Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45854
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณชลัท สุริโยธินen_US
dc.contributor.authorนริศา พงศ์ศรีเพียรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:05:42Z
dc.date.available2015-09-17T04:05:42Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45854
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลขององค์ประกอบของแสงไฟฟ้าและค่าความเปรียบต่างของความสว่างระหว่างวัตถุและพื้นหลังที่ปรากฏภายในสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีและไม่มีองค์ประกอบเสาร่วมใน เพื่อส่งเสริมองค์พระประธานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญภายในอาคาร และมีผลต่อการรับรู้บรรยากาศโดยรวมในบริเวณโถงที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น ใช้วิธีการศึกษาเชิงกรณีศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจภาคสนาม เพื่อนำผลมาคัดกรองตัวแปรที่เกิดจากปัจจัยด้านสถาปัตยกรรม ปัจจัยด้านวัตถุ (พระพุทธรูป) และปัจจัยด้านแสงสว่าง แล้วนำรูปแบบแสงสว่างที่ได้จากการวิเคราะห์มาสร้างแบบจำลอง เพื่อใช้ในแบบสอบถามความคิดเห็น และใช้มาตรวัดแบบลิเคิร์ท (Likert Scale) โดยคำที่ใช้ในการประเมินได้แก่ สงบ ศักดิ์สิทธิ์ น่าเคารพ สบายใจ และพอใจในการให้แสงสว่าง และประเมินผลทางสถิติ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าความเปรียบต่างของความสว่างระหว่างวัตถุและพื้นหลังเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึกต่างๆ เมื่อมีความเปรียบต่างของความสว่างระหว่างวัตถุและพื้นหลังยิ่งมาก ก็จะทำให้ระดับการรับรู้ความรู้สึกสูงขึ้นในสถาปัตยกรรมทั้ง 2 รูปแบบ ปัจจัยรองลงมาคือองค์ประกอบแสงไฟฟ้า องค์ประกอบแสงไฟฟ้าทำให้เกิดการรับรู้ความรู้สึกด้านความสงบ สบายใจ และพอใจในการให้แสงสว่างเฉพาะโถงที่ไม่มีองค์ประกอบเสาร่วมใน โดยบริเวณโถงที่ไม่มีองค์ประกอบแสงไฟฟ้าทำให้ระดับการรับรู้ความรู้สึกสูงกว่าโถงที่มีองค์ประกอบแสงไฟฟ้า นอกจากนี้การใช้องค์ประกอบร่วมกัน 2 องค์ประกอบ ระหว่างความเปรียบต่างของความสว่างระหว่างวัตถุและพื้นหลังกับองค์ประกอบแสงไฟฟ้า มีผลส่งเสริมกันและกัน ทำให้การรับรู้ความรู้สึกมากขึ้นในสถาปัตยกรรมทั้ง 2 รูปแบบ โดยทำให้เกิดการรับรู้ความรู้สึกสงบ ศักดิ์สิทธิ์ สบายใจ และพอใจในการให้แสงสว่างในโถงที่ไม่มีองค์ประกอบเสาร่วมใน และการรับรู้ความรู้สึกสบายใจและพอใจในการให้แสงสว่างในโถงที่มีองค์ประกอบเสาร่วมในอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการวิจัยข้างต้นสามารถนำไปใช้ในการออกแบบแสงสว่างภายในสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา หรือประยุกต์ใช้กับกรณีใกล้เคียงen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is the study of the influence of lighting elements and luminance contrast of the subject and the background in the hall of Buddhist architecture with both colonnade and non-colonnade. The aim is to emphasize the perception of the principle Buddha image and overall atmosphere in the hall. The empirical research was used by surveying thirty halls of Buddha image in Bangkok. The elements in the halls were gathered and grouped to identify types of interior architecture, Buddha image, and luminaires that influenced on the perception of users. The data was analyzed to create physical models of the two halls of Buddha image with and without colonnade to compare the differences between luminance contrast and types of luminaires in different settings. Likert scale method was used in the form of questionnaires to determine users’ perception. Five adjectives of senses were asked: peaceful, sacred, admired, happy, and satisfied. The result showed that the luminance contrast between the object and the background was the most important factor that affected on the users’ perception on all senses regardless of types of architecture. In addition the types of luminaires only affected on the following adjectives: peaceful, happy, and satisfied. It was also found that the types of luminaires decreased the users’ perception in the hall. While the combination of the two factors in the non-colonnade hall increased the users’ perception on the adjectives peaceful, sacred, happy, and satisfied; in the colonnade hall they increased on the senses happy and satisfied. This research can be applied to the lighting design of other Buddhist or similar types of architecture.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.632-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสถาปัตยกรรมพุทธศาสนา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectการส่องสว่าง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectการให้แสงทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง
dc.subjectแสงในสถาปัตยกรรม
dc.subjectBuddhist architecture -- Thailand -- Bangkok
dc.subjectLighting -- Thailand -- Bangkok
dc.subjectLighting, Architectural and decorative
dc.subjectLight in architecture
dc.titleผลกระทบทางด้านองค์ประกอบการออกแบบแสงสว่างที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึก: กรณีศึกษา โถงประดิษฐานพระพุทธรูปในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeEffect of lighting design elements on space perception: A case study of hall of Buddha in Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPhanchalath.S@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.632-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773318725.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.