Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45914
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัจฉรา ไชยูปถัมภ์ | en_US |
dc.contributor.advisor | วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา | en_US |
dc.contributor.author | ศิริพร ครุฑกาศ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:20:42Z | |
dc.date.available | 2015-09-18T04:20:42Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45914 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายและกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎี และศึกษาทักษะการแก้ปัญหา การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบการสอนรายบุคคลสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก พัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยระบบการสอนรายบุคคล กลุ่มตัวอย่างมี 4 กลุ่ม คือ (1) อาจารย์วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 320 คน (2) นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 ปีการศึกษา 2556 ชั้นปีละ200 คน (3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน (4) นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินตนเอง และแบบประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ ค่าสถิติไค-สแควร์ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ ค่าดัชนีรากที่สองกำลังเฉลี่ยที่เหลือ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการสังเคราะห์เอกสาร พบว่า ทักษะการแก้ปัญหาประกอบด้วย 1) การระบุปัญหา 2) การประเมินปัญหา 3) การวางแผนแก้ปัญหา 4) ปฏิบัติการแก้ปัญหา และ 5) การประเมินผลการแก้ปัญหา การเรียนการสอนด้วยระบบการสอนรายบุคคล มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา 2. คะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้ปัญหาโดยรวมของนักศึกษาพยาบาลตามความคิดเห็นของอาจารย์พยาบาล เท่ากับ 3.40 (SD. เท่ากับ 0.47) ส่วนความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล พบว่า คะแนนเฉลี่ยของทักษะการแก้ปัญหาโดยรวม เท่ากับ 3.76 (SD. เท่ากับ 0.41) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าโมเดลความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 5.76 df = 4 p-value=0.218 โดยดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืน (Goodness of fit index: GFI) เท่ากับ 1.0 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (Adjusted goodness of fit index: AGFI) เท่ากับ 0.99 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานของตัวแปรสังเกตได้ในโมเดลการวัดทักษะการแก้ปัญหา ทั้งหมดมีค่าเป็นบวก ขนาด 0.26 ถึง 0.84 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. รูปแบบการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยระบบการสอนรายบุคคล มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) การประเมินผล จากหน่วยการเรียน 5 หน่วย ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) มีคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลองเป็นสื่อกระตุ้นทักษะการแก้ปัญหา 4. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยระบบการสอนรายบุคคลของนักศึกษาพยาบาล พบว่าคะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้ปัญหาหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p= .000) | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study is based on a descriptive research and quasi-experimental design. The objectives were to analyze, synthesize concepts, study problem solving skill development using a personalized system of instruction for nursing students in colleges under Praboromarajchanok Institute. In addition, Confirmatory factor analysis (CFA) was used to assess the problem solving skills of nursing students. The model for problem solving skill development using a personalized system of instruction was developed and evaluated by four sample groups : 1) Three hundred twenty lecturers at nursing colleges under Praboromarajchanok Institute; 2) Two hundred each of second-, third- and fourth-year students at nursing colleges under Praboromarajchanok Institute; 3) Seven experts; and 4) Thirty four second-year nursing students at Boromarajonani College of Nursing Changwat Nonthaburi. The instruments employed in the study were composed of questionnaires, tests, interview forms, self-evaluation forms and an evaluation form for the computerized instructional media. Data were analyzed by using content analyses and descriptive statistics including mean, percentage and standard deviation. The concurrence of the model and the evidence-based data were tested with chi-square statistics, the Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI), Root Mean Squared Residual (RMR) and paired t-test. The research findings were as follows: 1. The result of systematic review showed that problem-solving skills consist of: 1) problem identification;2) assessment; 3) planning; 4) implantation; and 5) evaluation. A model of instruction for individuals relies on computer-based methods to help improving problem solving skills in nursing students. 2. The mean score for overall problem-solving skills among the nursing students evaluated by nursing instructors equaled 3.40 (SD. = 0.47). As for the opinions of the nursing students, the mean score for all problem-solving skills was 3.76 (SD. = 0.41). The CFA found the model to concur with the evidence-based data by basing consideration on chi-square with a value equal to 5.76 df = 4; p-value = 0.218. The GFI equaled 1.0 and the AGFI equaled 0.99. The factor loading in the form of standard scores for all observable variables in the problem solving skill development model were positive ranging from 0.26 to 0.84 with statistically significant level at .05. 3. The model for problem solving skill development using a personalized system of instruction includes four domains: 1) instructional model principles; 2) objectives; 3) instructional process; and 4) output evaluations from 5 units through e-Learning. Computer Assisted Instruction was used to help develop problem solving skills. 4. Concerning the effectiveness of the model for problem-solving skill development using a personalized system of instruction, the post-test problem-solving score was statistically higher than pre-test score with significance level at .01 (p= .000). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.658 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การแก้ปัญหา | |
dc.subject | นักศึกษาพยาบาล | |
dc.subject | การสอนด้วยสื่อ | |
dc.subject | คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน | |
dc.subject | การสอนรายบุคคล | |
dc.subject | ระบบการเรียนการสอน | |
dc.subject | Problem solving | |
dc.subject | Nursing students | |
dc.subject | Teaching -- Aids and devices | |
dc.subject | Computer-assisted instruction | |
dc.subject | Individualized instruction | |
dc.subject | Instructional systems | |
dc.title | รูปแบบการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยระบบการสอนรายบุคคลสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก | en_US |
dc.title.alternative | A MODEL FOR PROBLEM SOLVING SKILL DEVELOPMENT USING A PERSONALIZEDSYSTEM OF INSTRUCTION FOR NURSING STUDENTS IN COLLEGES OF NURSINGUNDER PRABOROMARAJCHANOK INSTITUTE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Atchara.C@Chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | dwallapa@dpu.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.658 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384260327.pdf | 11.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.