Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45718
Title: | การศึกษาระดับการยับยั้งเกร็ดเลือดในขณะที่ได้รับการทำหัตถการสวนเปิดเส้นเลือดแดงโคโรนารีในผู้ป่วยทีมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด เอสทีเซกเม้นอีลีเวชั่น ในผู้ป่วยที่ได้ทิคากรีลอเทียบกับโคลพิโดเกรลจากห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | DEGREE OF PLATELET INHIBITION AT THE TIME OF PRIMARY PERCUTANEOUSCORONARY INTERVENTION IN PATIENTS PRESENTED WITH ACUTE ST SEGMENTELEVATION MYOCARDIAL INFARCTION, COMPARING TICAGRELOR VERSUSCLOPIDOGREL LOADING AT THE EMERGENCY DEPARTMENT OF KINGCHULALONGKORN MEMMORIAL HOSPITAL. |
Authors: | กานต์ ชัยรัตน์ |
Advisors: | วศิน พุทธารี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wacin.B@Chula.ac.th,wacin_buddhari@hotmail.com |
Subjects: | โคลพิโดเกรล การใช้ยา กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- การรักษา กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- การรักษาด้วยยา สารกันเลือดเป็นลิ่ม Clopidogrel Drug utilization Myocardial infarction -- Treatment Myocardial infarction -- Chemotherapy Anticoagulants (Medicine) |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การยับยั้งทำงานของเกร็ดเลือด (หน่วยเป็น %) ในขณะเริ่มทำ Primary PCI โดยใช้ Verifynow P2Y12 assay ในผู้ป่วย STEMI ที่มาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับ Ticagrelor เทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับ Clopidogrel ที่มาและเหตุผล การศึกษาก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่สูงกว่าในเรื่องการยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดของ Ticagrelor เมื่อเทียบกับ Clopidogrel ในผู้ป่วย Stable coronary artery disease (CAD) และ Acute coronary syndrome ( ACS) แต่ข้อมูลในเรื่องระดับการยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดในขณะทำ Primary PCI ยังไม่ชัดเจน วิธีการศึกษาวิจัย ผู้ป่วย STEMI ที่จะทำ Primary PCI แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีการแบบสุ่มโดยผู้ป่วย 9 รายได้ Ticagrelor ขนาด 180 มิลลิกรัมและผู้ป่วยอีก 9 รายได้ Clopidogrel ขนาด 600 มิลลิกรัมที่ห้องฉุกเฉินก่อนที่จะไปทำ Primary PCI มีการเก็บเลือดเพื่อนำไปตรวจการยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดก่อนการให้ยาต้านเกร็ดเลือด, ขณะเริ่มทำ Primary PCI และ 2 ชั่วโมงหลังให้ยาต้านเกร็ดเลือด ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยการยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดขณะทำ Primary PCI นั้นมีค่าค่อนข้างต่ำในทั้ง 2 กลุ่ม โดยแนวโน้มของกลุ่มที่ได้ Ticagrelor จะมีค่าการยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดสูงกว่า แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ Clopidogrel โดยกลุ่มที่ได้ Ticagrelor มีค่าการยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดเท่ากับ 21.9 ± 15.4% ในขณะที่กลุ่มที่ได้ Clopidogrel มีค่าเท่ากับ 11.7 ± 10.9%, p = 0.125 ระยะเวลาตั้งแต่ให้ยาจนถึงเริ่มทำ Primary PCI ของทั้งสองกลุ่มค่อนข้างสั้น และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มที่ได้ Ticagrelor มีค่า 30 ± 6.8 นาที ในขณะกลุ่มที่ได้ Clopidogrel มีค่า 24.2 ± 6.9 นาที, p = 0.068 สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วย STEMI ที่ห้องฉุกเฉินที่มีการวางแผนทำ Primary PCI และระยะเวลาตั้งแต่การให้ยาต้านเกร็ดเลือดจนถึงเวลาที่ทำ Primary PCI สั้นมาก ค่าเฉลี่ยการยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดมีค่าค่อนข้างต่ำ และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับ Ticagrelor เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับ Clopidogrel |
Other Abstract: | Objective:To compare percent platelet inhibition at the time of primary PCI between patients who presented with an acute STEMI at the emergency department of KCMH and received ticagrelor versus clopidogrel loading Background: Previous studies have demonstrated superiority of ticagrelor over clopidogrel in percent platelet inhibition in stable coronary artery disease (CAD) and acute coronary syndrome (ACS) patients. But the degree and the difference of that at the time of performing primary PCI in STEMI patients was not known. Method: STEMI patients who were undergoing primary PCI were randomized to receive either ticagrelor (180 mg loading, n = 9) or clopidogrel (600 mg Loading, n = 9) in the emergency department prior to going to catheterization laboratory. Platelet function test, using Verifynow assay, was measured before antiplatelet loading, at the beginning of primary PCI and 2 hours after antiplatelet loading. Results: Mean percent platelet inhibition at the time of primary PCI was relatively low in both groups. Although it was numerically higher in patients who received ticagrelor, there was no statistically significant difference between the two groups (21.9±15.4% in ticagrelor group, 11.7±10.9% in clopidogrel group, P = 0.125). Timing between antiplatelet loading and the time of primary PCI was very short and did not differ between the two groups (30±6.8 minutes in ticagrelor group, 24.2±6.9 minutes in clopidogrel group, P = 0.068). Conclusion: In patients who presented with an acute STEMI and underwent primary PCI in a very short period of time, percent platelet inhibition at the time primary PCI was low and not statistically significant difference, between patients who received ticagrelor loading versus clopidogrel loading from the emergency department. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45718 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1070 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1070 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674007630.pdf | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.