Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45929
Title: การพัฒนาและความสามารถในการสร้างกระดูกของโครงเลี้ยงเซลล์ที่ผลิตจากไฟโบรอินไหมไทย เจลาติน และกรดไฮยาลูรอนิค
Other Titles: DEVELOPMENT AND OSTEOGENESIS OF SCAFFOLD PREPARED FROM THAI SILK FIBROIN, GELATIN AND HYALURONIC ACID
Authors: ต้นพร ล้ำเลิศ
Advisors: ศิริพร ดำรงค์ศักดิ์กุล
กัมปนาท สุนทรวิภาต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Siriporn.Da@Chula.ac.th,Siriporn.D@chula.ac.th
Kumpanart.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกในสัตว์ทดลองของโครงเลี้ยงเซลล์สามมิติ 3 ชนิด ที่มีไฟโบรอินไหมไทยเป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ โครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทยที่เตรียมด้วยวิธีกำจัดเกลือออกและปรับปรุงพื้นผิวด้วยการคอนจูเกตกับเจลาติน (CGSF) โครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทยที่เตรียมด้วยวิธีกำจัดเกลือออกและปรับปรุงพื้นผิวด้วยการคอนจูเกตกับเจลาตินและการสะสมไฮดรอกซีอะพาไทต์ (CGSF4) และโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทยที่เตรียมด้วยวิธีกำจัดเกลือออกและปรับปรุงพื้นผิวด้วยการเคลือบกรดไฮยาลูรอนิค (HSF) โดยโครงสร้างสัณฐานของโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทยที่คอนจูเกตด้วยเจลาติน (CGSF) และโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทยที่เคลือบด้วยกรดไฮยาลูรอนิค (HSF) มีพื้นผิวเรียบและมีรูพรุนเชื่อมต่อกัน ในขณะที่โครงสร้างสัณฐานของโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทยที่คอนจูเกตด้วยเจลาตินและสะสมไฮดรอกซีอะพาไทต์ (CGSF4) นั้นมีพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการสะสมผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์บนโครงเลี้ยงเซลล์ จากการศึกษาความสามารถของโครงเลี้ยงเซลล์ในการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกในสัตว์ทดลอง โดยการฝังโครงเลี้ยงเซลล์ที่ผ่านและไม่ผ่านการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกของหนูแทนที่กระดูกเรเดียสของหนูวิสต้าที่ถูกตัดออก (6 มิลลิเมตร) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งไม่มีการฝังโครงเลี้ยงเซลล์ ด้วยการถ่ายภาพรังสี (X-ray) และการถ่ายภาพด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตร (micro-CT) พบว่า เมื่อเวลาผ่านไป 12 สัปดาห์ มีการสร้างกระดูกใหม่บริเวณส่วนต้นของกระดูกเรเดียสในเกือบทุกกลุ่ม ยกเว้นในกลุ่มที่ฝังโครงเลี้ยงเซลล์ CGSF4 ที่ผ่านการเพาะเลี้ยงเซลล์ (CGSF4 with cells) อนึ่ง โครงเลี้ยงเซลล์ CGSF4 สามารถชักนำให้เกิดการสร้างกระดูกใหม่ได้ดีที่สุด โดยพบค่าร้อยละของความหนาแน่นของเกลือแร่ในกระดูก (% BMD) ที่สูงที่สุดและมีค่าร้อยละของปริมาตรของกระดูกที่สร้างใหม่เทียบกับปริมาตรของเนื้อเยื่อที่สร้างใหม่ทั้งหมด (% Bone volume) ที่สูง นอกจากนี้ยังพบการสร้างกระดูกใหม่บริเวณตรงกลางของโครงเลี้ยงเซลล์ในกลุ่มที่ฝังโครงเลี้ยงเซลล์เท่านั้น ยกเว้นในกลุ่มที่ฝังโครงเลี้ยงเซลล์ HSF ที่ผ่านการเพาะเลี้ยงเซลล์ (HSF with cells) โดยสังเกตเห็นว่าการเพาะเลี้ยงเซลล์ลงบนโครงเลี้ยงเซลล์ CGSF และโครงเลี้ยงเซลล์ CGSF4 สามารถส่งเสริมการสร้างกระดูกและเพิ่มความหนาแน่นของเกลือแร่ในกระดูกใหม่ที่สร้างขึ้นได้ใกล้เคียงกับกระดูกปกติ จากการวิเคราะห์ทางจุลพยาธิในเชิงกึ่งปริมาณ พบว่า โครงเลี้ยงเซลล์ CGSFและโครงเลี้ยงเซลล์ HSF มีศักยภาพในการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกใหม่มากที่สุด ซึ่งพิจารณาได้จากการเติมเต็มของเซลล์ Osteobalst การเกิดเนื้อเยื่อพังผืด การสร้างหลอดเลือดใหม่ และการเกิดสารแข็งคล้ายกระดูก โดยไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ผ่านและไม่ผ่านการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกก่อนการฝัง ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโครงเลี้ยงเซลล์ CGSF4 และโครงเลี้ยงเซลล์ CGSF มีศักยภาพสูงในการใช้เป็นกระดูกเทียมเพื่องานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก
Other Abstract: This research aims to study in vivo osteogenic potential of three groups of three-dimensional Thai silk fibroin-based scaffolds, including Thai silk fibroin scaffolds prepared via salt-leaching and modified by gelatin conjugation (CGSF), Thai silk fibroin scaffold/conjugated gelatin/deposited hydroxyapatite (CGSF4), and Thai silk fibroin scaffold/coated hyaluronic acid. The morphology of Thai silk fibroin scaffold conjugated with gelatin (CGSF) and Thai silk fibroin scaffold coated with hyaluronic acid (HSF) showed smooth surface and interconnected porous network. In contrast, the morphology of Thai silk fibroin scaffold conjugated with gelatin and deposited with hydroxyapatite (CGSF4) showed rough surface because of the deposited hydroxyapatite crystal on the scaffold. The osteogenic potential of scaffolds (with or without mesenchymal stem cell (MSC) seeding) in wistar rat models was evaluated by implanting the scaffold in the bone defect (6 mm) in the radius bone of rat, comparing to a control group (sham, no implanted scaffold). After 12 weeks, bone regeneration was analysed by X-ray and micro-CT. The images indicated that new bone was found from the proximal end of the bones in all groups with implanted scaffolds except CGSF4 scaffold with cell sedding (CGSF4 with cells). In addition, the highest % bone mineral density (% BMD) and high % bone volume, analysed from micro-CT results, was notified in the case of CGSF4 scaffold. Moreover, in all groups implanted with scaffolds, new bone in the middle of scaffolds was found, but not in the control group and HSF scaffold with cell seeding (HSF with cells). The results showed that pre-seeding of MSC on CGSF and CGSF4 scaffolds could support new bone formation in the middle of scaffolds and increase % BMD upto the value detected from normal bone. The result of histopathological semi-quantitative analysis showed that CGSF and HSF scaffolds effectively enhanced new bone formation as evaluated by osteoblast infiltration, fibrosis, neovascularization and callus formation. In addition, pre-cell seeding could not induce any remarked staining results in all groups. The in vivo study suggested that CGSF4 and CGSF scaffolds had a high potential to be employed as bone scaffold for bone tissue engineering.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมชีวเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45929
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470205621.pdf4.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.