Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45716
Title: | การประเมินสภาพแวดล้อมเพื่อการรักษาภายในแผนกผู้ป่วยนอก: การรับรู้และความพึงพอใจของผู้ใช้อาคาร |
Other Titles: | EVALUATING THE EFFECT OF HEALING ENVIRONMENT OF OUT-PATIENT DEPARTMENT: USERS PERCEPTION AND SATISFACTION |
Authors: | สรัณย์ เหล่าวิทยางค์กูร |
Advisors: | วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vorapat.I@Chula.ac.th,ivorapat@hotmail.com |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันธุรกิจโรงพยาบาลมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการที่โรงพยาบาลมีความต้องการในการใช้พื้นที่ให้มากที่สุดเพื่อผลกำไรที่มากขึ้น โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพแวดล้อมในการรักษาที่ดี ยิ่งเฉพาะแผนกผู้ป่วยนอกเป็นส่วนรักษาที่สร้างรายได้ให้แก่โรงพยาบาลมากกว่าแผนกผู้ป่วยในถึง 10 ต่อ 1 ถ้าสามารถออกแบบให้ผู้ใช้งานเกิดความพึงพอใจในบริการ และส่งเสริมสภาพในการรักษาได้อีกด้วยอาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ใช้งานเกิดความต้องการที่จะกลับมาใช้บริการอีก งานวิจัยชิ้นนี้ได้วิเคราะห์การใช้งานองค์ประกอบในการออกแบบที่ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการรักษา 3 ชนิด ได้แก่ ช่องเปิดแสงธรรมชาติ พื้นที่สีเขียวภายใน และการตกแต่งพื้นผิวภายใน โดยการจำลองที่ปรับเปลี่ยนสัดส่วนขององค์ประกอบในการออกแบบจำนวน 13 รูปแบบ และสอบถามการรับรู้และความพึงพอใจจากผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 120 คน ผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติแบบ T-TEST ในกรณีของช่องเปิดแสงธรรมชาติ พบว่ายิ่งขนาดของช่องเปิดแสงธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อการรับรู้และความพึงพอใจของผู้ใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ในส่วนของความหนาแน่นของพื้นที่สีเขียวภายใน เมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยวิธี ANOVA พบว่ารูปแบบที่มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้นจะเพิ่มการรับรู้และความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ในส่วนของการตกแต่งพื้นผิวภายในที่แตกต่างกันผลการวิเคราะห์ พบว่าการตกแต่งที่แตกต่างกันส่งผลต่อการรับรู้หรือความพึงพอใจของผู้ใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) เพียงแค่การรับรู้ด้านความปลอดภัยและความมีชีวิตชีวา เมื่อวิเคราะห์อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรทั้ง 3 พบว่ามีเพียงปฏิสัมพันธ์ระหว่างช่องเปิดแสงธรรมชาติเมื่อใช้ร่วมกับการตกแต่งพื้นผิวภายในจะส่งผลต่อการรับรู้และความพึงพอใจแก่ผู้ใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ยกเว้นเพียงการรับรู้ด้านความน่าเชื่อถือ จากสถิติเบื้องต้นพบว่ารูปแบบที่ใช้องค์ประกอบช่องเปิดแสงธรรมชาติขนาดใหญ่ร่วมกับพื้นที่สีเขียวภายในความหนาแน่นมากและการตกแต่งพื้นผิวภายในเลียนแบบธรรมชาติ มีผู้เลือกกลับมาใช้บริการมากที่สุดคิดเป็น 76% |
Other Abstract: | Currently, the hospital business has grown rapidly. Due to the hospital’s need to use as much space as possible to increase the profits, do not take into consideration the decent healing environment, the outpatient department generate more income than the inpatient department, at the ratio of 10 to 1. If the design can make the customers satisfied and improve the treatment condition, these would become a factor that make the customers come back. This research examined 3 design elements that help promote the healing environment. They are the natural light openings, the interior green area, and the interior finishing surfaces. In this study, 120 participants rated their perception and satisfaction levels of 13 virtual models with different degrees of design elements. For the natural light openings, the perception and satisfaction of the users directly varies to the size of the openings at the level that is statistically significant (p<.05). The wider the opening, the more satisfaction and perception. For the intensity of the interior green area, the satisfaction and perception increases when the green area is enlarged, at the level that is statistically significant (p <.05). For the different interior finishing surfaces, the satisfaction of users at the level that is statistically significant (p<.05). However, the effects occurs to the safety and liveliness aspects. The interaction of 3 variables, only the combination of the natural light openings and the interior finishing surfaces can affect the satisfaction and perception of the users at the level that is statistically significant, with the exception for the reliability aspect (p<.05). According to the analytical data, the virtual model that employs large openings for natural light, very dense interior green areas, and the interior natural materials surfaces, are chosen to come back, accounted for 76%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45716 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5673569825.pdf | 11.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.