Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4566
Title: อนุกรมวิธานของไม้ล้มลุกและไม้เลื้อยบริเวณเขาวังเขมร จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Taxonomy of herbs and climbers at Khao Wang Khamen, Kanchanaburi Province
Authors: วรรณชัย ชาแท่น
Advisors: บุศบรรณ ณ สงขลา
ทวีศักดิ์ บุญเกิด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: fscitbk@chulkn.chula.ac.th
Thaweesakdi.B@Chula.ac.th
Subjects: ไม้เถา
ไม้ล้มลุก
เขาวังเขมร (กาญจนบุรี)
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสำรวจและรวบรวมพรรณไม้ดอกประเภทไม้ล้มลุกและไม้เลื้อยในบริเวณเขาวังเขมร อำเภทไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2541-มกราคม 2543 เก็บตัวอย่างพรรณไม้ได้จำนวน 124 ชนิด 1 ชนิดย่อย และ 3 พันธุ์ จัดอยู่ใน 94 สกุล 40 วงศ์ วงศ์ที่พบมากที่สุดคือ วงศ์ Asteraceae พบจำนวน 14 ชนิด วงศ์ที่พบมากเป็นอันดับที่ 2 คือ วงศ์ Convolvulaceae พบจำนวน 13 ชนิด ส่วนวงศ์อื่นๆ ที่เหลือพบวงศ์ละ 1-8 ชนิด ซึ่งพรรณไม้ทั้ง 124 ชนิดเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ 100 ชนิด พืชใบเลี้ยงเดี่ยว 24 ชนิดและเป็นไม้ล้มลุก 82 ชนิด ไม้เลื้อย 42 ชนิด จากผลการศึกษาพบพรรณไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย 2 ชนิด และคาดว่าจะมีพรรณไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทยเพิ่มอีก 3 ชนิด คือ Boea glabriflora Barnett, Ruellia kerrii Kerr และ Remirema bracteata Kerr ซึ่งชนิดหลังนี้มีจำนวนต้นต่อประชากรน้อยมาก และจากการตรวจเอกสารมีรายงานพบเฉพาะที่จังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้น จึงคาดว่าพรรณไม้ชนิดนี้จะเป็นพรรณไม้หายาก พรรณไม้ที่ศึกษาได้จัดทำเป็นตัวอย่างพรรณไม้แห้ง เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์พืชศาตราจารย์ กสิน สุวตะพันธุ์ ภาควิชาพฤกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิพิธภัณฑ์พืชโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดทำคำบรรยายลักษณะของวงศ์ สกุลและชนิด จัดทำรูปวิธานจำแนกสกุลและรูปวิธานจำแนกชนิด พร้อมข้อมูลการกระจายพันธุ์ การแพร่กระจายในประเทศไทย นิเวศวิทยา การใช้ประโยชน์และถ่ายภาพประกอบ
Other Abstract: The exploration, collection and study of herbs and climbers at Khao Wang Khamen, Kanchanaburi Province were made form May 1998-January 2000. One hundred and twenty four species, one subspecies and three varieties of them were collected and classified into 94 genera and 40 families. Among these Asteraceae is the richest in number of species, i.e. 14 species. The second richest is Convolvulaceae in which there are 13 species. The rest has 1-8 species in each families. In all there are 82 species of herbs and 42 species of climbers, they are grouped into 100 species of dicots and 24 species of monocots. Two previously reported endemic species and three new endemic species are found, i.e. Boea glabriflora Barnett, Ruellia kerrii Kerr and Remirema bracteata Kerr. More over the last one tends to be a rare species according to its small populations and it confined distribution in Kanchanaburi Province. Taxonomic descriptions and key to genera and species were prepared together with taxonomic literature, ecology, geographical distribution, uses, colour photographs of each species. The collected specimens were deposited at the professor Kasin Suvatabhandhu Herbarium, Department of Botany, Faculty of Science, Chulalongkorn University and the plant genetics conservation projected as the Royal Initiation of Her Royal Highness Princess Mahachakri Sirindhorn Herbarium, Kanchanaburi Province
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4566
ISBN: 9743466967
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannachai.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.