Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45750
Title: เภสัชจลนศาสตร์ของยาเซฟาโซลินและเซฟตาซิดิมที่ให้ทางช่องท้องในผู้ป่วยที่บำบัดทดแทนไตทางช่องท้องในเวลากลางคืนด้วยเครื่องอัตโนมัติ
Other Titles: Pharmacokinetics of Intraperitoneal Cefazolin and Ceftazidime in Patients Treated with Automated Nocturnal Intermittent Peritoneal Dialysis
Authors: สดุดี พีรพรรัตนา
Advisors: พิสุทธิ์ กตเวทิน
ปาจรีย์ จริยวิลาศกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pisut.K@chula.ac.th
Pajaree.L@Chula.ac.th
Subjects: ปฏิชีวนะ -- เภสัชจลนศาสตร์
การล้างไตทางช่องท้อง
ไต -- โรค -- การรักษา
Antibiotics -- Pharmacokinetics
Peritoneal dialysis
Kidneys -- Diseases -- Treatment
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: การให้ยาปฏิชีวนะทางช่องท้องในปัจจุบันแนะนำให้ผสมในน้ำยาล้างช่องท้องโดยใส่ค้างท้องไว้นานอย่างน้อย 6 ชั่วโมงซึ่งอาจไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติเนื่องจากผู้ป่วยอาจมีภาวะน้ำเกินจากการแลกเปลี่ยนสารผ่านเยื่อบุช่องท้องที่เปลี่ยนแปลงไป (ultrafiltration failure) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อที่จะพัฒนาการให้ยาเซฟาโซลินและเซฟตาซิดิมซึ่งใช้รักษาภาวะติดเชื้อทางช่องท้องบ่อยที่สุดโดยให้ทางช่องท้องรูปแบบใหม่ซึ่งใส่ค้างท้องไว้นานเพียง 2 ชั่วโมงและตรวจวัดระดับความเข้มข้นของยาทั้งสองชนิดในน้ำยาล้างช่องท้องและในพลาสมา วิธีการศึกษา: ผสมยาเซฟาโซลินและเซฟตาซิดิมขนาด 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมลงในน้ำยาล้างช่องท้องที่มีน้ำตาลเด็กซ์โตรสความเข้มข้นร้อยละ 2.5 ปริมาตร 5 ลิตร วางถุงน้ำยาลงบนถาดทำความร้อนของเครื่องล้างช่องท้องอัตโนมัติ โดยมีน้ำยาปริมาตร 5 ลิตรอีกถุงวางอยู่ด้านข้าง ผู้ป่วยจะได้รับการล้างช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติโดยมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำยา 5 ครั้ง ครั้งละ 2 ลิตร รวมเวลา 10 ชั่วโมง เครื่องอัตโนมัติจะนำน้ำยาจากถุงที่วางบนถาดทำความร้อนใส่เข้าในช่องท้องผู้ป่วยก่อนในครั้งแรก หลังจากนั้นจะดูดน้ำยาจากถุงที่สองที่วางด้านข้างมาเติมถุงที่วางบนถาดทำความร้อนเพื่อเตรียมใส่ช่องท้องผู้ป่วยในครั้งต่อไป โดยจะมีการเก็บตัวอย่างเลือดที่เวลา 0, 0.5, 1, 1.5, 2, 4, 6, 8, 10, 14, 18, และ 24 ชั่วโมง และตัวอย่างน้ำยาล้างช่องท้องทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาที่เวลา 0, 2, 4, 6, 8, และ 10 ชั่วโมง และจะนำตัวอย่างไปตรวจวัดความเข้มข้นของยาด้วยวิธี high performance liquid chromatography ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่บำบัดทดแทนไตทางช่องท้องที่ไม่มีภาวะติดเชื้อจำนวน 6 รายเข้าร่วมการศึกษา ความเข้มข้นของเซฟาโซลินและเซฟตาซิดิมในน้ำยาล้างช่องท้องที่ช่วงเวลาที่ล้างช่องท้องพบว่าอยู่ในระดับ 26-360 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนความเข้มข้นของยาในพลาสมาพบว่ามีระดับเกิน minimal inhibitory concentration ของเชื้อที่ตอบสนองต่อยา (≤8 มิลลิกรัมต่อลิตร) ภายในช่วง 2 ชั่วโมงแรก (เซฟาโซลิน 28.5±8.0 และเซฟตาซิดิม 12.5±3.4 มิลลิกรัมต่อลิตรที่เวลา 2 ชั่วโมง) ขึ้นสู่ระดับสูงสุดที่ 10 ชั่วโมง (51.1±14.1 และ 23.0±5.2 มิลลิกรัมต่อลิตร) และสามารถคงระดับความเข้มข้นในพลาสมาได้เกิน MIC ของเชื้อที่ 24 ชั่วโมง (42.0±9.6 และ 17.1±3.1 มิลลิกรัมต่อลิตร) สรุปผลการศึกษา: การให้ยาเซฟาโซลินและเซฟตาซิดิมทางช่องท้องรูปแบบใหม่โดยค้างท้องในช่วงเวลาสั้น (≤2 ชั่วโมง) ให้ระดับความเข้มข้นของยาในน้ำยาล้างช่องท้องและในพลาสมาได้เพียงพอ การให้ยาทางช่องท้องรูปแบบนี้สามารถนำมาใช้เป็นมาตรฐานการให้ยารูปแบบใหม่ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อทางช่องท้องที่ได้รับการบำบัดช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติหรือใช้ได้ในผู้ป่วยที่ล้างช่องท้องด้วยตนเองแต่มีภาวะ ultrafiltration failure
