Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45888
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง | en_US |
dc.contributor.advisor | สุกรี รอดโพธิ์ทอง | en_US |
dc.contributor.author | โสภาค เจริญสุข | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:20:24Z | - |
dc.date.available | 2015-09-18T04:20:24Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45888 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการออกแบบอีเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ได้ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง และความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการออกแบบและพัฒนาอีเลิร์นนิง ได้แก่ อาจารย์ที่สอนแบบอีเลิร์นนิง จำนวน 98 คน กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองออกแบบการสอนอีเลิร์นนิงตามรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนา ได้แก่ อาจารย์ระดับอุดมศึกษา จำนวน 15 คน ที่ปฏิบัติการสอนในสาขาวิชา กลุ่มวิทยาศาสตร์ กลุ่มสังคมศาสตร์ และกลุ่มมนุษยศาสตร์ จำแนกเป็น อาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 5 คน และ อาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 5 คน และอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎ จำนวน 5 คน เมื่ออาจารย์ออกแบบการสอนตามรูปแบบที่ผู้วิจัยออกแบบแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาอีเลิร์นนิงและด้านการพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณจำนวน 6 คน ตรวจสอบความเหมาะสมของแผนการสอน และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณจำนวน 6 คน รับรองรูปแบบอีเลิร์นนิง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.องค์ประกอบของรูปแบบการออกแบบอีเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) คน ประกอบด้วย ผู้สอนออนไลน์ บุคลากรสนับสนุนการสอนออนไลน์ และผู้เรียนออนไลน์ 2) เนื้อหาวิชาที่สามารถบูรณาการฝึกทักษะการคิดวิจารณญาณเข้าไปกับเนื้อหา 3) สื่อและทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ ได้แก่ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนสำเร็จรูป ไฟล์วีดีโอ และ ไฟล์เสียง 4) กลยุทธ์และเทคนิคในการพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณออนไลน์ ได้แก่ การอภิปราย การใช้กรณีศึกษา การมอบหมายงานเป็นกลุ่ม และการวิพากษ์ โดยใช้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิค เทคนิคการตั้งคำถาม และเทคนิคหมวก 6 ใบ 5) ระบบบริหารการเรียนรู้ ประกอบด้วย ระบบจัดการหลักสูตร ระบบส่งเสริมการเรียนรู้ และระบบจัดการข้อมูล 6) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ จิตภาพ สังคมภาพและบรรยากาศเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณ 2. ขั้นตอนของรูปแบบการออกแบบอีเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมของรายวิชา : คัดเลือกรายวิชา เตรียมเนื้อหาและทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์ และเตรียมผู้สอนออนไลน์ 2) ขั้นดำเนินการออกแบบเนื้อหา กลยุทธ์และเทคนิค และเครื่องมือสำหรับใช้ในการเรียนการรสอนแบบอีเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณ 3) ขั้นผลิตและพัฒนาเครื่องมือบนระบบบริหารการเรียนรู้และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการจัดการเรียนอีเลิร์นนิง 4) ขั้นควบคุมการเรียนการสอนตามแผนการเรียนอีเลิร์นนิงที่ได้ออกแบบไว้ และ 5) ขั้นประเมิน ตรวจสอบคุณภาพ และปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงในครั้งถัดไป 3. แผนการเรียนอีเลิร์นนิงของกลุ่มตัวอย่างที่ออกแบบมีคุณภาพด้านการออกแบบและพัฒนาอีเลิร์นนิง และด้านการพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 2.92 และ 2.72 ตามลำดับ) 4. รูปแบบการออกแบบอีเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.00) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to propose an e-learning instructional design model to develop critical thinking skills for undergraduate students. Ninety-eight instructors with e-learning teaching experiences were surveyed opinions on e-learning management and the design of e-learning. Fifteen instructors in the academic disciplines of Sciences, Humanities, and Social Sciences from public, private, and rajabhat universities designed an e-learning lesson plan using the model developed by a researcher. Six e-learning design experts and six critical thinking development experts reviewed an appropriateness of lesson plans while another six specialists validated the e-learning instructional design model. The statistics used to analyze data were mean and standard deviation. The research findings were as follows: 1.The e-learning instructional design model to develop critical thinking skills for undergraduate students is comprised of six components: 1) Personnel: online instructors, online supporter, and online learners; 2) Content integrated with critical thinking skills practice; 3) Media and online resources in electronic files: electronic document, courseware, video clip and sound clip; 4) Strategies and techniques: discussion, case study, group assignment, and debate using with graphic mapping, questions, and six hat technique; 5) Learning Management System (LMS): system administration, support learning system and data system; and 6) Learning environment: physical environment, psychological environment, and sociological environment. 2.The e-learning instructional design model to develop critical thinking skills for undergraduate students is comprised of five steps: 1) Preparation of a course: select an appropriate course, manage course content, online learning resources, and online instructor; 2) Design of e-learning content, strategies, techniques, online tools for critical thinking skills development; 3) Develop and construct e-learning management tools and electronics courseware; 4) Control e-learning instruction based on designed plan; and 4) Evaluate, quality and problems checks for further e-learning instruction improvement. 3.The e-learning instructional plans created by the samples showed design and development quality and critical thinking skills development quality in good level (Means = 2.92 and 2.72 respectively). 4.The e-learning instructional design model to develop critical thinking skills for undergraduate students was rated very good (Mean = 4.00). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการออกแบบอีเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณ สำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF AN E-LEARNING INSTRUCTIONAL DESIGN MODEL TO DEVELOP CRITICAL THINKING SKILLS FOR UNDERGRADUATE STUDENTS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Onjaree.N@Chula.ac.th,nonjaree@chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | en_US |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5284266027.pdf | 9.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.