Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45633
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์en_US
dc.contributor.authorศตพล วรปัญญาตระกูลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:03:48Z
dc.date.available2015-09-17T04:03:48Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45633
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในฐานะตัวแทนของประชาชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น รัฐธรรมนูญโดยเฉพาะทุกประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน จึงมอบสิทธิเหนือกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไปโดยหลักสากลและกฎหมาย เอกสิทธิ์ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ หนึ่งประเภทเป็นเอกสิทธิเกี่ยวกับสิทธิ – เสรีภาพ คือ เป็นเอกสิทธิ์ขั้นต้นที่สมาชิกรัฐสภาต้องได้รับ ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์เกี่ยวกับความมีอิสระในการพูด และประเภทที่สอง เป็นเอกสิทธิ์ทางกฎหมาย อันเป็นเอกสิทธิ์ลำดับที่สอง โดยเกี่ยวกับการกระทำทางกายภาพของสมาชิกรัฐสภา ดังนั้น เอกสิทธิ์ทั้งสองประเภทดังกล่าว จึงนำมาสู่การมีความคุ้มกันสมาชิกรัฐสภา (Immunity) ทั้งนี้ ความคุ้มกันสมาชิกรัฐสภา หมายถึง ผลสืบเนื่องจากการมีเอกสิทธิ์ในความมีอิสระทั้งในด้านการพูด (Privilege of Freedom of Speech) และด้านการไม่ถูกจับกุม (Privilege of Freedom from Arrested) โดยความคุ้มกันจะมีผลก็ต่อเมื่อมีการกระทำที่อาจละเมิดต่อบุคคลอื่นทั้งในแง่ของการพูด หรือการกระทำทางกายภาพในฐานะสมาชิกรัฐสภาและเข้าเงื่อนไขการได้รับความคุ้มกันรัฐสภา การวิจัยในครั้งนี้จะศึกษาความคุ้มกันสมาชิกรัฐสภาที่มีผลสืบเนื่องจากการมีเอกสิทธิ์ในความมีอิสระในการไม่ถูกจับกุมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 131 ประเทศไทยได้รับแนวคิดเกี่ยวกับความคุ้มกันสมาชิกรัฐสภาจากการมีเอกสิทธิ์เกี่ยวกับความมีอิสระในการไม่ถูกจับกุมจากประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส โดยเริ่มบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักสากล แต่เมื่อนำมาปรับใช้ในทางปฏิบัติกลับไม่เป็นไปตามความมุ่งหมายของหลักการ โดยปัญหาที่พบในทางปฏิบัติในการให้ความคุ้มกันสมาชิกสภาในประเทศไทย มีดังนี้ หนึ่งปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการให้ความคุ้มกันสมาชิกรัฐสภาซึ่งไม่มีกระบวนการกลั่นกรองและตรวจสอบก่อน สองปัญหาด้านบุคคลหรือองค์กรผู้ให้ความคุ้มกันสมาชิกรัฐสภาซึ่งให้ดุลพินิจโดยลำพัง โดยไม่มีองค์กรหรือกระบวนการใดในการช่วยกลั่นกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้น และสามปัญหาด้านขอบเขตของคดีอาญาที่ให้ความคุ้มกันสมาชิกรัฐสภาที่รวมถึงการกระทำความผิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา จากปัญหาทั้งหมดจึงอาจกระทบต่อหลักความเสมอภาคและหลักนิติธรรมได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe parliamentarians’ duties aim to public services, so almost representative democratic countries granted the privileges over ordinary people to them. According to the principles and theories of constitutional law, privileges consist of two types: the first is privilege of freedom of or privilege of speech and the second is privilege of freedom of arrested that protects members of the House from legal physical action. And the parliamentary immunity is resulted from getting both privilege. This study focuses only on the privilege of freedom of arrested. The privilege of speech started in England since King Edward the third in 1340 CE that begot the principle of Non-liable. After that extending to protect from civil case in assembly session that begot the principle of Inviolable. In the past, France had the same conflict political situations like England after the 1789 CE revolution, it received the principle of Inviolable which was changed to protect criminal cases instead of civil cases. Thailand was received the principle of Inviolable and regulated it in the Constitutions since 1932 CE to present to immune the parliamentarians’ performances. As the result of this research found that immunity under Thai constitution needs to revised because there are some problems: the first problem is procedure of granting or waive immunity, second problem is organization or person who has discretion of itself without checking and screening by anyone and third problem is the widely scope of criminal immunity that may be abused of equality and rule of lawen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1021-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectรัฐสภา -- เอกสิทธิและความคุ้มกัน
dc.subjectรัฐสภา -- ไทย
dc.subjectเอกสิทธิและความคุ้มกัน -- ไทย
dc.subjectความรับผิด (กฎหมาย) -- ไทย
dc.subjectความเสมอภาค
dc.subjectLegislative bodies -- Privileges and immunities
dc.subjectLegislative bodies -- Thailand
dc.subjectPrivileges and immunities -- Thailand
dc.subjectLiability (Law) -- Thailand
dc.subjectEquality
dc.titleปัญหาขอบเขตการให้ความคุ้มกันสมาชิกรัฐสภาen_US
dc.title.alternativeTHE PROBLEMS CONCERNING THE SCOPE OF THE PARLIAMENTARIANS' IMMUNITYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKriengkrai.C@Chula.ac.th,tham38@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1021-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586029334.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.