรล์ 3 ชนิด ได้แก่ โมโนคลอโรแอซิโตไนไตรล์ (MCAN) ไดคลอโรแอซิโตไนไตรล์ (DCAN) และ ไตรคลอโรแอซิโตไนไตรล์ (TCAN) ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 100 µg/Lด้วยแสงอัลตราไวโอเลตชนิดซี (UV-C) และชนิดสุญญากาศ (VUV) กำลัง 15 watt ทำการวิเคราะห์ความเข้มข้นด้วย Modified EPA method 551.1 โดยใช้เทคนิคก๊าซโครมาโตรกราฟ (GC) พบว่า หลังจากระยะเวลา 90 min VUV สามารถสลาย MCAN DCAN และ TCAN ได้ร้อยละ 4.62, 70.21 และมากกว่า 99.90 ตามลำดับ แต่ UV-C สามารถสลายได้เพียง TCAN ร้อยละ 16.54 ทั้งนี้ในการสลาย HANs ผสมก็ให้ผลใกล้เคียงกัน เมื่อศึกษากลไกการสลายด้วยการเติมเทอร์เชียรี่ บิวทิล แอลกอฮอล์ (TBA) เป็นตัวขัดขวางการเกิดปฏิกริยาออกซิเดชันกับอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล โดยเลือกDCAN และ HANs ผสมเป็นตัวแทนในการศึกษาการสลายของ UV-C และ VUV พบว่าเมื่อเติม TBA ก็ได้ค่าคงที่ปฎิกิริยาใกล้เคียงกันเดิม ทั้ง UV-C และ VUV ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่ากลไกหลักคือการสลายด้วยแสงโดยตรง (Direct photolysis) จึงทำการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการสลายด้วยการเติมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ที่ 5, 10 และ 20 mg/L พบว่า การสลาย DCAN ด้วย VUV/H2O2 ที่ความเข้มข้น H2O2 20 mg/L ทำให้การสลายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 96.57 และค่าคงที่ปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเป็น 0.0452 m-1แต่ UV-C/H2O2 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับผลการทดลองการหาปริมาณการเกิดอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลด้วยการทำปฏิกิริยากับกรดพาราคลอโรเบนโซอิค (pCBA) 5 µM โดย UV-C/H2O2 ให้ปริมาณอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลที่เกิดขึ้นช่วง 3.60x10-13 ถึง 6.00x10-13 M•min/L และ VUV/H2O2 อยู่ในช่วง 6.95x10-12 ถึง 1.34x10-11 M•min/L ซึ่งเกิดอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลที่ใช้ในการสลายมากกว่า
Other Abstract: Haloacetonitriles (HANs) are disinfection by-products (DBPs) formed by reactions between chlorine or bromine and natural organic matter (NOM) in water. HANs are toxic to human and the environment. World Health Organization reports that some haloacetronitriles are type C carcinogen. Therefore, they have to be removed from drinking water and wastewater before release into the environment. In this research, degradation of monochlorocetonitrile (MCAN), dichloroacetonitrile (DCAN) and trichloroacetonitrile (TCAN) were investigated. Synthetic wastewater at 100 µg/L initial concentration was treated by ultraviolet-C (UV-C) and vacuum ultraviolet (VUV) at 15 watts. HANs was analyzed by Modified EPA method 551.1 using GC. The experimental results showed that VUV could degrade MCAN, DCAN and TCAN for 4.61%, 70.28% and more than 99.90%, respectively after 90 minute irradiation. On the other hand, UV-C could degrade only 16.54% of TCAN. The results of Mix-HANs degradation were similar to those of individual HANs. To study the main mechanism, tert–Butyl Alcohol (TBA) was added as a radical scavenger in the degradation of DCAN and mixed-HANs. It was found that the k values with and without addition of TBA were similar, so it might be concluded that the main mechanism was direct photolysis. To increase oxidation efficiency, hydrogen peroxide (H2O2) was added at 5, 10 and 20 mg/L. It was found that the addition of 20 mg/L H2O2 with VUV irradiation enhanced the DCAN degradation to 96.57% and followed first order reaction at k = 0.0452 min-1. However, no improvement was observed in UV-C/H2O2. These were comparable to the results of OH• generation by using pCBA as a chemical probe. The generated OH• by VUV/H2O2 were 6.95x10-12 to 1.34x10-11 M•min/L which was more than that generated by UV-C/H2O2 that was 3.60x10-13 to 6.00x10-13 M•min/L.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45514
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.959
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.959
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570131921.pdf6.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.