Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45788
Title: | ผลฉับพลันของการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายโดยใช้ท่าฝึกและช่วงระยะเวลาแตกต่างกันที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อ |
Other Titles: | ACUTE EFFECTS OF WHOLE-BODY VIBRATION USING DIFFERENT POSITIONS AND DURATIONS ON MUSCULAR POWER |
Authors: | สลิษา ยูนุช |
Advisors: | ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Chaninchai.I@Chula.ac.th |
Subjects: | การสั่นสะเทือน กล้ามเนื้อ -- สรีรวิทยา กำลังกล้ามเนื้อ Vibration Muscles -- Physiology Muscle strength |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลฉับพลันของการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายระหว่างท่าฝึกและช่วงระยะเวลาแตกต่างกันที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬากรีฑาและนักกีฬาซอฟต์บอลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศหญิง จำนวน 12 คน ในการทดลองใช้วิธีถ่วงดุลลำดับ ให้กลุ่มตัวอย่างทำการสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย 6 แบบ การสั่นสะเทือนทั้งร่างกายแบบที่ 1-3 ใช้ท่า Static half squat โดยแบบที่ 1 ใช้ช่วงระยะเวลา 15 วินาที แบบที่ 2 ใช้ช่วงระยะเวลา 30 วินาที แบบที่ 3 ใช้ช่วงระยะเวลา 45 วินาที และแบบที่ 4-6 ใช้ท่า Static quarter squat โดยแบบที่ 4 ใช้ช่วงระยะเวลา 15 วินาที แบบที่ 5 ใช้ช่วงระยะเวลา 30 วินาที แบบที่ 6 ใช้ช่วงระยะเวลา 45 วินาที ใช้ความถี่ในการสั่น 45 เฮิร์ทซ แอมพลิจูด 4 มิลิเมตร โดยในช่วงของการทดสอบจะทำการทดสอบทั้งหมด 2 ครั้ง คือ ก่อนและหลังการสั่น โดยค่าที่ได้จากการกระโดดด้วยความสามารถสูงสุด 1 ครั้ง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ เปรียบเทียบ 6 แบบ โดยถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีการของแอลเอสดีและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองโดยการทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกันโดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการทดลองพบว่า ท่าฝึกที่ต่างกันไม่มีผลทำให้ค่าพลังกล้ามเนื้อสูงสุดแตกต่างกัน และช่วงระยะเวลาในการกระตุ้นที่แตกต่างกันไม่มีผลทำให้ค่าพลังกล้ามเนื้อสูงสุดแตกต่างกัน แต่ท่าย่อตัวค้างไว้ให้เข่าทำมุม 135 องศา และช่วงระยะเวลาในการกระตุ้น 45 วินาที ค่าพลังกล้ามเนื้อสูงสุดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study and compare the acute effect of Whole-body vibration when using different positions and durations on muscular power. Twelve female athletes and softball players 18-22 years old, from Chulalongkorn University performed 6 Whole-body vibration treatments in a counter-balance order. Treatment 1-3: Performing static half squat, Treatment 1 the vibrations duration was 15 seconds, Treatment 2: the vibrations duration was 30 seconds, Treatment 3: the vibrations duration was 45 seconds, Treatment 4-6: Performing static quarter squat, Treatment 4 the vibrations duration was 15 seconds, Treatment 5: the vibrations duration was 30 seconds, Treatment 6: the vibrations duration was 45 seconds, and all treatments performed for six weeks. The frequency of vibrations was set at 45 Hz with, the amplitude at 4 mm. The muscular power was assessed during pretest and posttest vibration treatment. The data were analyzed using Two-Way ANOVA folowed by LSD method and compare between before and after each vibration treatment with Paired-Sample t-test The result showed that the muscular power were unaffected either by body positions or vibration durations. Nevertheless, there was a trend for an increase in muscular power during static quarter squat when vibration duration was increased. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45788 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.602 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.602 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5678335139.pdf | 5.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.