Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45531
Title: | การวิเคราะห์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทางและขนส่งที่เกิดจากกิจกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | ANALYSIS OF GREENHOUSE GAS EMISSION FROM TRAVEL AND TRANSPORTATION RESULTING FROM CHULALONGKORN UNIVERSITY ACTIVITIES |
Authors: | ยุคันต์ทิวัตถ์ กมลาสน์กุล |
Advisors: | เกษม ชูจารุกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | ckasem2@chula.ac.th,kasemchoo@gmail.com |
Subjects: | ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก Greenhouse gas mitigation Greenhouse gases |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สาเหตุส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมด้านการขนส่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการเดินทางและขนส่งภายในมหาวิทยาลัย โดยอาศัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นกรณีศึกษา งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้หลักการของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการเดินทางและขนส่งโดยจะได้ผลลัพธ์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2eq) ในงานวิจัยนี้จะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 จะทำการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย กลุ่มเป้าหมายในส่วนนี้ได้แก่ บุคลากรที่เดินทางในมหาวิทยาลัยด้วยรถยนต์ส่วนตัวเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจข้อมูลจุดเริ่มต้น-จุดปลายทางในมหาวิทยาลัย ควบคู่กับการสำรวจทะเบียนรถเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณของกิจกรรมการเดินทางในพื้นที่มหาวิทยาลัย และได้ทำการวิเคราะห์กิจกรรมการให้บริการของยานพาหนะของมหาวิทยาลัยเพื่อหาปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ ซึ่งเมื่อประมวลผลลัพธ์ร่วมกับค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะทำให้สามารถประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ส่วนที่ 2 จะทำการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเดินทางไป-กลับระหว่างที่พักและสถานศึกษาของบุคลากรของมหาวิทยาลัย ในการศึกษาส่วนนี้ได้แบ่งประเภทของบุคลากรตามพฤติกรรมการเดินทางออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มนิสิตปริญญาตรี กลุ่มนิสิตปริญญาโท/เอก กลุ่มอาจารย์/เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย และได้ทำการสำรวจข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามจำนวนสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างเพื่อหาสัดส่วนรูปแบบการเดินทาง และค่าเฉลี่ยของจำนวนเที่ยวการเดินทางใน 1 สัปดาห์ ระยะทางสำหรับแต่ละรูปแบบการเดินทางเพื่อนำมาวิเคราะห์หาข้อมูลกิจกรรมการเดินทางที่เกิดขึ้นใน 1 สัปดาห์แล้วนำมาแปลงค่าด้วยจำนวนสัปดาห์ตามสมมติฐานเมื่อประมวลผลลัพธ์ร่วมกับค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะทำให้สามารถประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ จากการศึกษาพบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมการเดินทางและขนส่งที่ใช้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นกรณีศึกษามีปริมาณเท่ากับ 10,675.40 Tons-CO2eq โดยเกิดจากส่วนที่ 1 เท่ากับ 984.40 Tons-CO2eq จากส่วนที่ 2 เท่ากับ 9,691 Tons-CO2eq ผลของการศึกษางานวิจัยในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถบริหารและวางแผนเพื่อให้เกิดการเดินทางและขนส่งที่ยั่งยืนต่อไป |
Other Abstract: | One of the reasons for global warming is the greenhouse gas emission from transportation activities. This research aims to evaluate CO2emission from travelers’ behavior within the university using the principle of carbon footprint. The result is shown in carbon dioxide equivalence. Chulalongkorn University was taken as a case study. The case study was separated into 2 sections. The first section was to evaluate CO2emission within the university. The main target group of this part was travelers who use personal cars. Data was collected by means of origin-destination surveys and license plate surveys in order to estimate the amount of travel activities. Along with the data of the university’s vehicles servicing to calculate used fuels within the campus. The second section was to evaluate CO2emission from transportation activities between home and the university (round-trip) of the university’s members, which were divided into 3 groups : undergraduate students, postgraduate students and PhD, and lecturers and staffs. Data was collected by interviewing a sample in order to determine the proportion of traveling patterns, distances of each patterns and average trips in each week. Considering the result from both parts together with the coefficients of greenhouse gas emission, CO2 volume can be estimated. From this case study, there were greenhouse gas emission 10,675.40 Tons-CO2eq in total, of which 984.40 Tons-CO2eq from section 1 calculate and 9,691 Tons-CO2eq from section 2. Research results could help university to better manage and plan for sustainable transportation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45531 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.967 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.967 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570339121.pdf | 5.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.