Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45812
Title: ผลของการออกกำลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีต่อการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนโลหิตของเด็กออทิสติก
Other Titles: EFFECTS OF EXERCISE USING BOSU BALL ON BALANCE, MUSCULAR STRENGTH AND CARDIOVASCULAR SYSTEM OF THE AUTISTIC CHILDREN
Authors: นิรุตติ์ สุขดี
Advisors: สุธนะ ติงศภัทิย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suthana.T@Chula.ac.th
Subjects: เด็กออทิสติก
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
กำลังกล้ามเนื้อ
การออกกำลังกาย
สมรรถภาพทางกาย
Autistic children
Cardiovascular system
Muscle strength
Exercise
Physical fitness
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีผลต่อการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนโลหิตของเด็กออทิสติก ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีกลุ่มตัวอย่างเพียงหนึ่งกลุ่ม โดยได้คัดเลือกกลุ่มเด็กออทิสติกที่ได้รับการวินิจฉัยจากทางแพทย์ว่ามีภาวะออทิสซึ่มอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีอายุระหว่าง 13 ปี ถึง 18 ปี เพศชาย จำนวน 15 คน ที่มารับบริการศึกษาในมูลนิธิออทิสติกไทย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) ทำการเปรียบเทียบผลการทดลอง จากการทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 8 ทำการเปรียบเทียบผลการทดลอง ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลของการทดลองในเชิงสถิติ วิเคราะห์ความแปรปรวนภายในกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ว่าตัวแปรต้นมีผลต่อตัวแปรตามหรือไม่ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนภายในกลุ่มชนิด (One Way Repeated Measures ANOVA) นำมาเปรียบเทียบค่าความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธี Bonferroni Method โดยทดสอบความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านการทรงตัว ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 8 โดยพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 8 อัตราค่าเฉลี่ยความสามารถในการทรงตัวของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง ผลการเปรียบเทียบค่าความแตกต่างทางสถิติ พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 8 อัตราค่าเฉลี่ยความสามารถในด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง ผลการเปรียบเทียบค่าความแตกต่างทางสถิติ พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านระบบไหลเวียนโลหิต ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 8 โดยพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 8 อัตราค่าเฉลี่ยความสามารถทางกายในด้านระบบไหลเวียนโลหิตของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้น (ชีพจรขณะพักลดลง) เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง ผลการเปรียบเทียบค่าความแตกต่างทางสถิติ พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The research was to study to compare the effect of exercise using bosu ball on balance, muscular strength and cardiovascular system of the autistic children before and after training. To provide a quasi experimental with a sample one group. In conducting the research, this paper purposive selection a group of children with autism who was diagnosed by the doctor that the conditions of autism at the moderate level. Ages of selected participants are 13 years to 18 years, males 15 participants and from whom who came to study in the Autism Foundation Thailand. By selecting a specific sample (Purposive Selection), the research aimed at comparing experimental results. In doing so, the researcher collected the following data: the tests prior to the experiment, data after the trial, two weeks, four weeks, six weeks as well as data from after eight weeks of the trial. It then conducts statistical analysis of the results of the experiment and analysis of variance within the group in order to examine to what extent the variables had affected the dependent variable. It also adopted an analysis of variance within a group (One Way Repeated Measures ANOVA) also comparing the differential pairs using Bonferroni Method. The research indicated the following results: 1. It was observed that the physical fitness test balance before the trial, after the trial two weeks, four weeks, six weeks and eight weeks of the trial found that after the trial, four weeks, six weeks and after 8 weeks of treatment - the average rate of the experimental group capable of sustaining increased as per prior to the experiment. The comparison demonstrated that the differences are significantly different at the statistical level. 05. 2. As to the physical fitness test muscle strength before the trial, after the trial two weeks, four weeks, six weeks and eight weeks of the trial - the average capacity of muscle strength had been increased significantly as compared to the prior treatment. The comparison also indicated that the differences are significantly different at the statistical level. 05. 3. The final result related to the physical fitness test the cardiovascular system before the trial, after the trial two weeks, four weeks and six weeks and after eight weeks of the trial found after the trial, four weeks, six weeks and after eight weeks of treatment - the average physical abilities in the circulatory system of the experimental group increased in comparison with previous trials. The comparison highlights that the differences are significantly different at the statistical level. 05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45812
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.615
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.615
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683425727.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.