Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45807
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ถมรัตน์ ศิริภาพ | en_US |
dc.contributor.author | ปิลันทนา จันทรัตน์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:05:21Z | |
dc.date.available | 2015-09-17T04:05:21Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45807 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับนิสัยการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลนิสัยการอ่านที่มีแรงจูงใจในการอ่านเป็นตัวแปรส่งผ่าน 3) วิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านโรงเรียนที่มีต่อนิสัย การอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 4) วิเคราะห์บทบาทการส่งผ่านของตัวแปรแรงจูงใจในการอ่านที่มีต่อนิสัยการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 626 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามโดยให้นักเรียนประเมินตนเองใน 4 ด้าน ได้แก่ นิสัยการอ่าน แรงจูงใจในการอ่าน ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านโรงเรียน โดยมีค่าความเที่ยงตั้งแต่ 0.749 – 0.903 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น และการทดสอบอิทธิพลการส่งผ่านด้วยการวิเคราะห์ Sobel สรุปผลการวิจัย (1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครมีนิสัยการอ่านอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างมาก โดยเพศหญิงมีระดับนิสัยการอ่านสูงกว่านักเรียนชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) โมเดลเชิงสาเหตุนิสัยการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมตอนต้นในกรุงเทพมหานครที่มีแรงจูงใจในการอ่านเป็นตัวแปรส่งผ่าน สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าสถิตไค-สแควร์ = 30.794 df = 20 p = 0.058 GFI = 0.990 AGFI = 0.973 RMR = 0.012 RMSEA = 0.029 (3) นิสัยการอ่านได้รับอิทธิพลทางตรงจากแรงจูงใจในการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านโรงเรียนมีอิทธิพลทางตรงต่อนิสัยการอ่านอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ปัจจัยด้านครอบครัวและโรงเรียนมีอิทธิพลทางอ้อมต่อนิสัยการอ่านผ่านการส่งผ่านของแรงจูงใจในการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) แรงจูงใจในการอ่านเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งจากปัจจัยด้านครอบครัว (z = 2.632, p = 0.008) และปัจจัยด้านโรงเรียนไปยังนิสัยการอ่าน (z = 2.691, p = 0.007) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were as follow: (1) to analyze the level of lower secondary school students’ reading habits (2) to develop and validate a quality of a reading habits model with reading motivation as a mediating variable (3) to analyze the direct effect and indirect effect of family factor and school factor of effecting toward reading habits and (4) to analyze effect of reading motivation as mediator effecting toward reading habits. The sample consisted of 626 secondary school student. The research data were collected using questionnaire the reliability of 4 sub-tests ranged from 0.749 – 0.903 and analyzed by descriptive statistics, Pearson correlation, Confirmatory factor analysis, Structural Equation Modeling analysis and testing the significant of a mediation effect with Sobel test The research findings were as follow: (1) Students’ reading habits were at medium to high level and female student had higher reading habits than male student at p=.05 (2) A causal model of reading habits of lower secondary school students with reading motivation as a mediating variable was fit to the empirical data with chi-square = 30.794 df = 20 p = 0.058 GFI = 0.990 AGFI = 0.973 RMR = 0.012 RMSEA = 0.029 (3) Reading motivation had significant direct effect on reading habits at p=.01 and family factor and school factor had not significant direct effect on reading habits. Family factor and school factor had significant indirect effect on reading habits toward reading motivation at p=.01 (4) Reading motivation was full mediation effecting toward reading habits at p=.01. Both family factor (z = 2.632, p = 0.008) and school factor (z = 2.691, p = 0.007) had effect toward reading habits. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.611 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การอ่านขั้นมัธยมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ | |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- ไทย -- กรุงเทพฯ | |
dc.subject | หนังสือและการอ่าน -- ไทย -- กรุงเทพฯ | |
dc.subject | Reading (Secondary) -- Thailand -- Bangkok | |
dc.subject | Junior high school students -- Thailand -- Bangkok | |
dc.subject | Books and reading -- Thailand -- Bangkok | |
dc.title | โมเดลเชิงสาเหตุนิสัยการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครที่มีแรงจูงใจในการอ่านเป็นตัวแปรส่งผ่าน | en_US |
dc.title.alternative | A CAUSAL MODEL OF READING HABITS OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS IN BANGKOK METROPOLITAN WITH READING MOTIVATION AS A MEDIATING VARIABLE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Thomrat.S@chula.ac.th,thomrat@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.611 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5683358327.pdf | 4.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.