Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45738
Title: | ความชุก และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พาผู้ป่วยมารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | PREVALENCE AND ASSOCIATED FACTORS OF DEPRESSION IN CAREGIVERS OF PATIENTS WITH STROKE AT KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITAL. |
Authors: | รสรณ์รดี ภาคภากร |
Advisors: | บุรณี กาญจนถวัลย์ นิจศรี ชาญณรงค์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Buranee.K@Chula.ac.th,drburanee@gmail.com Nijasri.C@Chula.ac.th,nijasris@yahoo.com |
Subjects: | ผู้ดูแล -- ไทย -- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย โรคซึมเศร้า -- การรักษา Caregivers -- Thailand -- King Chulalongkorn Memorial Hospital Cerebrovascular disease -- Patients Psychotic depression -- Treatment |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พาผู้ป่วยมารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะซึมเศร้าของ Beck Depression Inventory แบบสอบถามความรู้สึกเป็นภาระ แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไค-สแควร์ และสถิติถดถอยพหุคูณแบบโลจิสติก ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 44.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า0.05หรือน้อยกว่า0.01 ในด้านผู้ดูแลได้แก่ ความไม่เพียงพอของรายได้ การนอนหลับที่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง การเกิดปัญหาในการดูแลผู้ป่วย แรงสนับสนุนทางสังคมต่ำ ความรู้สึกเป็นภาระมาก และปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ การไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ปัจจัยที่สามารถใช้พยากรณ์ภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความไม่เพียงพอของรายได้ (OR=4.20 95%CI=1.31-13.39 ;p<0.01) การนอนหลับที่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง (OR=5.03 95%CI=1.51-16.80 ;p<0.01) และความรู้สึกเป็นภาระมาก (OR=9.05 95%CI=2.68-30.55 ;p<0.001) ซึ่งแต่ละปัจจัยเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วย แพทย์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ควรมีการประเมิน หรือคัดกรองภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยร่วมด้วย เพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง |
Other Abstract: | The purposes of this descriptive research were to study prevalence and associated factors of depression in caregivers of patients with stroke at King Chulalongkorn Memorial hospital. A total of 96 participants in this study. Data were collected by using self-report questionnaire, Beck Depression Inventory Thai version, Zarit Burden Interview Thai version, Social Support questionnaire and Barthel Index Thai version. Statistical analysis was done by using SPSS. The data were analyzed for percentage, mean, standard deviation, chi-square and multiple logistic regression analysis. The result were revealed that 44.8 percent of caregivers had depression. Caregivers' factors related to depression at the 0.05 level or less than 0.01 level were inadequate income, less than 5 hours sleep duration, the difficulty in care of the patients, low social support, high caregivers burden and patients factor related to depression was low activities of daily of patients with stroke. The factors that predicted depression in caregivers of patients with stroke were inadequate income (OR=4.20 95%CI=1.31-13.39 ;p<0.01), less than 5 hours sleep duration (OR=5.03 95%CI=1.51-16.80 ;p<0.01) and high caregiver burden (OR=9.05 95%CI=2.68-30.55 ;p<0.001) . These factors were increased risk of depression in stroke caregiver. To decrease caregiver depression, physicians who provide medication should investigated or screen for caregiver of patients with stroke for proper management to improve quality of care among patient with stroke. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45738 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.566 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.566 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674064330.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.