Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45958
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธรรมนูญ หนูจักร | en_US |
dc.contributor.advisor | ประณัฐ โพธิยะราช | en_US |
dc.contributor.author | สฤษฎ์ ลิประพันธ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:21:04Z | |
dc.date.available | 2015-09-18T04:21:04Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45958 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมและตรวจสอบสมบัติของคอมพอสิตจากพลาสติกชีวภาพได้แก่พอลิบิวทิลีนซักซิเนตที่เสริมแรงด้วยอนุภาคแอลฟาเซลลูโลสและใช้ไกลซิดิลเมทาคริเลตกราฟต์พอลิบิวทิลีนซักซิเนตเป็นสารเสริมสภาพเข้ากันได้ โดยเริ่มจากการต่อกิ่งพอลิบิวทิลีนซักซิเนตด้วยไกลซิดิลเมทาคริเลตในเครื่องอัดรีดสกรูคู่ ได้ไกลซิดิลเมทาคริเลตกราฟต์พอลิบิวทิลีนซักซิเนต ซึ่งผลการจากวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากจนแทบสังเกตไม่เห็น และจากการไทเทรชั่นพบว่ามีไกลซิดิลเมทาคริเลตประมาณร้อยละ 3 ที่ต่อกิ่งอยู่บนพอลิบิวทิลีนซักซิเนต จากนั้นนำพอลิบิวทิลีนซักซิเนต ตัวเติมเสริมแรงแอลฟาเซลลูโลส (0 2 4 6 8 และ 10 ส่วนใน 100 ส่วนของเรซิน) และสารเสริมสภาพเข้ากันได้ไกลซิดิลเมทาคริเลตกราฟต์พอลิบิวทิลีนซักซิเนต (0 5 และ 10 ส่วนใน 100 ส่วนของเรซิน) มาผสมแบบหลอมเหลวในเครื่องอัดรีดสกรูคู่ ขึ้นรูปเป็นชิ้นงานด้วยการฉีดเข้าแบบ แล้วศึกษาผลของปริมาณตัวเติมเสริมแรง และปริมาณของสารเสริมสภาพเข้ากันได้ ต่อสมบัติเชิงกล สมบัติเชิงความร้อน และสมบัติการดูดซึมน้ำของพอลิบิวทิลีนซักซิเนตคอมพอสิต ผลการทดสอบสมบัติเชิงกลพบว่าเมื่อปริมาณของแอลฟาเซลลูโลสในคอมพอสิตเพิ่มขึ้น ชิ้นงานคอมพอสิตมีสมบัติเชิงกลด้อยกว่าพอลิบิวทิลีนซักซิเนตบริสุทธิ์ เสถียรภาพทางความร้อนต่ำลง และมีความสามารถในการดูดซึมน้ำเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อมีการเติมสารเสริมสภาพเข้ากันได้ สมบัติเชิงกลโดยรวมกลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากสารเสริมสภาพเข้ากันได้ไปช่วยเพิ่มอันตรกิริยาระหว่างพอลิบิวทีลีนซักซิเนตและแอลฟาเซลลูโลส นอกจากนี้ยังพบว่าอุณหภูมิหลอมเหลวผลึกและอุณหภูมิก่อผลึกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่สารเสริมสภาพเข้ากันได้ไปจำกัดความสามารถในการเข้าถึงของน้ำภายในคอมพอสิต จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดในการเตรียมคอมพอสิต คือ การใช้แอลฟาเซลลูโลส 6 ส่วนใน 100 ส่วนของเรซิน และไกลซิดิลเมทาคริเลตกราฟต์พอลิบิวทิลีนซักซิเนต 10 ส่วนใน 100 ส่วนของเรซิน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The aims of this research are to prepare and investigate properties of composites from bioplastics those are poly(butylene succinate) reinforced with alpha cellulose in the presence of glycidyl methacrylate grafted poly(butylene succinate). Initially, the grafting of poly(butylene succinate) with glycidyl methacrylate was carried out in a twin-screw extruder. The obtained glycidyl methacrylate grafted poly(butylene succinate) was analyzed with Fourier transform infrared spectroscopy and volumetric analysis. Although the FTIR spectogram indicated slightly change, the titration technique confirmed the existence of around 3% of glycidyl methacrylate grafting on poly(butylene succinate). Subsequently, poly(butylene succinate), alpha cellulose (0, 2, 4, 6, 8 and 10 parts per a hundred of resin, phr), and glycidyl methacrylate grafted poly(butylene succinate) (0, 5 and 10 phr) were melt-mixed in a twin-screw extruder. The obtained compounds were processed into test specimens by the injection molding process. The effects of amounts of the filler and the compatibilizer on mechanical properties, thermal properties and water absorbancy of poly(butylene succinate) composites were studied. It was found that, without the compatibilizer, when the amount of alpha cellulose increased, the mechanical properties and thermal stability decreased comparing with neat poly(butylene succinate). The water absorbent increased. When the compatibilizer was incorporated, the overall mechanical properties increased due to enhanced interaction between poly(butylene succinate) and alpha cellulose. Furthermore, the crystalline melting and crystallization temperatures slightly increased while the compatibilizer limited water accessibility in the composites. The results indicated that the optimum ratio for preparing such bioplastic composites was when the amounts of alpha cellulose and glycidyl methacrylate grated poly(butylene succinate) were 6 and 10 phr, respectively. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.685 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โพลิบิวทีน | |
dc.subject | สารตัวเติม | |
dc.subject | วัสดุเชิงประกอบ | |
dc.subject | โพลิเมอร์ | |
dc.subject | Polybutenes | |
dc.subject | Fillers (Materials) | |
dc.subject | Composite materials | |
dc.subject | Polymers | |
dc.title | พอลิบิวทิลีนซักซิเนต/แอลฟาเซลลูโลสคอมพอสิตที่เสริมสภาพเข้ากันได้ด้วยไกลซิดิลเมทาคริเลตกราฟต์พอลิบิวทิลีนซักซิเนต | en_US |
dc.title.alternative | POLY(BUTYLENE SUCCINATE)/ALPHA CELLULOSE COMPOSITES COMPATIBILIZED WITH GLYCIDYL METHACRYLATE GRAFTED POLY(BUTYLENE SUCCINATE) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | thumnoon.n@chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | Pranut.P@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.685 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5472126023.pdf | 5.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.