Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45875
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์en_US
dc.contributor.advisorศิลปชัย สุวรรณธาดาen_US
dc.contributor.authorกัญจน์ จันทร์ศรีสุคตen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:20:13Z-
dc.date.available2015-09-18T04:20:13Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45875-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเวลาปฏิกิริยาควบคู่กับการฝึกพลังระเบิดของกล้ามเนื้อที่มีต่อเวลาตอบสนองในนักกีฬาแบดมินตัน โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ทำการเปรียบเทียบความหนักที่แตกต่างกันของยางยืดแบบมีลูกรอกที่มีผลต่อพลังกล้ามเนื้อขาในการเคลื่อนที่ด้านข้างของนักกีฬาแบดมินตัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาแบดมินตันชายระดับสโมสรอายุตั้งแต่ 14-18 ปี จำนวน 15 คน ทำการทดลองแบบถ่วงดุลลำดับ แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆละ 5 คน ทั้ง 3 กลุ่มสลับกันทดสอบทุกระดับความหนักที่ระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ 50 เปอร์เซ็นต์ และ 70 เปอร์เซ็นต์ของความพยายามสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า ความหนักที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของความพยายามสูงสุด ทำให้เกิดพลังสูงสุดมากกว่าความหนักที่ 50 เปอร์เซ็นต์ และ 30 เปอร์เซ็นต์ของความพยายามสูงสุด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ขั้นตอนที่ 2 ทำการศึกษาผลของการฝึกเวลาปฏิกิริยาควบคู่กับการฝึกพลังระเบิดของกล้ามเนื้อที่มีต่อเวลาปฏิกิริยา เวลาเคลื่อนไหว และเวลาตอบสนองในนักกีฬาแบดมินตัน กลุ่มตัวอย่างเป็น นักกีฬาแบดมินตันชายระดับสโมสรอายุตั้งแต่ 14-18 ปี จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ใช้การกำหนดกลุ่มแบบสุ่ม กลุ่มละ10 คน ทำการฝึก 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน กลุ่มควบคุมฝึกซ้อมตามปกติ กลุ่มที่ 1 ฝึกเวลาปฏิกิริยาและฝึกตามปกติ กลุ่มที่ 2 ฝึกพลังระเบิดของกล้ามเนื้อและฝึกตามปกติ กลุ่มที่ 3 ฝึกเวลาปฏิกิริยาควบคู่กับฝึกพลังระเบิดของกล้ามเนื้อและฝึกตามปกติ ทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 มีค่าเวลาตอบสนองลดลง ไม่แตกต่างกัน และดีกว่ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มควบคุม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 สรุปได้ว่าการฝึกเสริมด้วยการฝึกพลังระเบิดของกล้ามเนื้อ และการฝึกเวลาปฏิกิริยาควบคู่กับการฝึกพลังระเบิดของกล้ามเนื้อ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์สามารถลดเวลาตอบสนองของนักกีฬาแบดมินตันชายระดับสโมสรได้อย่างมีนัยสำคัญ และรูปแบบการฝึกเสริมด้วยการฝึกเวลาปฏิกิริยาควบคู่กับการฝึกพลังระเบิดของกล้ามเนื้อ สามารถลดทั้งเวลาปฏิกิริยาและเวลาเคลื่อนไหวได้en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study the combined effect of reaction time training (RTT) and explosive power training (EPT) on response time in badminton players. The first phase study with purposively sampled 15 club level male badminton players, aged 14-18, arranged in 3 groups of 5, was carried out in three consecutive weeks in counter-balanced order for every level of 30%, 50% and 70% maximum effort to determine the effect of each load of pulley-guided elastic cable on leg muscle explosive power during side lunge. It was found that peak power at 70% effort was statistically higher than that at 50% and 30% effort at .05 level of significance. The second phase study aimed to study the combined effect of RTT and EPT on reaction time (RT), movement time (MT) and response time (RP) in badminton players. Subjects were 40 club level male badminton players, aged 14-18, randomly grouped into 4 groups of 10, and trained 3 days a week for 8 weeks. Controlled group was under normal badminton training (NBT), whereas the 1st group was under RTT and NBT, the 2nd group was under EPT and NBT and the 3rd group was under combined RTT, EPT and NBT. It was found that RP of the 2nd and 3rd group decreased indifferently, and were statistically better than those of the 1st and control group at .05 level of significance. It was concluded that supplementary training with EPT and combined RTT and EPT for 8 weeks could significantly reduce RP in club level male badminton players. And that supplementary training with combined RTT and EPT could reduce both RT and MT.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.634-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนักแบดมินตัน
dc.subjectการฝึกกำลังกล้ามเนื้อ
dc.subjectBadminton players
dc.subjectMuscle strength training
dc.titleผลของการฝึกเวลาปฏิกิริยาควบคู่กับการฝึกพลังระเบิดของกล้ามเนื้อที่มีต่อเวลาตอบสนองในนักกีฬาแบดมินตันen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF COMBINED THE REACTION TIME TRAINING AND EXPLOSIVE POWER TRAINING ON RESPONSE TIME IN BADMINTON PLAYERSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChaninchai.I@Chula.ac.th,c.intiraporn@yahoo.comen_US
dc.email.advisorSilpachai.Su@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.634-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5278951339.pdf8.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.