Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45599
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ กาญจนกิจen_US
dc.contributor.advisorโสมฤทัย สุนธยาธรen_US
dc.contributor.authorกฤติกา สายณะรัตร์ชัยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:03:31Z-
dc.date.available2015-09-17T04:03:31Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45599-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว โดยได้ดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจของที่ระลึก 2. ศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ พฤติกรรมนักท่องเที่ยว และการจัดการธุรกิจของที่ระลึกจากนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ 3. ขั้นร่างรูปแบบการจัดการธุรกิจของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว และ 4. ขั้นยืนยันรูปแบบการจัดการธุรกิจของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวโดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ประกอบการธุรกิจของที่ระลึก ได้ผลการวิจัยดังนี้ รูปแบบการจัดการธุรกิจของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในด้านการวางแผนธุรกิจ การจัดองค์กรธุรกิจ และการบริหารจัดการธุรกิจ ทั้งในด้านบุคลากร ด้านการเงิน ด้านวัตถุดิบ และด้านส่วนประสมทางการตลาด ซึ่งมีกระบวนการ ดังนี้ 1. การวางแผนธุรกิจในด้านบุคลากรให้ตรงกับภาระหน้าที่ และเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ การวางแผนธุรกิจในด้านการเงินให้เพียงพอต่อการสั่งซื้อวัตถุดิบ การจ่ายค่าตอบแทนให้บุคลากร และการดำเนินธุรกิจ การวางแผนธุรกิจในด้านวัตถุดิบ การสั่งซื้อ การเก็บสำรอง และตรวจสอบวัตถุดิบสม่ำเสมอ เพื่อให้เพียงพอต่อกระบวนการผลิต และการดำเนินธุรกิจ และวางแผนธุรกิจในด้านส่วนประสมทางการตลาดทั้งการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางและสถานที่จัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับของที่ระลึก 2. การจัดองค์กรธุรกิจ และการบริหารจัดการธุรกิจในด้านบุคลากร ด้านการเงิน ด้านวัตถุดิบ และด้านส่วนประสมทางการตลาดให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่ได้วางเอาไว้ และทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ดังต่อไปนี้ 2.1 ด้านบุคลากร ผู้ประกอบการธุรกิจทำการคัดเลือกบุคลากร สอนงาน กำหนดภาระหน้าที่ และมอบหมายงานได้ตรงตามความเชี่ยวชาญของบุคลากร มีการสั่งการ การประสานงานที่ดี ควบคุมดูแลการดำเนินงาน ให้การดูแลเอาใจใส่บุคลากรเสมือนบุคคลในครอบครัว และเปิดโอกาสให้บุคลากรในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อช่วยในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับบุคลากร 2.2 ด้านการเงิน ผู้ประกอบการธุรกิจจัดหา จัดเตรียมและจัดสรรเงินที่ดีเพื่อให้เพียงพอในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคลากร การสั่งซื้อและเก็บสำรองวัตถุดิบ และเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ 2.3 ด้านวัตถุดิบ ผู้ประกอบการธุรกิจจัดหา สั่งซื้อ เก็บสำรอง ตรวจสอบคุณภาพและปริมาณวัตถุดิบอย่างสม่ำเสมอ ประสานงานกับองค์กรที่จัดหาวัตถุดิบให้ และจัดสรรวัตถุดิบที่ดีเพื่อให้เพียงพอต่อการผลิต และการดำเนินธุรกิจ 2.4 ด้านส่วนประสมทางการตลาด ผู้ประกอบการธุรกิจประยุกต์ใช้ส่วนประสมทางการตลาดทั้งการออกแบบ พัฒนาของที่ระลึกให้มีความสวยงาม มีคุณภาพ มีความคุ้มค่าราคา สะดวกสบายในการซื้อ และทำการส่งเสริมการตลาดทั้งการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ ส่งเสริมการขาย มีบริการที่ดี เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับของที่ระลึก เพื่อดึงดูดใจ สร้างความพึงพอใจ และตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว รูปแบบการจัดการธุรกิจของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวรูปแบบนี้ใช้สำหรับเป็นคู่มือให้กับผู้ประกอบการธุรกิจของที่ระลึกขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือผู้ที่สนใจประกอบการธุรกิจของที่ระลึกรายใหม่ให้สามารถตอบสนองความต้องการให้กับนักท่องเที่ยวen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to develop the souvenir business management model for tourists. Methodology was divided into 4 stages: 1. To review a literature about the development of souvenir business management model for tourists 2. To study states and problems, needs, behaviors and opinions on souvenir business management from tourists and souvenir business owners 3. To write a draft of souvenir business management model for the tourists and 4. To approve souvenir business management model for tourists by using focus group technique of souvenir specialists and souvenir business owners. Results were as follows: Souvenir business management model for tourists could be related to planning, organizing and managing of man, money, material and marketing mix. The process was described as follows: 1. The souvenir business owners plan human resource allocation and employees’ sufficiency in order to operate the business. They budget money planning in order to be sufficient to buy materials, to pay wages for their employees, and to operate the business. Moreover, they manage materials in order to be sufficient to produce souvenirs and to operate the business. Finally, they also utilize the marketing mix for product, price, place, and promotion to increase souvenir’s value. 2. The souvenir business owners have to organize and manage a new model: man, money, material, and marketing mix to achieve the key essences for business success. 2.1 The souvenir business owners recruit the employees, give training, assign task, and allocate the tasks based on expertise. They direct and coordinate in order to communicate efficiently. Moreover, they emphasize on taking care of employees as people in their family. They also emphasize on the participation of local employees in their business as it would help create more jobs and revenue to the local people. 2.2 The souvenir business owners provide and reserve money in order to be sufficient to pay wages for their employees, to buy and stock materials, and to operate the business systematically. 2.3 The souvenir business owners buy the proper stock materials, control the materials’ quality, and coordinate with suppliers in order to be sufficient to produce souvenirs and to operate the business. 2.4 The souvenir business owners apply marketing mix in terms of designing and developing the attractive, high quality, valuable, and conveniently accessible souvenirs. In addition, they launch the public relation by using the internet and social media, and offer attractive sales promotions and good service in order to add value, attract tourists and to respond to the tourist’s needs. This model will be a useful guidance for small and medium souvenir business and new entrepreneurs who are interested in souvenir business to response to the tourist’s needs.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.8-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการตลาด-
dc.subjectของที่ระลึก -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค-
dc.subjectนักท่องเที่ยว-
dc.subjectMarketing-
dc.subjectSouvenirs ‪(Keepsakes)‬ -- Thailand -- Bangkok-
dc.subjectConsumer behavior-
dc.subjectTourists-
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวen_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF SOUVENIR BUSINESS MANAGEMENT MODEL FOR TOURISTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSombat.K@Chula.ac.th,sombatkarn@hotmail.comen_US
dc.email.advisorSomruthai.S@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.8-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578601039.pdf23.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.