Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45839
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ | en_US |
dc.contributor.author | พิสุทธิ์ แดงเผือก | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:05:36Z | - |
dc.date.available | 2015-09-17T04:05:36Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45839 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรของภาคตะวันออกทางเครื่องบิน ศักยภาพท่าอากาศยานอู่ตะเภาในการรองรับปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรของภาคตะวันออก และการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุนให้ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นฐานการกระจายสินค้าเกษตรของภาคตะวันออก ผลการศึกษาพบว่า อุปสงค์ในปีแรกของโครงการ (ปี 2560) มีประมาณ 15,448 ตัน ต้องใช้เครื่องบินขนส่งประมาณ 192 – 873 เที่ยวบิน และปีสุดท้ายของโครงการ (ปี 2579) มีประมาณ 110,385 ตัน ต้องใช้เครื่องบินขนส่งประมาณ 2,032 – 9,242 เที่ยวบิน ซึ่งท่าอากาศยานอู่ตะเภามีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับปริมาณเที่ยวบินได้ตลอดอายุโครงการ (20 ปี) ทั้งนี้ ผลการประเมินศักยภาพท่าอากาศยานอู่ตะเภาพบว่า การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาสู่การเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าเกษตรของภาคตะวันออก จำเป็นจะต้องพัฒนาขีดความสามารถด้านคลังสินค้าและการขนส่งสินค้าทางอากาศ โดยดำเนินการในลักษณะเขตปลอดอากร เพื่อลดต้นทุนดำเนินการและอำนวยความสะดวกในการส่งออกและนำเข้าสินค้า สำหรับการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ทั้ง 3 รูปแบบการลงทุน คือ 1) กรณีกองทัพเรือลงทุนและบริหารโครงการ 2) กรณีกองทัพเรือลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและให้เอกชนเช่าดำเนินการ และ 3) กรณีกองทัพเรือลงทุนบางส่วนและให้สัมปทานแก่เอกชน กำหนดปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรผ่านท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็น 30% 50% และ 75% ของอุปสงค์ที่พยากรณ์ได้ โดยใช้เกณฑ์ดัชนีชี้วัด คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน อัตราผลตอบแทนโครงการ และระยะเวลาคืนทุน ผลการวิเคราะห์โครงการทั้งทางด้านการเงินและทางด้านเศรษฐกิจ ปรากฎว่า โครงการดังกล่าวมีความน่าลงทุน ยกเว้นในกรณีสถานการณ์เลวร้ายที่สุด ภายใต้อุปสงค์ที่ร้อยละ 30 และภายใต้อัตราคิดลดสูงสุดที่ 12% ซึ่งจุดคุ้มทุนจะต้องมีอุปสงค์อยู่ที่ 46.87% นอกจากนี้ยังพบว่า การเลือกใช้ท่าอากาศยานอู่ตะเภาขนส่งสินค้าเกษตรจะสามารถช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวมได้ในอัตรากิโลกรัมละ 1.62 บาท | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research are: (1) to study Thai agricultural exports by aviation in the Eastern of Thailand, (2) to assess the capability of U-tapao Airport in supporting agricultural exports volume, and (3) to analyze financial and economic feasibility for investing in U-tapao Airport as a hub for distributing agricultural exports. From the research, it is found that the demand during the first year of the project (2560 B.E.) is around 15,448 tons which requires about 192-873 flights. For the last project year (2579 B.E.), the demand rises up to 110,385 tons that requires 2,032-9,242 flights. U-tapao Airport’s capability is sufficient to support such volume throughout the project (20 years). However, improvement of the warehouse and export capability is needed in order to develop U-tapao Airport to be a hub. This improvement could be done by establishing the Custom Free Zone in order to reduce operating cost and to facilitate import-export process. For the feasibility study of the project, there are three possible forms of investment: (1) the Royal Thai Navy (RTN) conducting investment and management, (2) RTN conducting infrastructure investment and private enterprise rent and run business, and (3) RTN conducting partial investment and concession by private enterprise. It is determined that U-tapao airport could conduct 30%, 50% and 70% of the forecasted demands with project duration of 20 years. The assessment indices include NPV, B/C Ratio, IRR and Payback Period. The result of analysis is that the project investment is acceptable. However, there is only one case, the worst case scenario, which is not acceptable. In this case, there is only 30% of demands. Nevertheless, if the investment is to be worthwhile, the exports must be at least 46.87% of demands. Finally, utilizing U-tapao Airport for agricultural exports could reduce the logistics cost in the rate of 1.62 Baht per kilogram. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา ระยอง พัทยา สู่การเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าเกษตรของภาคตะวันออก | en_US |
dc.title.alternative | U-TAPAO RAYONG PATTAYA INTERNATIONAL AIRPORT DEVELOPMENTINTO A DISTRIBUTION HUB FOR AGRICULTURAL FOR THE EAST | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การจัดการด้านโลจิสติกส์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Kamonchanok.S@Chula.ac.th,Kamonchanok.S@chula.ac.th | en_US |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5687140520.pdf | 3.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.