Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45753
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประวิตร อัศวานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | สายวรีย์ วงษ์รวิโอภาพ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:04:57Z | - |
dc.date.available | 2015-09-17T04:04:57Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45753 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | ที่มา: มีความเชื่อว่าช็อกโกแลตเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดสิวเพิ่มขึ้น ข้อสงสัยนี้ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด เนื่องด้วยงานวิจัยที่ศึกษาเจาะลึกในเรื่องนี้ยังมีน้อย และมีผลการวิจัยที่ขัดแย้งกัน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระดับความรุนแรงของสิวในผู้ชายที่เป็นสิวง่าย เปรียบเทียบก่อนและหลังการบริโภคช็อกโกแลตติดต่อกันเป็นเวลา 28 วัน วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาอาสาสมัครนิสิตจุฬาฯเพศชายที่มีสุขภาพแข็งแรง มีผิวที่เป็นสิวง่าย ทั้งหมด 25 คน มีระดับความรุนแรงของสิวในระดับ 1-4 คะแนนจากเกณฑ์การวัดตาม The Leeds revised acne grading system โดยนับจำนวนเม็ดสิว วัดระดับความรุนแรงของสิว และถ่ายภาพหน้าด้านขวาทุกสัปดาห์เป็นเวลา 28 วัน หลังจากนั้นให้รับประทานช็อกโกแลตดำ 99% วันละ 25 กรัมทุกวัน ในเวลา 20.00 นาฬิกา และนับจำนวนเม็ดสิว วัดระดับความรุนแรงของสิว ถ่ายภาพหน้าด้านขวา ทุกสัปดาห์เป็นเวลา 28 วัน และทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่างของระดับความรุนแรงของสิวก่อนและหลังรับประทานช็อกโกแลต ผลการศึกษา: จากการศึกษาในอาสาสมัครทั้งหมด 25 คน พบว่า หลังการบริโภคช็อกโกแลตดำ 99% สัปดาห์ที่ 2 ค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของสิวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และ ค่าเฉลี่ยจำนวนเม็ดสิวประเภทสิวอุดตันและสิวอักเสบแบบตุ่มแดงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) สรุปผล: การบริโภคช็อกโกแลตดำ 99% ในเพศชายที่เป็นสิวง่ายเป็นเวลา 28 วัน ทำให้ค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของสิวเพิ่มขึ้น และค่าเฉลี่ยจำนวนเม็ดสิวอุดตันและสิวอักเสบประเภทตุ่มแดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background: There are lots of myths surrounding diet, especially chocolates and acne. Despite this, there is paucity for studies to address the issue. Objective: To evaluate changes in acne severity after dark chocolate consumption for 28 days. Materials and Method: Twenty-five acne-prone male volunteers with The Leeds revised acne grading 1-4 enrolled. The volunteers refrained from any type of chocolate for 28 days. Twenty-five grams of dark chocolate 99% was consumed every day at 20.00 hrs. for 28 days and acne severity was assessed every week by lesion counting, severity scores grading and taking photographs. Results: When compared with baseline, statistically significant increases were found in acne severity scores and mean number of comedones and inflammatory papules from 2 weeks after chocolate consumption (P < 0.01). Conclusion: Dark chocolate consumption may exacerbate acne in adolescent acne prone male volunteers by increasing acne severity scores and the mean number of comedones and inflammatory papules. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.580 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ช็อกโกเลต | |
dc.subject | สิว | |
dc.subject | Chocolate | |
dc.subject | Acne | |
dc.title | การเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของสิวในผู้ชายที่เป็นสิวง่ายเปรียบเทียบก่อนและหลังการบริโภคช็อกโกแลต | en_US |
dc.title.alternative | CHANGE IN ACNE SEVERITY SCORES IN ACNE-PRONE MALE VOLUNTEERS BEFORE AND AFTER CHOCOLATE CONSUMPTION | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Pravit.A@Chula.ac.th,fibrosis@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.580 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674085530.pdf | 2.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.