Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45732
Title: การศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างระดับไมโครอาร์เอ็นเอ 34 เอในซีรั่มกับการอักเสบของตับในผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมัน
Other Titles: STUDY OF CORRELATION BETWEEN SERUM MICRORNA 34A AND LIVER INFLAMMATION IN NON-ALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE
Authors: พุทธ เมืองไพศาล
Advisors: สมบัติ ตรีประเสริฐสุข
สัญชัย พยุงภร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sombat.T@Chula.ac.th,battan5410@gmail.com
Sunchai.P@Chula.ac.th
Subjects: ตับคั่งไขมัน
ตับอักเสบ
ไมโครอาร์เอ็นเอ
การอักเสบ
Fatty liver
Hepatitis
MicroRNA
Inflammation
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: โรคตับคั่งไขมันกำลังเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยปัจจุบันพบว่าไมโครอาร์เอ็นเอหลายชนิดมีส่วนในการเกิดพยาธิกำเนิดของโรคตับคั่งไขมัน ไมโครอาร์เอ็นเอ 34 เอมีส่วนให้เกิดการบาดเจ็บและอักเสบของตับโดยผ่านทางกลไก miR-34a/SIRT1/p53/apoptosis ข้อมูลจากการศึกษาล่าสุดพบว่าผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันมีระดับไมโครอาร์เอ็นเอ 34 เอ สูงกว่าในกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาสหสัมพันธ์ระดับไมโครอาร์เอ็นเอ 34 เอในซีรั่มกับการอักเสบของตับในผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมัน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างระดับไมโครอาร์เอ็นเอ 34 เอในซีรั่มกับระดับการอักเสบของตับในผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมัน ซึ่งประเมินโดย NAFLD activity score (NAS) วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันที่ได้รับการยืนยันการวินิจฉัยจาการเจาะตับจำนวน 50 ราย โดยจะได้รับการประเมินระดับการอักเสบของตับโดย NAS ข้อมูลพื้นฐานและการเจาะเลือดผู้ป่วยนั้น จะทำในวันเดียวกับการเจาะตับ ระดับไมโครอาร์เอ็นเอ 34 เอในซีรั่มจะถูกวิเคราะห์โดยวิธี quantitative real time PCR method (Applied Biosynthesis™) และแสดงผลในหน่วยก๊อปปี้ต่อไมโครลิตร ผลการศึกษา: อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันเท่ากับ 46.0 ± 13.8 ปี โดยมีเพศหญิงร้อยละ 52 ค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกายเท่ากับ 35.8 ± 15.8 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีโรคอ้วนทั้งสิ้นร้อยละ 78 และกลุ่มโรคเมตาบอลิกร้อยละ 76 ผลทางพยาธิวิทยาของตับพบว่า ร้อยละ 54 มีค่า NAS มากกว่าหรือเท่ากับ 4 ส่วนร้อยละ 66 มีผลทางพยาธิวิทยาเข้าได้กับภาวะที่มีการอักเสบของตับในโรคตับคั่งไขมัน และร้อยละ 22 มีระดับพังผืดอย่างมีนัยสำคัญ ระดับไมโครอาร์เอ็นเอ 34 เอในซีรั่มมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ NAS โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.39 (P = 0.005) นอกจากนี้ยังมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับไขมันในตับ (r = 0.28, P = 0.04) ระดับการมีบอลลูนของเซลล์ตับ (r = 0.30, P = 0.034) และระดับของพังผืดในตับ (r = 0.39, P = 0.005) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มี NAS มากกว่าหรือเท่ากับ 4 มีระดับไมโครอาร์เอ็นเอ 34 เอในซีรั่มสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มี NAS น้อยกว่า 4 อย่างมีนัยสำคัญ (30.1 ± 34.8 ก๊อปปี้ต่อไมโครลิตร กับ 11.6 ± 11.5 ก๊อปปี้ต่อไมโครลิตร , P = 0.01) การศึกษานี้พบว่าระดับไมโครอาร์เอ็นเอ 34 เอในซีรั่ม ไม่มีสหสัมพันธ์กับอายุ น้ำหนักตัว ส่วนสูง และดัชนีมวลกาย สรุป: ระดับไมโครอาร์เอ็นเอ 34 เอในซีรั่มมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ NAS ซึ่งเป็นค่าแสดงระดับของการอักเสบในตับ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มี NAS มากกว่าหรือเท่ากับ 4 มีระดับไมโครอาร์เอ็นเอ 34 เอในซีรั่มสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มี NAS น้อยกว่า 4 อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นระดับไมโครอาร์เอ็นเอ 34 เอในซีรั่มอาจสามารถนำมาเป็นสารบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับประเมินการอักเสบของตับในผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันในอนาคต
Other Abstract: Background: Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD) has become a worldwide health concern. Presently, numerous microRNAs (miR) have been contributed to the pathogenesis of NAFLD. MiR-34a is a non-coding RNA contributing to liver injury by miR-34a/SIRT1/p53 apoptosis pathway. Recent data have showed that patients with NAFLD have higher serum miR-34athan the controlled group. However, there is no report directly examines the correlation between serum level of miR-34a and degree of liver inflammation. Objective: To study the correlation between serum level of miR-34a and degree of liver inflammation evaluated by NAFLD activity score (NAS, range 0-8) in NAFLD patients. Patients and Methods: Forty-three NAFLD patients were included and confirmed diagnosis by liver biopsy. All liver specimens were graded for NAS. Baseline characteristics data and blood sample were obtained within the biopsy day. Serum miR-34a was analyzed by quantitative real time PCR method (Applied Biosynthesis™) and expressed as copies/µL. Results: The mean age of NAFLD patients was 46.0 ± 13.8 year with female of 52%. Their mean body mass index (BMI) was 35.8 ± 15.8 kg/m2. Obesity was found in 78%, and metabolic syndrome was 76%. Liver histopathology showed that 54% of patients had NAS greater or equal to 4 and the remaining of 46% had NAS less than 4. Two-third of patients (66%) had histopathology compatible with NASH and significant fibrosis was found in 22%. Serum level of miR-34a showed significant correlation with NAS (r = 0.39, P = 0.005), degree of steatosis (r = 0.28, P = 0.04), degree of ballooning (r = 0.30, P = 0.034), and degree of fibrosis (r = 0.39, P = 0.005), whereas miR-34a was not correlated with the degree of lobular inflammation (r = 0.19, P = 0.188). Interestingly, serum miR-34a in patients with NAS greater or equal to 4 was significantly higher than those with NAS less than 4 (30.1 ± 34.8 copies/µL vs 11.6 ± 11.5 copies/µL, P = 0.01). There was no significant correlation between serum miR-34a and the other variables including age, body weight, height, and BMI. Conclusion: Serum level of microRNA-34a had significantly fair to good correlation with NAS and which represent the severity of inflammation. Additionally, serum miR-34a level in patients with NAS greater or equal to 4 was significantly higher than those with NAS less than 4. Thus, microRNA-34a may serve as a potential biomarker of liver inflammation in NAFLD patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45732
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1031
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1031
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674051130.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.