Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45834
Title: พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 : ศึกษากรณีการกำหนดให้ความผิดฐานลักลอบขนผู้ย้ายถิ่นฐานเป็นความผิดมูลฐาน
Other Titles: ANTI-MONEY LAUNDERING ACT B.E. 2542 : A STUDY ON PRESCRIPTION OF SMUGGLING OF MIGRANTS OFFENCES AS PREDICATE OFFENCES
Authors: อิทธิชัย รามสูต
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Viraphong.B@Chula.ac.th
Subjects: พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
การเข้าเมืองและการออก
คนต่างด้าวผิดกฎหมาย
การลักลอบหนีศุลกากร
Anti-Money Laundering Act B.E. 2542
Emigration and immigration
Illegal aliens
Smuggling
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การลักลอบขนผู้ย้ายถิ่นฐานมีหลายรูปแบบ โดยมักจะเป็นองค์กรอาชญากรรม มีผลตอบแทนในวงเงินที่สูง ยากแก่การปราบปราม ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศอย่างมหาศาล อีกทั้งยังเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฎหมายของผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลและมีลักษณะเป็นขบวนการเกี่ยวเนื่องกับต่างประเทศ แต่บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดหลายประการ ไม่สามารถป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่อาจนำมาตรการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาบังคับใช้กับความผิดดังกล่าวได้ เนื่องจากยังไม่ได้เป็นความผิดมูลฐาน อาชญากรสามารถที่จะนำเงินได้เหล่านั้นไปเป็นทุนในการประกอบอาชญากรรมต่างๆต่อไปเป็นวงจรการประกอบอาชญากรรม จากการศึกษาพบว่า ความผิดฐานลักลอบขนผู้ย้ายถิ่นฐานมีลักษณะที่สอดคล้องกับแนวความคิดในการกำหนดความผิดมูลฐาน กล่าวคือ มักจะเป็นองค์กรอาชญากรรม ได้รับผลตอบแทนสูง มีลักษณะการกระทำที่สลับซับซ้อนยากแก่การปราบปราม และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐในทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้ดำเนินการกับความผิดฐานลักลอบขนผู้ย้ายถิ่นฐาน โดยการกำหนดให้ความผิดฐานลักลอบขนผู้ย้ายถิ่นฐานเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนและเหมาะสม อันจะทำให้การแก้ไขปัญหาการลักลอบขนผู้ย้ายถิ่นฐานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: Smuggling of migrants takes many forms, typically a criminal organization. It can obtain a large amount of income and it is difficult to suppress, which dramatically affect the economy, society and national security. It is also considered as an illegal exploitation of the offender, who is influential and has connections with the international movement. However, the current legal provisions have several flaws and facing considerable amount of obstacles which cause ineffectiveness at preventing and suppressing such crime. And measures in accordance with provisions of the Anti-Money Laundering Act B.E. 2542 cannot be enforced against this circumstance because it is not predicate offenses. Criminals can spend such money as the capital to commit other crimes, leading to criminal cycle. Through research, it is found that smuggling of migrants offenses can be in compliance with the concept of predicate offenses; it is typically a criminal organization and it can obtain a high and considerable amount of income. Furthermore, it is also complicated for suppression and also a threat to national economic security. Accordingly, it is requisite to apply anti-money laundering measures in order to counter smuggling of migrants offenses. By prescribing smuggling of migrants offenses as predicate offence in the Anti-Money Laundering Act B.E. 2542 and define a clear and appropriate scope, the problem of smuggling of migrants can be solved more effectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45834
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.625
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.625
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686042534.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.