Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45626
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุบลวรรณ หงษ์วิทยากรen_US
dc.contributor.advisorสุรสิทธิ์ วชิรขจรen_US
dc.contributor.authorภูริวรรษ คำอ้ายกาวินen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:03:45Z-
dc.date.available2015-09-17T04:03:45Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45626-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพทักษะชีวิตและทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการเสริมสร้างการยอมรับการเป็นสมาชิกของสังคม และวิเคราะห์โครงสร้างและปฏิสัมพันธ์การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม ตลอดจนนำเสนอกลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม โดยใช้เทคนิคการรวบรวมข้อมูลทั้งปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กด้อยโอกาสได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคมในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำกว่าเด็กทั่วไป และเด็กด้อยโอกาสมีระดับทักษะชีวิตอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำและไม่แตกต่างจากเด็กทั่วไป เด็กทั่วไปถูกคาดหวังให้มีทักษะชีวิตที่สูงกว่าเด็กด้อยโอกาสโดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าที (t) เท่ากับ 2.50 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และมีทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสที่ควรได้รับการพัฒนาในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม จำนวน 8 ทักษะ ประกอบด้วย (1) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (3) ทักษะการแก้ปัญหา (4) ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (5) ทักษะการตัดสินใจ (6) ทักษะการตระหนักรู้ในตน (7) ทักษะการจัดการกับอารมณ์ และ (8) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 2) ด้านโครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยเอื้อต่อการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างมีคุณภาพมากสูงที่สุดแต่เอื้อต่อการเข้าถึงเครือข่ายทางสังคมในระดับปานกลางต่ำที่สุด ส่วนโครงสร้างสถานศึกษาเอื้อต่อการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคมในระดับมากทุกด้าน ในขณะที่ครอบครัวและภาคเอกชนยังมีปฏิสัมพันธ์ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคมในระดับค่อนข้างต่ำกว่าทุกด้านของโครงสร้าง 3) กลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคมประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 ขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม กลยุทธ์ที่ 2 บริหารจัดการสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมมาตรการป้องกันเด็กด้อยโอกาสด้วยการพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคมผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และกลยุทธ์ที่ 5 แก้ไขและฟื้นฟูเด็กด้อยโอกาสเพื่อให้มีทักษะชีวิตที่จำเป็นในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคมen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study are three folds: analyzing the current status and needs assessment of underprivileged children’s essential life skills for social inclusion, synthesizing the structure and its interaction of those essential life skills for educating the underprivileged children, and proposing educational strategies to improve the underprivileged children’s essential life skills for social inclusion. The data—quantitative and qualitative—were collected respectively through a survey questionnaire, in-depth interviews, and a focus-group interview. The result shows that the underprivileged children were accepted as social members at the medium level—lower than those of the normal ones; however, they both have somewhat medium level of essential life skills without any statistically significant differences among the two groups. Generally, the normal children were expected to have higher level of these skills as there is a difference indicated by a t = 2.50 at p = .05. The frequently mentioned skills include: critical thinking, creative thinking, problem solving, effective communication, decision making, self-awareness, coping with emotion, and interpersonal relationship. The overall structure and its interaction of educating those skills were at medium level with the highest level of governmental service accessibility, the medium level of social networking, the high level of all aspects of school internal affairs, and the somewhat low level of the interaction between family and private sectors. The educational strategies proposed are: (1) reinforce educational policy that improves underprivileged children’s essential life skills for social inclusion; (2) empower school internal affairs to embrace the underprivileged children’s essential life skills for social inclusion; (3) promote social inclusion education that embeds the essential life skills for the underprivileged children; (4) enhance protection protocols for the underprivileged children via student a care system; and (5) support correction and retrieval protocols that emphasize the underprivileged children’s essential life skills.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการนำเสนอกลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคมen_US
dc.title.alternativePROPOSED EDUCATIONAL STRATEGIES TO DEVELOP ESSENTIAL LIFE SKILLSIN SOCIAL INCLUSION PROMOTION FOR UNDERPRIVILEGED CHILDRENen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorUbonwan.H@Chula.ac.th,ubonwan.H@chula.ac.then_US
dc.email.advisoreduchetbkk@gmail.comen_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584286927.pdf10.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.