Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45887
Title: การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบสืบสอบเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านเชิงวิชาการของนิสิตปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF A VIRTUAL LEARNING COMMUNITY OF INQUIRY MODEL TO ENHANCE ACADEMIC READING ABILITY OF UNDERGRADUATE STUDENTS, CHULALONGKORN UNIVERSITY
Authors: สรคม ดิสสะมาน
Advisors: จินตวีร์ คล้ายสังข์
ใจทิพย์ ณ สงขลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: jinkhlaisang@gmail.com,jinmonsakul@gmail.com
Jaitip.N@Chula.ac.th,jaitipn@gmail.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้แห่งการสืบสอบเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านเชิงวิชาการของนิสิตปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร 2) เพื่อสร้างรูปแบบชุมชนการเรียนรู้แบบสืบสอบเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านเชิงวิชาการของนิสิตปริญญาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้แห่งการสืบสอบเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านเชิงวิชาการของนิสิตปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบของชุมชนการเรียนรู้แห่งการสืบสอบเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านเชิงวิชาการของนิสิตปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง คือนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบสืบสอบเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านเชิงวิชาการ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ 2) ด้านการรับรู้: กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนฯ 3) ด้านสังคม: สภาพแวดล้อมของชุมชนฯ 4) ด้านการสอน: การประเมินผล และขั้นตอนการเรียนรู้ของชุมชนแห่งการสืบสอบเสมือนแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ช่วงที่ 2 การทดสอบ/การประเมินผลก่อนการเรียน ช่วงที่ 3 การจัดกิจกรรมในชุมชนฯ ซึ่งในช่วงที่ 3 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดหัวข้อทรัพยากรฯ 2) ผู้เรียนร่วมกันศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) ผู้เรียนร่วมกันวางแผนและทำกิจกรรม 4) ผู้เรียนนำเสนอผลงานที่ทำร่วมกัน 5) ประเมินผลและสรุปการทำกิจกรรม 2. หลังจากที่นิสิตปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้แห่งการสืบสอบเสมือน เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านเชิงวิชาการแล้วมีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนการประเมินความสามารถด้านการอ่านเพิ่มขึ้นทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นิสิตปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เรียนตามรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบสืบสอบเสมือนที่พัฒนาขึ้นมีระดับคะแนนการทำแบบทดสอบในเรื่องวิชาการที่อ่านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับคะแนนค่าเฉลี่ยการประเมินความสามารถด้านการอ่านเพิ่มขึ้นทุกด้าน 4. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบสืบสอบเสมือนฯ ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Other Abstract: The purpose of this research study was to develop of a virtual learning community of inquiry model to enhance academic reading ability of undergraduate students, Chulalongkorn University. The research and development (R&D) procedures were divided into four phases. The first phase was to study the state of undergraduate students, Chulalongkorn University’ uses of online electronic information resources; the second phase was to create the Virtual Learning Community Of Inquiry (VLCOI) model to enhance academic reading ability of undergraduate students, Chulalongkorn University; the third phase was to study the effects of using the VLCOI model to enhance academic reading ability of undergraduate students, Chulalongkorn University. The last phase was to propose the VLCOI model to enhance academic reading ability of undergraduate students, Chulalongkorn University. The samples in this research were undergraduate students at Chulalongkorn University. Data were analyzed using frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and t-test dependent. The results of this research were as follows: 1. The virtual learning community of inquiry (VLCOI) model to enhance academic reading ability of undergraduate students consisted of four components as follows: (1) online electronic information resources, (2) cognitive presence: activities and learning process, (3) social presence: virtual community environment (4) teaching presence: evaluation. The model included three phases of learning processes: (1) providing facilities to study, (2) taking a pre-test, and (3) setting the learning’s activities. The last phase of learning process consisted of five steps: (1) defining resource’s subject, (2) learning and sharing community, (3) planning and taking activities, (4) displaying activities’ output (5) evaluating and concluding activities 2. The post-test scores (Mean) of undergraduate students for reading ability were significantly higher than pre-test scores for reading ability at .05 significant level. 3. The post-test scores (Mean) of undergraduate students for the knowledge of academic reading papers were significantly higher than pre-test scores for the knowledge of academic reading papers at .05 significant level. And the scores of reading abilities evaluation were higher than the first time of reading abilities evaluation. 4. The experts agree that VLCOI model was appropriate in a high level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45887
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284255127.pdf8.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.