Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45591
Title: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้การจัดการอุปสรรคต่อความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี |
Other Titles: | THE EFFECT OF PROMOTING PERCEIVED BENEFITS AND PERCEIVED BARRIERSPROGRAM TO MEDICATION ADHERENCE IN MYOCARDIAL INFARCTION PATIENTS AFTER UNDERWENT PERCUTANEOUS CORONARY INTERVENTION |
Authors: | ธาวินี ช่วยแท่น |
Advisors: | นรลักขณ์ เอื้อกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Noraluk.U@Chula.ac.th |
Subjects: | กล้ามเนื้อหัวใจ -- โรค กล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วย -- ความร่วมมือในการรักษา Myocardium -- Diseases Myocardial infarction Patient compliance |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้การจัดการอุปสรรคต่อความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี เข้ารับบริการที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 22 คน ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้การจัดการอุปสรรค ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Becker, 1974) ใช้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของความร่วมมือในการรับประทานยาโรคหัวใจ และแบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของความร่วมมือในการรับประทานยาโรคหัวใจ แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85 .91 และ .83 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารีกลุ่มทดลอง ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้การจัดการอุปสรรคสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้การจัดการอุปสรรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้การจัดการอุปสรรคสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of promoting perceived benefits and perceived barriers program for medication adherence in patients with myocardial infarction after underwent percutaneous coronary intervention. Patients with myocardial infarction after underwent percutaneous coronary intervention, who were admitted in internal medicine wards of Songklanagarind hospital, were selected (a purposive sampling). Eligible patients were arranged to a control (n=22) and experimental (n=22) groups. The groups were matched by age, sex and educational level. The control group received conventional nursing care while the experimental group received a 5-week of promoting perceived benefits and perceived barriers program based on the Health Belief Model (Becker, 1974). Research instruments were comprised of demographic information, medication adherence, perceived benefits, and perceived barriers questionnaires. All questionnaires were validated for content validities by 5 experts. The Cronbach’s alpha were .85, .91, and .83, respectively. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and t-test. The results revealed that: 1. The mean score of medication adherence, after received the promoting perceived benefits and perceived barriers program, was significantly higher than that before receiving the program at the statistical level of .05. 2. The mean score of medication adherence, after received the promoting perceived benefits and perceived barriers program in the experimental group, was significantly higher than that of the control group who received only the conventional nursing care at the statistical level of .05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45591 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.991 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.991 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5577171236.pdf | 8.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.