Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45908
Title: | การพัฒนารูปแบบการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แฟ้มสะสมงาน: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือแบบพหุตัวแปร |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF AN ENGLISH SPEAKING SKILL ASSESSMENT MODEL FOR GRADE 6 STUDENTS BY USING PORTFOLIO: AN APPLICATION OF MULTIVARIATE GENERALIZABILITY THEORY |
Authors: | ดารุวรรณ ศรีแก้ว |
Advisors: | กมลวรรณ ตังธนกานนท์ ศิริชัย กาญจนวาสี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kamonwan.T@Chula.ac.th,tkamonwan@hotmail.com Sirichai.K@Chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) แฟ้มผลงานทางการศึกษา การประเมินผลทางการศึกษา English language -- Study and teaching (Elementary) Portfolios in education Educational evaluation |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แฟ้มสะสมงาน และเพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แฟ้มสะสมงานด้วยทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือแบบพหุตัวแปร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 34 คน ในกรุงเทพมหานคร ครูผู้สอนวิชาภาษอังกฤษ จำนวน 1 คน และผู้ประเมิน จำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือแบบพหุตัวแปร โดยใช้โปรแกรม mGENOVA version 2.1 และทำวิเคราะห์ความก้าวหน้าด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำชนิดทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า ขั้นตอนของแฟ้มสะสมงานสำหรับการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการวางแผน 2) ขั้นการเตรียมความพร้อมนักเรียน 3) ขั้นการเก็บรวบรวมหลักฐาน 4) ขั้นการติดตามความก้าวหน้า 5) ขั้นการปรับปรุงผลงาน 6) ขั้นการสะท้อนคิด และ 7) ขั้นการจัดแสดงผลงาน ส่วนประกอบของแฟ้มสะสมงาน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนนำ 2) ส่วนเนื้อหา และ3) ส่วนภาคผนวก ภาระงานการพูดในการประเมินจำนวนทั้งสิ้น 4 ภาระงาน ได้แก่ 1) การสัมภาษณ์ (interview) 2) การนำเสนอปากเปล่า (oral presentation) 3) การเล่านิทาน (storytelling) และ4) การบรรยายภาพ (picture description) เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกส่วน (analytic rating scale) มีขอบเขตเนื้อหา 6 ด้าน ได้แก่ คำศัพท์ (vocabulary) การสร้างประโยค (syntax) การเชื่อมโยงเนื้อหา (cohesion) การออกเสียง (pronunciation) บรรลุวัตถุประสงค์ (ideational function) และความคล่องแคล่ว (fluency) ให้คะแนนจาก 1-4 คะแนน ได้แก่ อ่อนมาก อ่อน พอใช้ และดี ตามลำดับ ผลของความก้าวหน้าของความสามารถในทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังจากใช้แฟ้มสะสมงานการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษจากการวัดซ้ำ จำนวน 3 ครั้ง พบว่านักเรียนมีพัฒนาการในการพูดภาษาอังกฤษสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้ง 4 ภาระงาน การศึกษาสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของรูปแบบการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แฟ้มสะสมงาน ด้วยทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อแบบพหุตัวแปร พบว่า สำหรับเกณฑ์การให้คะแนนทักษะการพูดภาษาอังกฤษนั้น ความแปรปรวนของนักเรียนมีขนาดใหญ่ที่สุด เกณฑ์การให้คะแนนที่มีความแปรปรวนมากที่สุดคือ การออกเสียง รองลงมาคือ ความคล่องแคล่ว การบรรลุวัตถุประสงค์ การสร้างประโยค คำศัพท์ และการเชื่อมโยงเนื้อหา ความเที่ยงของคะแนนรวม เมื่อใช้ภาระงาน จำนวน 4 ภาระงาน และ ผู้ประเมิน จำนวน 4 คน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงเชิงสัมพัทธ์ เท่ากับ .846 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงเชิงสัมบูรณ์ เท่ากับ .745 รูปแบบการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ พบว่า เมื่อใช้ภาระงานจำนวน 4 ภาระงาน ได้แก่ การสัมภาษณ์ การนำเสนอปากเปล่า การเล่านิทาน และการบรรยายภาพ สามารถใช้ผู้ประเมินจำนวน 2 คน และมีความเที่ยงในการประเมินของคะแนนรวมในระดับที่สูง คือ ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงเชิงสัมพัทธ์ เท่ากับ .939 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงเชิงสัมบูรณ์ เท่ากับ .925 สำหรับรูปแบบการตรวจให้คะแนนพบว่า การประเมินที่ผู้ประเมินตรวจให้คะแนนเฉพาะภาระงานมีความน่าเชื่อถือสูงกว่าการให้ผู้ประเมินทุกคนตรวจให้คะแนนซ้ำกันทุกภาระงาน |
Other Abstract: | The objectives of this research were to develop an English speaking assessment model using portfolios for grade 6 students as well as to use the multivariate generalizability theory to compare among English speaking assessment models using portfolios for grade 6 students. The research samples for data collection were 34 grade 6 students studying in Bangkok, one English teacher, and four raters. The multivariate generalizability coefficients were analyzed using mGENOVA version 2.1 whereas one-way repeated measure ANOVA was used to analyze students’ progress in English speaking skills. It was found that the working procedures on developing the portfolio on English speaking skill of grade 6 students were composed of 7 steps: 1) Planning 2) Preparing students 3) Evidence collection 4) Progress monitoring 5) Improving students’ works 6) Refection and 7) Displaying students’ works. The portfolio was divided into three parts: 1) Introduction 2) Contents and 3) Appendix. The four speaking tasks assessed were 1) interview 2) oral presentation 3) storytelling and 4) picture description. The analytic rating scale covered six aspects which were vocabulary, syntax, cohesion, pronunciation, ideational function and fluency. Scoring criteria of 1-4 was applied ranging from very poor, poor, moderate to good, respectively. The results on the progress in English speaking skill of the students shown from three time repeated measurement revealed that English speaking skill of the students was significantly higher at the .01 level for all of the four tasks. From the study on generalizability coefficients of the English speaking assessment model using portfolios for grade 6 students that applied the multivariate generalizability theory, it was found that for the English speaking assessment criteria, student variance was the greatest. The assessment criteria that showed the greatest variance was pronunciation, followed by fluency, ideational function, syntax, vocabulary and cohesion, respectively. Concerning the reliability of the composite score for four tasks with four raters, it was found that multivariate generalizability coefficient was at .846 while the multivariate phi coefficient was at .745. Regarding the four speaking tasks (interview, oral presentation, storytelling, picture description), it could involve two raters and the reliability of composite score was at .939 while the multivariate phi coefficient was at .925. As for the scores given by the raters, it was found that the reliability of the assessment with different raters for each task was higher than that with the same raters for every task |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45908 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.655 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.655 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384220227.pdf | 8.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.