Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45746
Title: การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมโดยปิดทั้งสองข้าง ผลของการได้รับวิตามินดีเสริมในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรังต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับไซโตไคน์ที่เกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มพังผืดในตับ
Other Titles: A RANDOMIZED DOUBLE BLIND PLACEBO CONTROL STUDY: EFFECT OF VITAMIN D SUPPLEMENT IN CHRONIC HEPATITIS C PATIENTS ON SERUM CYTOKINES ASSOCIATED WITH HEPATIC FIBROSIS.
Authors: ศยามล กิมตระกูล
Advisors: ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์
เกศรินทร์ ถานะภิรมย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Piyawat.K@Chula.ac.th,pkomolmit@yahoo.co.uk
Kessarin.T@chula.ac.th
Subjects: ตับอักเสบซี
วิตามินดี
ตับ -- การเกิดพังผืด
Hepatitis C
Vitamin D
Liver -- Fibrosis
Transforming growth factors-beta
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย การให้วิตามินดีเสริมพบว่าสามารถลดการสร้างไซโตไคน์ที่เกี่ยวเนื่องกับการอักเสบลงได้ อีกทั้งยังสามารถลดการเกิดพังผืดภายในเนื้อตับได้เช่นกัน ซึ่งมีหลักฐานการศึกษาจากหลายๆการศึกษาทั้งในห้องทดลองปฏิบัติการและในสัตว์ทดลองสนับสนุนข้อมูลดังกล่าวของวิตามินดี ซึ่งอธิบายผ่านการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ hepatic stellate cells (HSCs) ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาใดที่ศึกษาเรื่องการให้วิตามินดีเสริมในในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่มีภาวะขาดวิตามินดี ว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระดับไซโตไคน์ที่เกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มพังผืดในตับมาก่อน วัตถุประสงค์ เพื่อจะศึกษาถึงผลของการได้รับวิตามินดีเสริมในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรังที่มีภาวะขาดวิตามินดีต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับ TGF-β1 เมื่อรับประทานต่อเนื่อง 6 สัปดาห์เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยวิธีการวัดระดับ TGF-β1 ในซีรัม ระเบียบวิธีการวิจัย ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรังที่มีภาวะขาดวิตามินดีจำนวนทั้งสิ้น 54 ราย ทำการแบ่งเป็นสองกลุ่มด้วยวิธีแบบสุ่ม กลุ่มแรกได้รับวิตามินดีเสริมจำนวน 27 รายตามแนวทางการให้วิตามินดีที่กำหนดไว้ กลุ่มที่สองได้รับยาหลอก 27 ราย ทำการวัดระดับ 25 (OH) vitamin D และ TGF-β1 ในเลือดที่เริ่มต้นก่อนการศึกษาและที่ 6 สัปดาห์ที่สิ้นสุดการศึกษา ผลการวิจัย ที่เริ่มต้นของการศึกษา ระดับ 25 (OH) vitamin D มีค่าใกล้เคียงกันทั้งสองกลุ่มและไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (19.5 ± 5.3 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร และ 18.2 ± 5.5 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร, p = 0.36 ตามลำดับ) เช่นเดียวกับระดับ TGF-β1 ที่พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม เมื่อประเมินที่ 6 สัปดาห์ของการศึกษาพบว่าในกลุ่มที่ได้รับวิตามินดีเสริมระดับ 25 (OH) vitamin D กลับมาอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติคือเท่ากับ 45.6±13.2 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร แต่กลับไม่พบความเปลี่ยนแปลงของระดับ 25 (OH) vitamin D ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเท่ากับ 18.6±5.1 นาโนกรับต่อมิลลิลิตร ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ระดับความแตกต่างค่าเฉลี่ยก่อนและหลัง (mean difference) ของ TGF-β1 ในกลุ่มที่ได้รับวิตามินดีเสริมมีค่าที่ลดลงจากก่อนการรักษาเท่ากับ -29.1 ± 22.3 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเท่ากับ 57.1±107.5 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.012) สรุป การให้วิตามินดีเสริมในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังให้มีระดับ 25 (OH) vitamin D กลับมาอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติอาจช่วยชะลอการเกิดพังผืดภายในตับได้ผ่านกลไกที่ทำให้เกิดความสมดุลของไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพังผืด ผลจากการศึกษานี้ช่วยสนับสนุนสมมติฐานและหลักฐานจากห้องทดลองปฏิบัติการและสัตว์ทดลองก่อนหน้านี้ว่าการให้วิตามินดีเสริมสามารถลดการสร้างพังผืดในตับลงได้
Other Abstract: Background Vitamin D supplement decreased serum inflammatory cytokines and hepatic fibrogenesis in several in vitro and animal models by inhibiting hepatic stellate cells (HSCs) proliferation. This result has not been studied before in clinical model. Objective To determine the effect of vitamin D supplement on serum fibrotic markers in chronic hepatitis C (CHC) patients. Methods Fifty four CHC patients with vitamin D deficiency were randomized into two groups. Twenty seven patients received vitamin D supplement as a protocol and twenty seven patients received placebo. Serum 25 (OH) vitamin D and TGF-β1 levels were measured at baseline and at the end of 6-week study period. Results At baseline, mean serum 25 (OH) vitamin D levels at baseline were similar in both groups (19.5 ± 5.3 ng/mL vs. 18.2 ± 5.5 ng/mL, p=0.36). Serum TGF-β1 levels were also not difference in between groups. At 6 weeks, mean serum 25 (OH) vitamin D levels were normalized in supplement group (45.6 ± 13.2 ng/mL), but not increased in placebo group (18.6 ± 5.1 ng/mL, p<0.001). Mean difference of serum TGF-β1 levels were decreased in vitamin D supplement group and significantly difference as compared to the level in placebo group which trended to be increased (-29.1 ± 22.3 pg/mL vs. 51.6 ± 21.7 pg/mL, p=0.012). The correlation between post-treatment 25(OH) vitamin D level with mean difference of serum TGF-β1 levels were also significantly correlation (r = -0.54; p=0.003). Conclusions Correction of vitamin D deficiency in CHC patients suppressed serum fibrogenesis markers, TGF-β1. The results from this study, conducted in CHC patients, added on and supported previous in vitro and animal scientific evidences of vitamin D supplement decreased hepatic fibrogenesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45746
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.573
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.573
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674076930.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.