Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45781
Title: ผลของชีวกลศาสตร์และกลศาสตร์ของห่วงที่มีต่อการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูป
Other Titles: EFFECTS OF BIOMECHANICS AND HOOP MECHANICS ON HULA HOOP EXERCISE
Authors: เบญทิวา สุรศาสตร์พิศาล
Advisors: ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chaipat.L@Chula.ac.th
Subjects: การออกกำลังกาย -- เครื่องมือและอุปกรณ์
ฮูลาฮูป
การออกกำลังกาย
การเคลื่อนไหวของมนุษย์
การเคลื่อนที่เชิงกล
กลศาสตร์
Exercise -- Equipment and supplies
Hula hoop
Exercise
Human mechanics
Mechanical movements
Mechanics
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่ออธิบายปัจจัยทางกลศาสตร์ที่มีผลต่อการเล่นฮูลาฮูปและอธิบายรูปแบบการเคลื่อนไหวของลำตัวขณะเล่นฮูลาฮูป งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical study) โดยทำการวิเคราะห์กลศาสตร์พื้นฐานของการเล่นฮูลาฮูปก่อนที่จะออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงกลศาสตร์ ในการทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็น นิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศหญิง อายุ 18-24 ปี จำนวน 20 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่าง จะต้องทำการเล่นฮูลาฮูป จำนวน 9 ห่วง ตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและมวลที่กำหนดให้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้วิจัยทำการเก็บค่าตัวแปร จำนวนคนที่เล่นฮูลาฮูปได้ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบ Goodness of Fit Test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 สำหรับค่าตัวแปรอัตราเร็วเชิงมุมฮูลาฮูป อัตราเร็วเชิงมุมแนวไหล่ และอัตราเร็วเชิงมุมแนวสะโพก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Two way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ในการศึกษาทางชีวกลศาสตร์นั้น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สามารถเล่นฮูลาฮูปได้ และกลุ่มที่ไม่สามารถเล่นฮูลาฮูปได้ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางคิเนเมติกส์ในขณะเล่นฮูลาฮูปในหัวข้อต่างๆดังนี้ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ มุมการเคลื่อนไหวของลำตัวในระนาบข้าง และระนาบหน้าหลัง นำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ระหว่างกลุ่มที่สามารถเล่นฮูลาฮูปได้และกลุ่มที่ไม่สามารถเล่นฮูลาฮูปได้ โดยการทดสอบค่า “ที” (Independent t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่สามารถเล่นฮูลาฮูปที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 98 เซนติเมตร ได้ มีจำนวนมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่สามารถเล่นฮูลาฮูปที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 85 และ 72 เซนติเมตร ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่สามารถเล่นฮูลาฮูปที่มีมวลขนาด 1.5, 1 และ 0.5 กิโลกรัมมีจำนวนเท่ากัน เส้นผ่านศูนย์กลางมีอิทธิพลต่อค่าอัตราเร็วเชิงมุมของฮูลาฮูปและอัตราเร็วเชิงมุมแนวสะโพก เมื่อเส้นผ่านศูนย์กลางของฮูลาฮูปมีขนาดลดลง อัตราเร็วเชิงมุมของฮูลาฮูป และอัตราเร็วเชิงมุมแนวสะโพก จะมีค่าเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่มวลไม่มีอิทธิพลต่อค่าอัตราเร็วเชิงมุมของฮูลาฮูปและอัตราเร็วเชิงมุมแนวสะโพก นอกจากนั้นยังพบว่า ค่าเฉลี่ยมุมการเคลื่อนไหวของลำตัว ในระนาบหน้าหลัง และระนาบข้าง ของกลุ่มที่สามารถเล่นฮูลาฮูปได้มีค่ามากกว่า กลุ่มที่ไม่สามารถเล่นฮูลาฮูปได้ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อความยากง่ายในการเล่นฮูลาฮูป คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและมวลของฮูลาฮูป ในขณะที่ปัจจัยด้านผู้เล่นที่มีผลต่อการสามารถเล่นฮูลาฮูปได้ คือ รูปแบบการเคลื่อนไหวของลำตัว
Other Abstract: The purposes of this study were to theoretically explain how physical characters of hula hoop affects hula hooping and to explain trunk movement patterns during hula hooping. This research employed empirical study after a mechanical analysis of hula hooping. An empirical study was designed and carried out to support the assumptions based on the mechanical analysis. Circular motion, friction, and Newton’s Law of Motion were utilized and found that hula hooping was affected by radius of the movement of hula hoop, and not by its mass. To perform an experiment to test the hypothesis, 20 undergraduate female Chulalongkorn University students between 18-24 years old were purposively selected to participate in the study. The participants were asked to hoop 9 different sizes of hula hoops. The number of participants who could hoop the hula hoops was collected and later analyzed using a Goodness of Fit Test with the significant level of 0.10. Anugular velocity of the hoop and angular velocity of the pelvic and shoulder were analyzed using Two way ANOVA with the significance level of 0.05. In term of Biomechanics, 20 participants were divided into two groups who could hoop or who couldn’t hoop ones. Then three dimension movements of trunk were analyzed. The kinematics data has been statistically tested using "T" (Independent t-test) with the significance level of 0.05. The results were as follow: The number of participants who could hoop the 98-cm diameter of hula hoop was greater than those who could hoop the 85-cm and 72-cm diameter hula hoop, respectively. The number of participants who could hoop 1.5-kg, 1-kg, and 0.5-kg hula hoop was equaled.Hoop diameter affect, the angular velocity of hula hoop and of pelvic .The greater the hoop diameter,the faster angular velocity of hula hoop and of pelvic. Moreover, the study found that range of motion of the trunk in 2-plane of participants who could hoop was greater than those who could not. Conclusions: Diameter and mass hula hoop that affect hula hooping skill. However,the movement of trunk that affect hula hooping skill too.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45781
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.595
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.595
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678316239.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.