Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45649
Title: | ระบบสำหรับระบุตำแหน่งภายในอาคารบนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์ |
Other Titles: | SERVERLESS INDOOR LOCALIZATION SYSTEM ON MOBILE PHONE PLATFORM |
Authors: | กรกนก ขาวอำไพ |
Advisors: | กุลธิดา โรจน์วิบูลย์ชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kultida.R@Chula.ac.th,june1_7@hotmail.com,kultida.r@chula.ac.th |
Subjects: | โทรศัพท์เคลื่อนที่ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ พิกัดภูมิศาสตร์ เครือข่ายแอดฮอก Cell phones -- Computer programs Geographical positions Ad hoc networks (Computer networks) |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่กลายมาเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการดำเนินชิวิตประจำวัน เนื่องจากช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของโทรศัพท์ แอปพลิเคชันให้บริการข้อมูลด้านตำแหน่งเป็นแอปพลิเคชันประเภทหนึ่ง ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งหรือสถานที่แก่ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่มักจะติดตั้งจีพีเอสเซ็นเซอร์เพื่อคำนวณหาตำแหน่งปัจจุบันของตนเอง แม้ว่าจีพีเอสจะสามารถระบุตำแหน่งภายนอกอาคารได้อย่างแม่นยำ แต่จีพีเอสไม่สามารถระบุตำแหน่งภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสิ่งกีดขวางและโครงสร้างของอาคารบดบังสัญญาณที่ดาวเทียมส่งมายังจีพีเอส วิธีการสำหรับระบุตำแหน่งภายอาคารจึงถูกนำเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ระบบที่ถูกนำเสนอเหล่านั้นถูกพัฒนาขั้นมาเพื่อระบุพิกัดในชั้นใดชั้นหนึ่งของอาคารเท่านั้น ไม่สามารถระบุชั้นปัจจุบันของโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ งานวิจัยนี้ได้นำเสนอระบบสำหรับระบุตำแหน่งภายในอาคารบนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบไม่ใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์และไม่ต้องสำรวจอาคาร ระบบจะใช้ผลการค้นหาสัญญาณวายฟายสำหรับระบุชั้นของอาคารที่โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ อัลกอริทึมที่ใช้ระบุตำแหน่งมีความซับซ้อนต่ำ สามารถคำนวณได้ด้วยทรัพยากรของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด มีความแม่นยำในการระบุตำแหน่งถึง 85% นอกจากนี้ระบบยังมีกระบวนการเรียนรู้ซิกแนลฟิงเกอร์ปรินท์ด้วยตนเองโดยอาศัยการบันทึกข้อมูลจากเซ็นเซอร์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถแลกเปลี่ยนกับเครื่องอื่นๆ ผ่านเครือข่ายแอดฮอกแบบเสมือนด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนซิกแนลฟิงเกอร์ปรินท์ ระบบสำหรับระบุตำแหน่งภายในอาคารที่พัฒนาขึ้นมีความแม่นยำในการระบุตำแหน่ง 87% เมื่อระบบมีกระบวนการเรียนรู้ซิกแนลฟิงเกอร์ปรินท์ด้วยตนเองและมีการเปลี่ยนซิกแนลฟิงเกอร์ปรินท์กับโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องอื่น |
Other Abstract: | A mobile phone plays as an important role in everyday life due to the convenience of communication. Many applications have been developed to reinforce the functionality of the mobile phone. Location service application is a kind of the mobile application that provides location information to a mobile phone user. GPS is generally for localizing the mobile phone. The GPS sensor is embedded with many models of the mobile phones. Although the GPS can provide localization performances as well over outdoor environment, it cannot provide location information over indoor environment because structures of building block GPS signal from satellites. Many indoor localization approaches have been proposed to address that problem. However, they have been implemented for single-floor environment only. They cannot identify the current floor that the mobile phone is located on. This research proposes a floor localization system without any supporting from the back-end server and any site survey. In the system, the localization process utilizes access points from Wi-Fi scanning list to determine the current floor of the mobile phone. The localization algorithm is low complexity so it can be processed by the limited hardware of mobile phone. The algorithm achieves up to 85% of localization accuracy. Moreover, the system has a fingerprint self-learning mechanism for fingerprint map construction. This mechanism requires sensors on the mobile phone. In addition, the mobile phone can exchange fingerprints with others via a virtual ad hoc network by fingerprint dissemination mechanism. The proposed system with the fingerprint self-learning and the fingerprint dissemination mechanism achieves 87% of localization accuracy. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45649 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1490 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1490 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670109221.pdf | 3.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.