Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45543
Title: โครงข่ายเข้าถึงเส้นใยแสงแบบยืดหยุ่นที่ใช้สัญญาณซูเปอร์ชาแนลโอเอฟดีเอ็มทางแสงแบบโคฮีเรนต์
Other Titles: A FLEXIBLE FIBER ACCESS NETWORK USING SUPERCHANNEL COHERENT OPTICAL ORTHOGONAL FREQUENCY DIVISION MULTIPLEXING SIGNAL
Authors: ภัสสรา วิจารณ์สถิตย์
Advisors: พสุ แก้วปลั่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pasu.K@Chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง
การประมวลสัญญาณดิจิทัล
การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น
โมดูเลชัน
Optical fiber communication
Signal processing -- Digital techniques
Wavelength division multiplexing
Modulation (Electronics)
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันมีความต้องการใช้แบนด์วิดท์จากผู้ใช้บริการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อรองรับการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่างๆ เช่น การตรวจรักษาโรคผ่านทางไกล (telemedicine) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการติดต่อสื่อสารที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน การส่งข้อมูลในปริมาณมากแต่มีแบนด์วิดท์จำกัด จึงต้องออกแบบให้แต่ละช่องสัญญาณมีความห่างกันน้อยที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการอัตราข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ในวิทยานิพนธ์นี้ได้ศึกษาการส่งผ่านสัญญาณโอเอฟดีเอ็มทางแสงแบบโคฮีเรนต์ ทำงานร่วมกับ self-coherent detection และสวิตซ์แบบเลือกความยาวคลื่น WSS สามารถจัดสรรความยาวคลื่นไปยังผู้ใช้บริการแต่ละรายที่มีความต้องการอัตราข้อมูลที่แตกต่างกัน ซึ่งมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อสมรรถนะความสามารถของการส่งผ่านสัญญาณ CO-OFDM บน fiber access network จากผลการศึกษาของระบบ CO-OFDM ทำงานร่วมกับ self-coherent detection และ WSS บนช่วงความยาวคลื่น c band ซึ่ง WSS แต่ละประเภทมีผลของ switching characteristic แตกต่างกัน จึงเลือกศึกษาทั้งหมด 4 ประเภท พบว่าระบบสามารถส่งผ่านสัญญาณด้วยอัตราข้อมูลสูงสุด 1 Tbps มีระยะทางในการส่งสัญญาณได้ไกล 50.1 กิโลเมตร ซึ่งมีสมรรถนะสูงกว่ามาตรฐาน NG-PON2 (ITU-T G.989.1) เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน การส่งสัญญาณผ่าน SMF จะเกิดความผิดเพี้ยนของสัญญาณและการลดทอนสัญญาณ ทำให้ได้รับสัญญาณผิดพลาด จึงนำเทคโนโลยี DSP มาใช้เพื่อที่จะแก้ไขความผิดเพี้ยนของสัญญาณ ดังนั้นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบ CO-OFDM บนช่วงความยาวคลื่น c band คือ การลดทอนกำลังของสัญญาณ นอกจากนี้ตัวแปรสำคัญส่งผลต่อประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณ CO-OFDM ของระบบนี้ คือ จำนวน symbol จำนวนบิตที่ส่ง และจำนวนคลื่นพาห์ย่อย เมื่อเพิ่มจำนวนคลื่นพาห์ย่อยให้มากขึ้น จะส่งผลให้จำนวน symbol ที่ส่งสัญญาณได้น้อยลง ซึ่งการเพิ่มจำนวนคลื่นพาห์ย่อยให้มากขึ้นส่งผลให้ความยาวของสัญลักษณ์ CO-OFDM เพิ่มมากขึ้น สามารถสรุปเป็นแนวทางในการออกแบบจำนวน symbol และการเลือกส่งสัญญาณบนความยาวคลื่นที่มีอัตราการลดทอนกำลังสัญญาณต่ำ ทำให้ระบบมีสมรรถนะสูงในการส่งสัญญาณ
Other Abstract: At present, communication technology has more bandwidth demand and the advance of technology for higher efficiency to support any application. For example, the telemedicine, it is another one of communication technology. The data for with high quality and limited of bandwidth, so, we have to design signal to have very close channel for increasing the data rate. In this thesis, we studied a CO-OFDM signal transmission using the self-coherent detection cooperated with the WSS. WSS is able to allocate the wavelength to each subscriber with difference of data rate. This thesis analyzes about the important factor which affects to the CO-OFDM signal on fiber access network. In the research, we studied 4 types of WSS which have the difference of switching characteristics. We found that the system can transfer the signal which is 1 Tbps. The maximum data rate for the farthest distance is 50.1 km. The performance is higher than the standard of NG-PON2 (ITU-T G.989.1) which is used in nowadays. The transmission of the signal which transfers through the SMF caused the dispersion and attenuation occurs. So, we will be received error data. On the other hand, we can get rid of the dispersion by using DSP. As the result, the main factor that affect to the performance of CO-OFDM over c band is attenuation. Moreover, the important parameters which affect to the performance of the transmittal signal are the number of symbol, sequence length, and the number of subcarriers. If the number of subcarriers is increased, the number of symbols will decrease and make the length of CO-OFDM symbol increase. Thus, we can summarize to be a guide to create the number of symbol and how to select the transmittal signal on the wavelength which has low attenuation. Therefore, the performance of signal is high efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45543
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.978
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.978
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570556021.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.