Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45892
Title: การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลในประเทศไทย
Other Titles: DEVELOPMENT OF A MANAGEMENT MODEL FOR THE WORLD-CLASS STANDARD SCHOOLS IN THAILAND
Authors: นิตยา เทพอรุณรัตน์
Advisors: นันทรัตน์ เจริญกุล
บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nuntarat.C@chula.ac.th
bnenyod38@hotmail.com
Subjects: โรงเรียน -- การบริหาร -- ไทย
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน -- ไทย
School management and organization -- Thailand
School-based management -- Thailand
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล (2) ศึกษารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพพิเศษ (3) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลในประเทศไทย ประชากร คือ โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ 1 จำนวน 500 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 203 โรงเรียน โดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 1,421 คน (1 โรงเรียนต่อผู้ให้ข้อมูล 7 คน) ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Need Index: PNI Modified) แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อยกร่างรูปแบบ ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดปัจจุบันของโรงเรียนมาตรฐานสากล คือ รูปแบบกำกวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และรูปแบบที่มีระดับการปฏิบัติที่พึงประสงค์สูงสุด คือ รูปแบบการมีส่วนร่วม รูปแบบที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการปฏิบัติงานสูงสุดคือ รูปแบบเพื่อนร่วมงาน เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบของรูปแบบ 8 องค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด แต่ละองค์ประกอบดังนี้ 1) ระดับในการกำหนดเป้าประสงค์ ที่กำหนดโดยผู้รับผิดชอบแต่ละงาน 2) กระบวนการในการกำหนดเป้าประสงค์ ซึ่งเป็นแนวทางที่ผู้บริหารใช้ในการกำหนดวิสัยทัศน์/วัตถุประสงค์ของ โรงเรียนโดยใช้ข้อตกลงร่วมกันของทุกฝ่าย 3) ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์กับการตัดสินใจ ผู้บริหารตัดสินใจโดยใช้เป้าหมายที่ตกลงร่วมกัน 4) ลักษณะของกระบวนการตัดสินใจ ดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์/เป้าประสงค์ของโรงเรียนโดยได้รับ ความเห็นชอบจากสมาชิกเสียงส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้อง 5) ลักษณะของโครงสร้างที่การกำหนดสายการบังคับบัญชาเป็นแบบแนวขวางหรือแนวนอน 6) ความเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมที่ลักษณะการติดต่อการสร้างความสัมพันธ์กับ ชุมชนและหน่วยงานภายนอกโรงเรียนโดยผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการประสานงาน 7) แบบของการนำ ความสามารถในการนำที่ผู้บริหารเป็นผู้แสวงหาฉันทามติ 8) รูปแบบภาวะผู้นำ พฤติกรรมความเป็นผู้นำของผู้บริหาร เป็นแบบผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่วนการบริหารด้วยระบบคุณภาพ TQA ความต้องการจำเป็นในการปฏิบัติงานสูงสุด 3 ด้าน คือ 1) ด้านการมุ่งเน้นบุคลากรที่เน้นความผูกพันของบุคลากร 2) ด้านการมุ่งเน้นการปฏิบัติการที่เน้นกระบวนการทำงาน 3) ด้านการนำองค์การ โดยผู้นำระดับสูง (2) รูปแบบที่มีระดับการปฏิบัติปัจจุบันสูงสุดของโรงเรียนคุณภาพพิเศษ คือ รูปแบบกำกวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รูปแบบที่มีระดับการปฏิบัติที่พึงประสงค์สูงสุดคือ รูปแบบเพื่อนร่วมงานและรูปแบบเน้นวัฒนธรรม มีการปฏิบัติที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด รูปแบบที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการปฏิบัติงานสูงสุด คือ รูปแบบเพื่อนร่วมงาน (3) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสำหรับโรงเรียนมาตรฐานสากลในประเทศไทยคือ “รูปแบบการบริหารแบบบูรณาการที่เน้นเพื่อนร่วมงาน” จุดเน้นของรูปแบบ เน้นบูรณาการระหว่างการบริหารแบบเพื่อนร่วมงานและการบริหารแบบเน้นวัฒนธรรม ลักษณะสำคัญของรูปแบบ มีองค์ประกอบของการบริหารจัดการ 8 ด้าน และการบริหารด้วยระบบคุณภาพ TQA ที่เน้นบุคลากร การปฏิบัติการและการนำองค์กร
Other Abstract: This study was conducted using a mixed method approach, both quantitative and qualitative methods. The objectives of the study were (1) to investigate a management model for the world-class standard schools in Thailand in the current and the expected situations (2) to probe into a management model for the Premium schools (3) to develop a management model for the world-class standard schools in Thailand. The population of this study 500 schools enrolling. The Office of the Based Education Commission. The 203 sample populations were comprised by cluster random sampling on order to provide the quantitative data selected. Informants were 1,421 (1 school 7 informants). The quantitative data were analyzed using means, standard deviation, and PNI Modified in order to rank the need identifications. Furthermore, the model was created by synthesizing the quantitative data and gradually modifying the model based on the evaluation form and comments of from 20 experts. The findings turned out as follows: (1) in the current situation, world-class standard schools used Ambiguity model at the highest level, while the Collegial model was ranked at the highest level in the expected situations. The first Priority Need Index fell on these following elements of management ; 1) Level of goal identification provided by the person in charge of each task. 2) Process of goal based on the Director derived from the vision/ Agreement by school departments. 3) Relationship between identification goals and decisions made by Director based on mutually agree targets; 4) depending on vision /school objective defined by all stakeholders concerned; 5) Nature of structure making determined by the chain of command either in the vertical or horizontal; 6) Links with environment: Relationship with community outside institution having the Director as the main coordinator; 7) Styles of leadership: Ability of Director to search for a consensus. 8) Related leadership models; focusing on transformational leadership of the Director. As for the performance management of Thailand Quality Award-TQA, in the expected situations, the PNI Modified index turned out to be at the highest level on the following aspects: 1) Faculty and Staff Focus, 2) Process management and 3) Leadership. (2) In existing situation for the Premium schools, the Ambiguity model was practiced at the highest level, While the expected situation concentrated on Collegial model. (3) The Develop model for the world-class standard schools in Thailand was “Engagement Collegial – Cultural Integrative Model”, focusing on the integration between the Collegial and Cultural models, covering 8 elements based on the performance management of Thailand Quality Award-TQA, emphasizing Faculty and Staff Focus, Process management, and organization Leadership.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45892
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.644
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.644
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284463327.pdf11.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.