Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45521
Title: การกำจัดปรอทและสารหนูในน้ำปนเปื้อนจากคอนเดนเสทโดยใช้มอดูลเส้นใยกลวงแบบสัมผัส
Other Titles: DISPOSE OF MERCURY AND ARSENIC IN PRODUCED WATER FROM CONDENSATE BY HOLLOW FIBER CONTACTOR MODULES
Authors: ดลภพ ศรีบุดดา
Advisors: อุรา ปานเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Ura.P@Chula.ac.th,ura.p@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดไอออนเมอร์คิวรี(II) และอาร์เซนิก(V) จากน้ำทิ้งจากกระบวนการคอนเดนเสทโดยใช้ระบบมอดูลเส้นใยกลวงแบบสัมผัส โดยมอดูลเส้นใยกลวงแบบสัมผัสประกอบมอดูลเส้นใยกลวงสองมอดูล มอดูลแรกใช้สำหรับปฏิกิริยาการสกัดและมอดูลที่สองใช้สำหรับปฏิกิริยาการนำกลับ สารละลายป้อนคือน้ำที่ปนเปื้อนมาจากกระบวนการผลิตคอนเดนเสท สารสกัดที่ใช้เป็นสารสกัดชนิดเบสคืออะลิควอตซ์สามสามหก (Aliquat336) สารละลายนำกลับที่เลือกใช้คือคือสารละลายชนิดเบส ได้แก่ ไทโอยูเรีย, โซเดียมไฮดรอกไซด์และโซเดียมไทโอซัลเฟส นอกจากนี้ยังมีน้ำกลั่นและสารละลายกรดไนตริก ที่สภาวะที่เหมาะสมที่สุดคือความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริกในสารละลายป้อน 0.02 โมลาร์, ความเข้มข้นของอะลิควอตซ์สามสามหกละลายในตัวทำละลายเคโรซีน 14 เปอร์เซ็นต์ต่อปริมาตร สารละลายนำกลับไทโอยูเรียความเข้มข้น 0.07 โมลาร์ละลายในกรดไฮโดรคลอริก 0.01 โมลาร์และอัตราการไหลของสารละลายป้อนและนำกลับ 100 มิลลิลิตรต่อนาที โดยสภาวะดังกล่าวให้เปอร์เซ็นต์การสกัดและนำกลับไอออนเมอร์คิวรี(II) คือ 100 เปอร์เซ็นต์และ 47.88 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่เปอร์เซ็นต์การสกัดและนำกลับไอออนอาร์เซนิก(V) คือ 78.88 เปอร์เซ็นต์และ 6.66 เปอร์เซ็นต์ การสกัดไอออนเมอร์คิวรี(II) ด้วยสารสกัดอะลิควอตซ์สามสามหกเป็นปฏิกิริยาอันดับที่หนึ่งและการสกัดไอออนอาร์เซนิก(V) เป็นปฏิกิริยาอันดับดับที่สอง ในส่วนของการคำนวณสัมประสิทธิ์การถ่ายเทมวลพบว่าสัมประสิทธ์การถ่ายเทมวลในชั้นเปลือกมีผลต่อสัมประสิทธิ์การถ่ายเทมวลรวมมากที่สุด สัมประสิทธิ์การถ่ายเทมวลในชั้นท่อมีผลต่อต่อสัมประสิทธิ์การถ่ายเทมวลรวมน้อยที่สุด โดยค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทมวลรวมของปฏิกิริยาการสกัดไอออนเมอร์คิวรี(II) และอาร์เซนิก (V) คือ 3.34 × 10-6 และ 2.33 × 10-6 เมตรต่อวินาที แสดงถึงการสกัดไอออนเมอร์คิวรี(II) โดยอะลิควอตซ์สามสามหกมากกว่าการสกัดไอออนอาร์เซนิก(V)
Other Abstract: The separation of Hg(II) and As(V) from produced water in condensate process by hollow fiber contactors was investigated. It consisted of two identical hollow fiber modules. The first module was used for extraction reaction and the second module was used for stripping reaction. The feed solution was produced water. The extractant used was Aliquat336. The stripping solution was thiourea, sodium hydroxide, sodium thiosulfate, DI water and nitric acid. The optimum condition achieved were 0.02 M of HCl in feed solution, 14% (v/v) of Aliqaut336 dissolved in kerosene, 0.07 M of thiourea dissolved in hydrochloric acid 0.01 M and volumetric flow rate of 100 ml/min for aqueous solution. At such condition, the maximum extraction of Hg(II) and As(V) attained 100% and 47.88%, respectively. Concurrently, the maximum stripping of Hg(II) and As(V) reached 78.88% and 6.66%, respectively. The reaction order of Hg(II) by Aliquat336 carrier was first order and As(V) was the second order. Mass transfer coefficients of the organic layer diffusion (k0) had the most effect on overall mass transfer coefficients. Mass transfer coefficient of the aqueous solution had a little effect to overall mass transfer coefficient. The overall mass transfer of extraction Hg(II) and As(V) were 3.34 × 10-6 and 2.33 × 10-6 m/s, respectively. This indicated that the extraction of Hg(II) by Aliquat336 carrier higher than As(V).
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45521
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570198021.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.