Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45572
Title: นวัตกรรมเรือนแพชุมชนต้นแบบ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: ARCHITECTURAL PROTOTYPE OF INNOVATIVE FLOATING SALA IN TAMBON BANPOH, AMPHOE SENA, PHRANAKHON SRI AYUTTHAYA
Authors: ศุภรรัตน์ วณิชย์มณีบุษย์
Advisors: เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Terdsak.T@Chula.ac.th,terdsak@gmail.com
Subjects: ไม้ไผ่
สถาปัตยกรรม -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา -- เสนา
สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา -- เสนา
น้ำหนักจร
น้ำหนัก (ฟิสิกส์)
บ้าน -- น้ำหนัก
การเคลื่อนที่ (กลศาสตร์)
เรือนแพ
Bamboo
Architecture -- Thailand -- Phra Nakhon Si Ayutthaya -- Sena
Architecture, Domestic -- Thailand -- Phra Nakhon Si Ayutthaya -- Sena
Live loads
Weight (Physics)
Home -- Weight
Motion
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เรือนแพเป็นมรดกภูมิปัญญาทางสถาปัตยกรรมในด้านการก่อสร้างที่อยู่อาศัยบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงของไทย ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงศักยภาพของเรือนแพที่จะสามารถพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมสะเทินน้ำสะเทินบกได้ จึงได้ทำการศึกษาร่วมกับหน่วยงาน อบต.บ้านโพธิ์ ตำบลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการก่อสร้างเรือนแพเพื่อใช้สำหรับสาธารณะประโยชน์ของชุมชน และเป็นต้นแบบอาคารหนีน้ำสำหรับพื้นที่บริเวณโดยรอบ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเด็นสำคัญที่ได้จากการศึกษากระบวนการก่อสร้าง และเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลแนวทางการปรับปรุงเรือนแพต้นแบบ โดยบูรณาการองค์ความรู้ด้านลักษณะทางกายภาพของเรือนแพทรงไทย และเทคนิคการก่อสร้างในยุคสมัยปัจจุบัน เพื่อออกแบบ และทดลองก่อสร้าง ตลอดจนประเมินผลหลังการก่อสร้างอาคารเรือนแพต้นแบบ สำหรับชุมชนบ้านโพธิ์ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยประยุกต์ใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักของอาคาร ควบคู่ไปกับการทดลองใช้โฟม EPS เป็นทุ่นลอย ซึ่งถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมการก่อสร้างเรือนแพที่ยังไม่ปรากฏการศึกษาใดได้ทำการทดลองและก่อสร้างจริง จากการศึกษาพบว่าระบบโครงสร้างคานแพคือองค์ประกอบหลัก ที่ทำหน้าที่กระจายแรงจากส่วนอาคารให้ลงสู่ทุ่นลอยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยรักษาสมดุลการลอยตัวของอาคาร โดยองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปต่อยอดงานออกแบบ และพัฒนาศักยภาพโครงสร้างอาคารในรูปแบบของนวัตกรรมการก่อสร้างเรือนสะเทินน้ำสะเทินบกต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงสายน้ำของผู้คนในพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ ตามลักษณะภูมิประเทศ ในกระบวนการก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริงนั้นมีเงื่อนไขและข้อจำกัดบางประการ จึงเกิดการคลาดเคลื่อนในบางขั้นตอนของแผนที่คาดการณ์ไว้ แต่อย่างไรก็ตามอาคารเรือนแพชุมชนต้นแบบที่สร้างเสร็จแล้วมีลักษณะโครงสร้างอาคาร และเสถียรภาพในการลอยที่สามารถรองรับการใช้งานจริงได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากมีการก่อสร้างในโอกาสต่อไปควรปรับใช้ระบบการประสานโครงสร้างคานแพอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้เกิดการกระจายแรงอย่างสมบูรณ์
Other Abstract: Floating house is an architectural intellectual heritage of habitat construction in floodplain area of Thailand which is inherited since the Ayutthaya era. Due to its potential to develop floating house into Amphibian Architecture, researcher coordinates with Subdistrict Administrative Organization of Tambon Banpoh, Amphoe Sena, Phranakhon Sri Ayutthaya to construct floating Sala for public use and to be an architectural prototype for surrounding area. The purpose of this thesis is to analyze the constructing process and find the way to develop the prototype by integrating Thai traditional floating house structure and modern construction technique in order to design, build and evaluate the prototype of floating Sala after the construction is completed. Bamboos are key materials for a structure combined with Expanded Polystyrene Foam (EPS) which is used as buoy. This is an innovative floating Sala which has never been experimented and constructed before. According to the study, unique beam structure is the main component to evenly distribute loads from a building to buoy in order to balance floating. There are some constraints during construction process resulting in variance from plan. However, building structure and floating stability of the prototype is applicable for using. Researcher recommends adopting complete beam grid structure to improve load distribution for further construction.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45572
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.985
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.985
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573376925.pdf18.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.