Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45885
Title: | กลยุทธ์การเสริมสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย |
Other Titles: | STRATEGIES FOR ENHANCING CREATIVE CULTURE IN THAI HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS |
Authors: | รุ้งลาวัลย์ สกุลมาลัยทอง |
Advisors: | ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sornnate.A@Chula.ac.th,sornnate@gmail.com,sornnate.a@chula.ac.th Pruet.S@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและสังเคราะห์องค์ประกอบของวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในสถาบันอุดมศึกษา 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย และ 3) พัฒนากลยุทธ์การเสริมสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษาไทย นักวิชาการ และผู้บริหารขององค์กรสร้างสรรค์ จำนวน 11 คน 2) ผู้บริหารสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 30 คน 3) อาจารย์ผู้สอนในสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 283 คน 4) บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 179 คน และ 5) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ศึกษาในสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 1,884 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับองค์ประกอบของวัฒนธรรมสร้างสรรค์ และ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทคนิค PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในสถาบันอุดมศึกษา มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) นโยบาย และเป้าหมาย การส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ 2) การพัฒนาสภาพแวดล้อมสร้างสรรค์ 3) โครงสร้างองค์กรเชิงสร้างสรรค์ 4) ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ 5) การบริหารและการพัฒนาบุคลากรเชิงสร้างสรรค์ 6) ผู้นำองค์กรสร้างสรรค์7) พฤติกรรมและทัศนคติสร้างสรรค์ของบุคลากรในสถาบัน ความต้องการจำเป็นของสภาพแวดล้อมภายในที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ และที่มีความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ นโยบายและเป้าหมาย การส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ความต้องการจำเป็นของสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านสภาพสังคมของประเทศไทยในปัจจุบัน และที่มีความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ด้านเทคโนโลยี กลยุทธ์การเสริมสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย มี 5 กลยุทธ์หลัก 15 กลยุทธ์รอง 22 เป้าประสงค์ 26 ตัวชี้วัด และ 63 แนวปฏิบัติ กลยุทธ์หลักประกอบด้วย 1) กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย 2) พัฒนาสภาพแวดล้อมสร้างสรรค์สร้างสรรค์ในทุกมิติ 3) พัฒนาระบบสนับสนุนแปลงความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา 4) เปลี่ยนกระบวนทัศน์ผู้นำและการจัดโครงสร้างองค์กร 5) บริหารคนเก่งสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม |
Other Abstract: | The objectives of this research were: 1) To study and to synthesize the elements of creative culture in higher education institutions, 2) to analyze the need for a creative culture in Thai higher education institutions, and 3) to develop strategies for enhancing a creative culture in Thai higher education institutions. The samples were as follows: 1) Executives of Thai higher education institutions, academics, and the executives of creative organizations amounted to 11 people, 2) the executives of creative industry departments amounted to 30 people, 3) the instructors of creative industry departments amounted to 283 people, 4) the personnel of creative industry departments amounted to 179 people, and 5) students in the fourth year of creative industry departments amounted to 1,884 people. The research instruments comprised of an interview about the elements of a creative culture form, and a questionnaire concerning the current and desirable states of a creative culture in Thai higher education institutions. Data were analyzed through descriptive statistics: Frequency, percentage, means, standard deviation, PNImodified technique, and content analysis The results of the study showed that there were seven elements of creative culture in higher education institutions: 1) Creative policies and goals, 2) creative environment, 3) creative organizational structure, 4) creative supporting system, 5) creative human resource management, 6) creative leadership, and 7) creative behavior and attitude of people in the institutions. In the internal environment, a creative support system was ranked as the most important, and creative policies and goals were ranked the least important. In an external environment, Thai socialization was ranked the most important, while technology was ranked as the least important. The strategy for enhancing creative culture in Thai higher education institutions contained 5 main strategies, 15sub strategies, 22 goals, 26 indicators, and 63 practices. The main strategies were: 1) Specify the policy and target of cultural support in the university 2) develop the creative environments of all its dimensions, 3) develop and support the concept of innovation as it relates to intellectual property, 4) change the leader paradigm and organization’s construction, and 5) talent management toward creativity and innovation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45885 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5284245927.pdf | 21.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.