Other Abstract: Background: Current guideline suggested that intraperitoneal (IP) antibiotics should be administered only in a long peritoneal dialysis (PD) dwell (≥6 hours) which is not always practical because the long dwell might result in low ultrafiltration and volume overload. The objectives of this study were to develop a novel regimen for IP antibiotics in short dwell (≤2 hours) and examine the dialysate and plasma level of the most used empirical antibiotics for PD-related peritonitis, cefazolin and ceftazidime. Methods: In the novel regimen, cefazolin and ceftazidime (20 mg/kg each) were added in a 5-liter bag of 2.5% dextrose PD fluid which was placed on the warmer of the PD cycling machine. Another 5-liter bag of PD fluid was connected to the machine, off the warmer. Patients underwent 5 exchanges of 2-liter PD fluid over 10 hours by the PD cycling machine without last fill or additional dwell. The machine took PD fluid from the on-warmer bag and infused to the patient. The on-warmer bag was then replete by PD fluid from the off-warmer bag before the next exchange. Plasma samples were collected at time 0, 0.5, 1, 1.5, 2, 4, 6, 8, 10, 14, 18, and 24 hours. Dialysate samples from each exchange were collected at time 0, 2, 4, 6, 8, and 10 hours. Cefazolin and ceftazidime concentrations in plasma and dialysate were determined by high performance liquid chromatography. Results: Six PD patients without peritonitis were participated in the study. Dialysate cefazolin and ceftazidime were consistently high throughout the PD session in all patients (26-360 mg/L). Plasma cefazolin and ceftazidime exceeded the minimal inhibitory concentration (MIC) for susceptible organisms (≤8 mg/L) within 2 hours (cefazolin 28.5±8.0 and ceftazidime 12.5±3.4 mg/L at 2 hours), peak at 10 hours (51.1±14.1 and 23.0±5.2 mg/L) and then sustained well above the MIC at 24 hours (42.0±9.6 and 17.1±3.1 mg/L). Conclusion: The novel regimen for IP cefazolin and ceftazidime in short dwell (≤2 hours) could provide adequate dialysate and plasma concentration. This daily IP cefazolin and ceftazidime regimen would become a standard regimen for peritonitis in PD patients already using PD cycling machine as well as some continuous ambulatory PD (CAPD) patients who need shorter dwells during peritonitis due to increasing peritoneal solute transport.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45750
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.577
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.577
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674081030.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.