Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45809
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถมรัตน์ ศิริภาพen_US
dc.contributor.authorภัทรจิตรา แสงสุขen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:05:22Z
dc.date.available2015-09-17T04:05:22Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45809
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์ การมองโลกเชิงบวกทางวิชาการ พฤติกรรมนวัตกรรมและบรรยากาศในชั้นเรียนเชิงสร้างสรรค์ (2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์ และ (3) วิเคราะห์ลักษณะการส่งผ่านของตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์ ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีสุดท้ายของหลักสูตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 818 คน การเลือกตัวอย่างใช้การสุ่มแบบสองขั้นตอนด้วยการแบ่งชั้น (two-stage stratified random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบสองกลุ่มเป็นอิสระจากกัน (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น และการทดสอบอิทธิพลการส่งผ่านด้วยการวิเคราะห์ Sobel test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นิสิตนักศึกษามีความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก การมองโลกเชิงบวกทางวิชาการอยู่ในระดับมาก บรรยากาศในชั้นเรียนเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก และพฤติกรรมนวัตกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (2) โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติ Chi-square = 54.769, df = 45, p = 0.149, GFI = 0.992, AGFI = 0.975, RMR = 0.007, RMSEA = 0.016 (3) ความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์แสดงบทบาทของตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วนระหว่างบรรยากาศในชั้นเรียนเชิงสร้างสรรค์และพฤติกรรมนวัตกรรม และแสดงบทบาทตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ระหว่างการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการและพฤติกรรมนวัตกรรมen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were as follows: (1) to analyze the level of creative self-efficacy, academic optimism, innovative behavior and classroom creative climate; (2) to develop and validate the causal and effect relationship model of creative self-efficacy of undergraduate students; and (3) to analyze the mediating role of creative self-efficacy in the model of undergraduate students’ innovative behavior. The research samples consisted of 818 senior undergraduate students of Chulalongkorn University. Two-stage stratified random sampling was used as the sampling technique. Survey questionnaires were used for data collection. The data were analyzed using descriptive statistics, t-test independent, one-way ANOVA, Pearson’s correlation, Structural Equation Modeling analysis and testing the significant of a mediation effect with the Sobel test. The research findings were as follows: (1) Undergraduate students had a high level of creative self-efficacy, academic optimism, a classroom creative climate and a medium-high level of innovative behavior. (2) The cause and effect relationship model of creative self-efficacy in undergraduate students accords with the empirical data considering Chi-square = 54.769, df = 45, p = 0.149, GFI = 0.992, AGFI = 0.975, RMR = 0.007, RMSEA = 0.016 (3) Creative self-efficacy was a partial mediator between having a classroom creative climate and innovative behavior, and being a full mediator between academic optimism and innovative behavior.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.613-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความสามารถในตนเอง
dc.subjectแบบจำลองสมการโครงสร้าง
dc.subjectSelf-efficacy
dc.subjectStructural equation modeling
dc.titleปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตen_US
dc.title.alternativeCAUSES AND EFFECTS OF CREATIVE SELF-EFFICACY IN UNDERGRADUATE STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThomrat.S@chula.ac.th,thomrat@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.613-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683370827.pdf6.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.