Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45919
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกื้อ วงศ์บุญสิน | en_US |
dc.contributor.advisor | ลินดา บี คอทเลอร์ | en_US |
dc.contributor.author | อรอนงค์ ซ้ายโพธิ์กลาง | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:20:46Z | - |
dc.date.available | 2015-09-18T04:20:46Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45919 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สถานการณ์พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพที่มีผลต่อทุนสุขภาพ (2) การกระจาย และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ และ (3) ทุนสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพกับทุนสุขภาพของวัยรุ่นไทย โดยเป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (Cross-sectional study) กลุ่มวัยรุ่นอายุ 11-19 ปี ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศีกษา (ม.1-6) และระดับอาชีวศึกษา (ปวช.ปี 1-3) ในกรุงเทพมหานครปีการศึกษา 2556 ใช้แนวทางการวิจัยแบบผสม (Mixed methods research) โดยเป็นการผสมวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ได้กลุ่มตัวอย่างจากการเก็บแบบสอบถามรวมทั้งสิ้น 2,565 คน จาก 26 โรงเรียน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 30 คน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพกับทุนสุขภาพใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบ 2 กลุ่ม (Binomial logistic regression) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) ผสมกับข้อค้นพบจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ส่วนสำคัญ ดังนี้ (1) สถานการณ์พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นไทยพบพฤติกรรมเสี่ยงในการกิน (ร้อยละ 28.4) รองลงมาได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 24.6) การใช้ความรุนแรง (ร้อยละ 20.5) การออกกำลังกายต่ำ (ร้อยละ 12.8) พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (ร้อยละ 12.3) การสูบบุหรี่ (ร้อยละ 12.0) การใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ (ร้อยละ 5.6) และการใช้สารเสพติด (ร้อยละ 2.9) (2) เมื่อใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบ 2 กลุ่มและการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเกือบทุกพฤติกรรมคือ พฤติกรรมเสี่ยงของเพื่อนสนิท (OR > 2 และ OR < 7) และปัจจัยอื่นที่มีนัยสำคัญกับบางพฤติกรรมเช่น เพศชาย อายุที่เพิ่มขึ้น เรียนในโรงเรียนเอกชน เรียนในสถาบันอาชีวศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยที่ลดลง ย้ายถิ่นเข้ากรุงเทพฯ โครงสร้างครอบครัวแบบไม่มีพ่อและ/หรือไม่มีแม่ พ่อมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ความนับถือในตนเองต่ำกว่าระดับปกติ ความสัมพันธ์กับแม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งหมด ความสัมพันธ์กับเพื่อนระดับค่าเฉลี่ยและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งหมด และแม่มีพฤติกรรมเสี่ยง เมื่อพิจารณาอิทธิพลร่วมของเพศกับการมีเพื่อนสนิทมีพฤติกรรมเสี่ยง เห็นได้ชัดว่าวัยรุ่นชายที่มีเพื่อนสนิทมีพฤติกรรมเสี่ยงจะยิ่งมีความเสี่ยงในการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในระดับสูงมากขึ้น โดยข้อค้นพบจากการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าเพื่อนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของวัยรุ่นสูงมาก (3) ทุนสุขภาพหมายถึงการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี โดยพบว่ามากกว่า 1 ใน 3 (ร้อยละ 36.3) ของวัยรุ่นมีทุนสุขภาพดี โดยวัยรุ่นเพศทางเลือก(หญิง) (ร้อยละ 38.5 ของ 52 คน) มีสัดส่วนของทุนสุขภาพดีสูงกว่าสัดส่วนของเพศอื่น เมื่อพิจารณาทุนสุขภาพแยกเป็นสุขภาพกายและสุขภาพจิตพบว่ามากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 52.5) ของวัยรุ่นมีสุขภาพกายดี โดยวัยรุ่นหญิง (ร้อยละ 53.3 ของ 1,195 คน) มีสัดส่วนของสุขภาพกายดีสูงกว่าสัดส่วนของเพศอื่น และเกือบ 2 ใน 3 (ร้อยละ 65.3) ของวัยรุ่นมีสุขภาพจิตดี โดยวัยรุ่นชาย (ร้อยละ 66.5 ของ 1,285 คน) มีสัดส่วนของสุขภาพจิตดีสูงกว่าสัดส่วนของเพศอื่น (4) จากการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบ 2 กลุ่ม ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างทุนสุขภาพกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ แต่เมื่อวิเคราะห์แยกเป็นสุขภาพกายและสุขภาพจิตแล้วพบว่ามีเพียงพฤติกรรมเสี่ยงในความรุนแรงที่มีความสัมพันธ์ในทางลบกับสุขภาพจิต แต่เมื่อคุมด้วยตัวแปรอิสระอื่นแล้วไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทางลบในระดับสูงกับทุนสุขภาพ รวมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตคือ ความนับถือในตนเองต่ำกว่าระดับปกติ (OR > 0.2 และ OR < 0.8) และปัจจัยอื่นที่มีความสัมพันธ์ในทางลบกับทุนสุขภาพและสุขภาพจิตได้แก่ ความสัมพันธ์กับพ่อต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งหมด ความสัมพันธ์กับแม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งหมด ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับทุนสุขภาพและสุขภาพจิตคือ ผลการเรียนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกเฉพาะกับทุนสุขภาพคือ เรียนในโรงเรียนเอกชน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกเฉพาะกับสุขภาพจิตคือเพศชาย ส่วนปัจจัยโครงสร้างครอบครัวแบบไม่มีพ่อและ/หรือไม่มีแม่ และความสัมพันธ์กับเพื่อนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งหมด มีความสัมพันธ์ในทางลบกับสุขภาพจิตเท่านั้น ซึ่งข้อค้นพบจากการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่นกับคนในครอบครัวมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตของวัยรุ่น โดยสรุปข้อค้นพบทั้งหมดในการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยพฤติกรรมเสี่ยงของเพื่อนสนิทมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น แม้จะไม่พบความสัมพันธ์ของพฤติกรรมเสี่ยงกับทุนสุขภาพ แต่การใช้ความรุนแรงเป็นเพียงพฤติกรรมเสี่ยงเดียวที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิต อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์กับพ่อและแม่มีความสัมพันธ์กับทุนสุขภาพโดยเฉพาะสุขภาพจิตซึ่งเห็นได้ชัดเจนกว่าความสัมพันธ์ของพฤติกรรมเสี่ยงกับทุนสุขภาพ รวมทั้งความนับถือในตนเองมีความสัมพันธ์กับทุนสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของวัยรุ่น ความสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่นกับคนในครอบครัว และเพื่อน โดยสนับสนุนให้มีแนวทางสร้างวัยรุ่นให้เป็นวัยรุ่นที่มีความสุข เพื่อเป็นทุนสุขภาพดีของวัยรุ่นและนำไปสู่การเป็นประชากรที่มีคุณภาพต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to investigate (1) health risk behaviors, (2) the prevalence of those behaviors and factors associated with them, and (3) health capital and its association with health risk behaviors and other factors among Thai adolescents. A cross-sectional study of youth between 11 and 19 years of age in high school (grades 7-12) and vocational school (years 1-3) in Bangkok, Thailand was conducted in 2014. Mixed methods research was used to analyze data collected between September 2013 and February 2014 from 2,565 participants in 26 schools besides an in-depth interview of 30 cases. The study relied upon binomial logistic and multiple regressions to determine the associations, of which the results being integrated with qualitative findings. There were four key findings from the study. (1) There was a prevalence rate of 28.4% for unhealthy dietary behavior, followed by 24.6% for alcohol use, 20.5% for violent behavior, 12.8% for low physical activity, 12.3% for sexual behavior, 12.0% for tobacco use, 5.6% for prescription drug misuse, and 2.9% for any drug use. (2) Binomial logistic regression analysis and multiple regressions indicated close friends’ risk behaviors (OR > 2 and OR < 7) to have associated with almost all health risk behaviors. Other significant factors included male gender, older age, attending a private school or public school, low academic grades, having a migration experience, lack of father and/or mother, father’s education below a graduate, low self-esteem, quality of maternal relationship below the Mean, quality of relationship above the Mean, and mother having risk behaviors. Additionally, the co-influence of gender and close friends’ risk behaviors was clearly found among males. Those with close friends of risk behaviors were more likely to have health risk behaviors. The qualitative findings confirmed the notion. (3) Health capital was defined as good physical and mental health. It was found in one third (36.3%) of the participants with a relatively high proportion among LGBT(female) youth (38.5% of 52 participants). Over half (52.5%) of the participants were found with good physical health, particularly among female youth (53.3% of 1,195 participants) while almost two thirds (65.3%) of them having good mental health, particularly among male youth (66.5% of 1,285 participants). (4) The binomial logistic regression analysis indicated no association between health capital and the other health risk behaviors. When separating physical and mental health, violence was the only health risk behavior associated with mental health. However, the violence association disappeared after controlling for other factors. Health capital, physical health, and mental health were each strongly negatively correlated with lower self-esteem (OR > 0.2 and OR < 0.8). Health capital and mental health were each negatively correlated with lower quality relationship with the father and lower quality relationship with the mother. Health capital and mental health were positively correlated only with higher academic grades. Moreover, studying in private school was only positively associated with health capital. Male gender, lacking father and/or mother, and lower quality relationship with friends was negatively associated with mental health only. The impact of family relationships on mental health was supported by the qualitative findings. In conclusion, the findings indicated a strong influence of an adolescent’s peers’ risk behaviors on his/her health risk behaviors. Notably, the association of health capital and risk behaviors was not found. The only health risk behavior associated with mental health was violence. However, the association of mental health with the adolescent’s relationship with the parents was more evident than the association with risk behavior factors. Lower self-esteem was also associated with each component of lower health capital, poorer physical health, and poorer mental health. Evidently, not only should preventing health risk behaviors among youth by family and friends be a concern, but also addressing youths’ mental health to be happy adolescents is likely to improve long-term population health. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.662 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมสุขภาพในวัยรุ่น -- ไทย | |
dc.subject | ทุนมนุษย์ | |
dc.subject | Health behavior in adolescence -- Thailand | |
dc.subject | Human capital | |
dc.title | ทุนสุขภาพกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นไทย | en_US |
dc.title.alternative | Health Capital and Health Risk Behaviors of Thai Adolescents | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ประชากรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Kua.W@Chula.ac.th,kua.w@chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | lbcottler@ufl.edu | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.662 | - |
Appears in Collections: | Pop - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5386959851.pdf | 10.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.